แบบรายงานผลการดำเนินงานจัดการความรู้ระดับหน่วยงานสนับสนุน

ศูนย์วิทยพัฒนามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จันทบุรี

 

ตัวบ่งชี้ที่ 3 (สกอ.) การพัฒนาหน่วยงานสู่องค์กรการเรียนรู้

 

รอบปีที่ใช้นับผลงาน : ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 (1 ตุลาคม 2561– 30 กันยายน 2562)

 

ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐาน

เกณฑ์มาตรฐาน

ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์

รายการเอกสารอ้างอิง

1. มีการกำหนดประเด็นความรู้ที่จำเป็นหรือสำคัญต่อการปรับปรุงกระบวนการ ผลิตภัณฑ์ หรือบริการของหน่วยงานที่สอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงานอย่างน้อย 1 ประเด็น

3.1 ศูนย์วิทยพัฒนา มสธ.จันทบุรี ในการประชุมคณะกรรมการการจัดการความรู้

ครั้งที่ 1/2561 วันที่ 28 ธันวาคม  2561 เรื่อง แผนการจัดการความรู้ ประจำปี 2562วาระที่ 4.1 ได้กำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายการจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 และครั้งที่ 2/2562 วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 เรื่อง “การบริการสารสนเทศด้านสื่อการศึกษาของห้องสมุดเพื่อให้นักศึกษาและผู้ใช้บริการ” เพื่อให้บุคลากรท่านอื่นความรู้ในการบริการสืบค้นสารสนเทศที่มิได้มีหน้าที่บรรณารักษ์สามารถให้บริการงานห้องสมุดแก่นักศึกษาและประชาชน

สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์และพันธกิจ ดังนี้  พันธกิจที่  1 บริการการศึกษาแก่นักศึกษาและประชาชน  ยุทธศาสตร์ที่ 6   พัฒนาระบบบริหารจัดการไปสู่การบริหารจัดการที่ดี  เป้าประสงค์ที่ 6.1 เพื่อให้มีระบบบริหารจัดการที่ได้มาตรฐานภายใต้หลักธรรมาภิบาล  เป้าประสงค์ที่ 6.2 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรด้านบริการที่เป็นเลิศ

3.1(1)รายงานประชุม 26 ธ.ค.61

3.1(2)เอกสารแนบหมายเลข 2 แจ้งประเด็นความรู้ครั้งที่1

3.1(3)คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความรู้ KM ปี 2562

3.1(4)รายงานประชุม 20 ก.พ.62

3.1(5)เอกสารแนบหมายเลข 2 แจ้งประเด็นความรู้ครั้งที่2

3.1(6)ศธ0522.13ว21ลว15ก.พ.62เรื่องแจ้งผลการพิจารณากรอบประเด็นความรู้

3.1(7)แผนการจัดการความรู้.ปี 2562

3.1(8))แผนปฏิบัติราชการด้านการจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562

 


 

 

เกณฑ์มาตรฐาน

ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์

รายการเอกสารอ้างอิง

2. กำหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะอย่างชัดเจนตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1

3.2 หน่วยงานศูนย์วิทยพัฒนา มสธ.จันทบุรี ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะตามประเด็นความรู้ เรื่อง “การบริการสารสนเทศด้านสื่อการศึกษาของห้องสมุดเพื่อให้นักศึกษาและผู้ใช้บริการ” บุคลากรศูนย์

วิทยพัฒนา มสธ.จันทบุรี จาก 3 งาน ประกอบด้วยงานอำนวยการและธุรการ  

งานส่งเสริมและบริการการศึกษา  และงานบริการสื่อและเทคโนโลยีการศึกษา  จำนวน 17  ราย

3.2รายชื่อกลุ่มเป้าหมาย

 

3.  มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) ตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1 และเผยแพร่ไปสู่บุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด

3.3 มีการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้แบ่งปันเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่

     1) ประเด็นความรู้เรื่อง “การบริการสารสนเทศด้านสื่อการศึกษาของห้องสมุดเพื่อให้นักศึกษาและผู้ใช้บริการ” เมื่อวันพฤหัสบดีที่  14  มีนาคม  2562 เวลา 10.30 – 15.00 น.  ณ ห้องสัมมนา 6 ศูนย์วิทยพัฒนา มสธ.จันทบุรี

     2) ผู้ที่มีประสบการณ์ตรงมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

คือ นางสาวสุมลมาลย์ สร้อยรัตน์ ตำแหน่ง บรรณารักษ์ปฏิบัติการ

    3) มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 16 ราย

    4) มีการจดบันทึกความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเผยแพร่ให้ กลุ่มเป้าหมายตามข้อ 2 การบริการสารสนเทศด้านสื่อการศึกษาของห้องสมุดเพื่อให้นักศึกษาและผู้ใช้บริการ

3.3(1)รายชื่อกลุ่มเป้าหมาย/บันทึกแจ้งการจัดกิจกรรม

3.3(2)เอกสารประกอบการแลกเปลี่ยน(แบบเก่า VTLS)

3.3(3)เอกสารประกอบการแลกเปลี่ยน(แบบระบบใหม่)

3.3(4)ภาพกิจกรรมและเปลี่ยนเรียนรู้

 


 

เกณฑ์มาตรฐาน

ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์

รายการเอกสารอ้างอิง

4. มีการรวบรวมความรู้ตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1 ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคลและแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) มาพัฒนาและจัดเก็บอย่างเป็นระบบ โดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge)

 

หน่วยงานศูนย์วิทยพัฒนา มสธ. จันทบุรี มีการค้นคว้ารวบรวมประเด็นความรู้ที่กำหนดจากหน่วยงานอื่นเช่น จากสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต  และสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา  หน่วยงานได้นำแนวปฏิบัติที่ดีไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และนำมาจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบในฐานข้อมูลคลังความรู้บนเว็บไซต์การจัดการความรู้ของศูนย์วิทยพัฒนา มสธ.จันทบุรี และเผยแพร่บนเว็บไซต์ศูนย์วิทยพัฒนา มสธ.จันทบุรี

3.4(1)หลักฐานเอกสารค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งความรู้อื่นๆ เรื่อง การบริการสารสนเทศด้านสื่อการศึกษาของห้องสมุดเพื่อให้นักศึกษาและผู้ใช้บริการ จากสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

3.4(2)

http://arit.dusit.ac.th/km/wp-content/uploads/2016/09/a2.pdf

3.4(3)หลักฐานแหล่งความรู้อื่น จากสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

3.4(4)

 http://arit.aru.ac.th/pdf/km_arit61.pdf

5. มีการนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ ในปีงบประมาณปัจจุบันหรือปีงบประมาณที่ผ่านมาที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge) และจากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) มาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง

ศูนย์วิทยพัฒนา มสธ.จันทบุรี นำวิธีการปฏิบัติตามข้อ 4 ไปใช้ในการปฏิบัติงาน

ให้บริการสืบค้นสารสนเทศด้านสื่อการศึกษาของห้องสมุด เป็นผลให้สามารถให้บริการแก่นักศึกษาและผู้ใช้บริการได้เต็มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  อีกทั้งยังสามารถให้บริการได้สะดวกรวดเร็วกว่ารูปแบบการให้บริการสืบค้นสารสนเทศในรูปแบบเดิม  และผู้ที่มิได้ปฏิบัติงานในตำแหน่งบรรณารักษ์ก็สามารถให้บริการแก่ผู้ใช้บริการได้อีกด้วย

3.5(1)คู่มือการให้บริการสืบค้นสารสนเทศด้านสื่อการศึกษาของห้องสมุด

3.5(2)ประโยชน์ของการนำแนว

ปฏิบัติที่ดีมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง

 

เกณฑ์การประเมิน :

คะแนน 1

คะแนน 2

คะแนน 3

คะแนน 4

คะแนน 5

มีการดำเนินการ

1 ข้อ

มีการดำเนินการ

2 ข้อ

มีการดำเนินการ

3 ข้อ

มีการดำเนินการ

4 ข้อ

มีการดำเนินการ

5 ข้อ

 

ผลการประเมิน : รอบ 6 เดือน 3 ข้อ 5 คะแนน

          รอบ 12 เดือน 5 ข้อ 5 คะแนน

                                                         

ปีงบประมาณ 2560

การบรรลุเป้าหมาย

คะแนนประเมินตนเอง

ค่าเป้าหมาย       

5 ข้อ และ 5 ข้อ

5

5

ผลการดำเนินงาน

5

*การบรรลุเป้าหมาย  P = บรรลุเป้าหมาย     X = ไม่บรรลุเป้าหมาย