เนื้อหาการอภิปราย ประกอบด้วยเสา 3 หลัก ดังนี้

          1) ด้านประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (APSC) ความมั่นคงและเสถียรภาพทางการเมืองเป็นพื้นฐานสำคัญ
ในการพัฒนาด้านอื่นๆ ที่เน้นการรวมตัวของอาเซียนเพื่อสร้างความมั่นใจ เสถียรภาพและสันติภาพ ในภูมิภาค
          2) ด้านประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ท่ามกลางบริบททางเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศที่มีการ
แข่งขันสูง อันส่งผลให้ประเทศต่างๆ ต้องปรับตัวเองเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจโลก และ
          3) ด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC) มีเป้าหมายให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง
สังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปันประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียน

          มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยฝ่ายบริการเผยแพร่ทางไกล สำนักการศึกษาต่อเนื่อง ตระหนักความสำคัญของการมุ่งเน้น
การบริการวิชาการแก่สังคม และความสำคัญการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 จึงเห็นควรจัดกิจกรรมให้สอดคล้องการจะเข้าสู่
ประชาคมอาเซียนโดยจัดอภิปรายทางวิชาการ เรื่อง “นวัตกรรมอาเซียน : เรียนรู้ สร้างสรรค์ ยั่งยืน” ในครั้งนี้