SubMenu :: Back :: Next



1.การเขียนบทความวิชาการ


        1.2 การกำหนดหัวข้อบทความวิชาการ



               1.2.2 บทความวิจัย  ผู้เขียนสามารถกำหนดประเด็นของบทความได้ดังนี้

                         1.2.2.1 การกำหนดประเด็นจากงานวิจัยเพื่อนำเสนอเป็นบทความ เมื่อนักศึกษาหรือผู้วิจัยเขียนวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยเสร็จ สอบผ่านหรือได้รับการรับรองงานวิจัยจากผู้อ่าน (reader) แล้วแสดงว่า งานวิจัยนั้น ๆ ได้มีผู้อ่านที่เป็นผู้อื่นคือกรรมการสอบวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัย และได้รับการรับรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งอาจมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการแก้ไขปรับปรุง  เมื่อนักศึกษาหรือผู้วิจัยมีความสนใจเรื่องที่ตนได้ศึกษา และได้คำตอบต่อคำถามในงานวิจัย (research questions) จากการวิจัยของตนแล้ว ต้องการเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้รับทราบ และรับฟังความคิดเห็นต่อผลการวิจัยนั้น ๆ  อาจทำได้โดยการนำเสนอบทความจากวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยของตนเอง ด้วยการนำผลการวิจัยมานำเสนอต่อสาธารณชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในวงวิชาการเดียวกัน หรือผู้สนใจทั่วไป 


               การนำวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยมาเขียนเป็นบทความ อาจมาจากคำถามในงานวิจัย ซึ่งอยู่ในรูปของคำถามและประเด็นต่อไปนี้
              (1)  คำถามที่เป็นแก่น (theme) ของวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัย      
              (2)  คำถามย่อยในวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัย 
              (3)  ประเด็นย่อยในคำถาม โดยอาจนำเฉพาะประเด็นหรือหยิบยกมาอภิปรายเพิ่มเติม 
              (4)  ประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัย หรืออาจใช้ข้อมูลจากงานวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยมา อภิปรายขยายความเพิ่มเติม

              (5) ประเด็นที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าวรรณกรรม วิเคราะห์และอภิปรายผลที่ไม่ได้นำเสนอในงานวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยนั้น  ยังคงค้างอยู่ในใจผู้ศึกษาและต้องการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม

 

 

 

 

 

SubMenu :: Back :: Next