Principles of Writing (หลักการเขียนบทความทางวิชาการ)
3. การเขียนบทความทางวิชาการด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3.3 การเขียนบทความทางสังคมศาสตร์
3.3.2 การเขียนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3.3.2.1 วิธีการเขียนทั่วไป |
|
วิธีการเขียนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นการเขียนเพื่อบันทึกและอภิปรายผลของการทดลองในห้องปฏิบัติการ เป็นการเขียนเพื่อบอกข้อมูล (writing to inform) โดยเป็นข้อมูลตามที่ปรากฏจริงเช่น อุณหภูมิที่วัดได้ โดยอาจใช้วิธีการเขียนแบบพรรณนา (description) ไปตามลำดับ (sequence) ของเหตุการณ์ อาจเขียนเปรียบเทียบแบบเหมือนและเปรียบต่าง แบ่งประเภท ให้คำจำกัดความ นอกจากนี้ยังเขียนเพื่อโต้แย้ง และชักจูงใจ ข้อโต้แย้งของการเขียนทางวิทยาศาสตร์อยู่ที่การกล่าวอ้าง หลักฐาน และความสัมพันธ์ที่มีเหตุผล (ตรรกกะ) ที่เกี่ยวพันกัน วิธีการเขียน แบบแสดงเหตุและผล( causes and effects) เป็นวิธีการแสดงเหตุผลที่พบมากในงานเขียนทางวิทยาศาสตร์ 1. การเขียนส่วนนำให้ข้อมูล ผสมผสานระหว่างการให้ข้อเท็จจริงและความสำคัญ ระบุความสำคัญ 2. เกณฑ์การเลือกใช้ tense ในการอ้างถึงวรรณกรรมที่ผ่านมาควรตระหนักว่าการใช้ present tense ไม่ได้อิงกับเวลา เสมอไป อาจเป็นการกล่าวถึง สภาวะ (states) หรือการใช้เพื่อโวหาร 3. อ้างงานเดิมที่มีผู้ทำมาแล้ว 4. ประโยคไม่ควรสั้นหรือยาวเกินไป (Banpho, 2004: 69-78) |