Principles of Writing (หลักการเขียนบทความทางวิชาการ)
1.การเขียนบทความวิชาการ
1.2 การกำหนดหัวข้อบทความวิชาการ
1.2.2 บทความวิจัย
1.2.2.2 ตัวอย่างการนำประเด็นต่าง ๆ จากงานวิจัยมาเขียนเป็นบทความ
งานวิจัยเรื่อง Language learning strategy use, interaction with self-instructional materials, and learner autonomy of Thai distance language learners
เจ้าของงานวิจัยอาจเขียนบทความได้โดยดังนี้
(1) แสดงผลของการวิจัยทั้งหมด เป็นการสรุปงานวิจัยทั้งเรื่อง
(2) หยิบยกคำถามวิจัย บางคำถามมาอภิปราย ในหลายกรณีงานวิจัยมักจะครอบคลุมประเด็นคำถามวิจัยมากกว่าหนึ่ง การนำมาเขียนทั้งหมดอาจใช้เนื้อที่มากไปและขาดจุดเน้น ผู้วิจัยอาจเลือกมาเขียนเป็นเพียงบางคำถาม เช่น เลือกคำถามที่ 3
To what extent are Thai distance language learners autonomous in learning English at a distance?
(3) หยิบยกประเด็นย่อย จากงานวิจัยที่ต้องการศึกษาค้นคว้า แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อ่านเพิ่มเติม เป็นการขยายผลของการวิจัย เช่น การนำกลวิธีการเรียนมาใช้ในการอ่าน
(4) หยิบยกเนื้อหาจากงานวรรณกรรมที่ค้นคว้า มาศึกษาเพิ่มเติม เขียนเผยแพร่ เช่น การศึกษาภาษาอังกฤษด้วยตนเองทางออนไลน์
(5) เขียนประเด็นที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยเพิ่มเติม โดยใช้ข้อมูลจากงานวิจัยมาสนับสนุน เช่น
ความสัมพันธ์ของกลวิธีการเรียนแบบ cognitive, metacognitive, และ socio-affective ของผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่ ในระบบการศึกษาทางไกลเป็นต้น