![]() |
![]() |
การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ยึดหลักการการศึกษาทางไกลเช่นเดียวกับระดับปริญญาตรี ที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองจากเอกสารชุดวิชาในรูปสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์และสื่อต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยจัดให้บริการ และแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่ในสังคมได้อย่างอิสระ ภายใต้การให้คำปรึกษาแนะนำอย่างมีระบบของอาจารย์ที่ปรึกษา
ระบบการเรียนการสอนบัณฑิตศึกษา แผนการศึกษา การจัดสอบ การประเมินผล ศูนย์บริการการศึกษา ค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียน TOP
ระบบการเรียนการสอนบัณฑิตศึกษา ระบบการเรียนการสอน เป็นการจัดผสมผสานร่วมกันระหว่างการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองและการจัดกิจกรรม ปฏิสัมพันธ์ ได้แก่ การเข้ารับการปฐมนิเทศเชิงปฏิบัติการ การเข้ารับการสัมมนาเสริม การเข้ารับการสัมมนาเข้ม ในทุกชุดวิชาของแต่ละหลักสูตร การนัดหมายระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาตามแต่ละช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดการพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ทั้งทางวิชาการและวิชาชีพ การสนทนาโต้ตอบ และการอภิปราย ร่วมกันหว่างอาจารย์และนักศึกษา และระหว่างนักศึกษาด้วยกัน จุดมุ่งหมายของกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมทักษะการแสดงความคิดเห็นต่อผลงานทางวิชาการ หรือรายงานของแต่ละชุดวิชาของนักศึกษาแต่ละคนที่ได้ไปศึกษาค้นคว้าแล้วนำเสนอต่อกลุ่มสัมมนาในชั้นเรียน และเพื่อเสริมเติมเต็มในเนื้อหาสาระของแต่ละชุดวิชาและเนื้อหาสาระของหลักสูตรให้ครบถ้วนสมบูรณ์ ซึ่งการจัดกิจกรรมสัมมนาเสริม/เข้มนั้น มีกำหนดจัดเป็นครั้ง ๆ ไปในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ ประมาณชุดวิชาละ 2 ครั้ง ๆ ละ 2 วันๆ ละ 5 ชั่วโมง รวมแล้วไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมง การเข้าร่วมกิจกรรมสัมมนาเสริม/เข้ม ถือเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตร ที่นักศึกษาทุกคนต้องเข้าร่วมกิจกรรม เนื่องจากเป็นการเก็บคะแนนระหว่างภาคการศึกษา สถานที่จัดกิจกรรมสัมมนา กำหนดจัดที่ศูนย์วิทยพัฒนา มสธ. ที่กระจายอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ ศูนย์บริการบัณฑิตศึกษา ที่ตั้งอยู่ตามโรงเรียนประจำจังหวัดต่าง ๆ และจัดที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชในส่วนกลาง การสัมมนาเสริม เป็นการจัดสัมมนาที่มุ่งเน้นการอภิปราย เพื่อทำความเข้าใจเนื้อหา สาระ ในเชิงรายละเอียด และนำเสนอผลงานที่ได้รับมอบหมายให้ไปจัดทำเพิ่มเติม ทั้งในส่วนที่เป็นรายงานเฉพาะเรื่อง และภาคนิพนธ์ การสัมมนาเข้ม ใช้กับชุดวิชาที่ต้องการ การฝึกทักษะ หรือการเพิ่มเติมประสบการณ์ หรือการพัฒนาบุคลิกภาพ เป็นการเฉพาะ เพิ่มเติมจากการสัมมนาเสริม
TOP
แผนการศึกษา โครงสร้างหลักสูตร แผน ก (เลือกทำวิทยานิพนธ์) และ แผน ข (เลือกค้นคว้าอิสระ) มีความยากง่ายไม่แตกต่างกัน เนื่องจากมหาวิทยาลัยได้จัดรูปแบบการเรียนการสอนให้มีคุณภาพใกล้เคียงกัน
หลักสูตรแผน ก เป็นหลักสูตรการทำวิทยานิพนธ์ โดยมุ่งเน้นทักษะการทำวิจัยเต็มรูป เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการนำผลการวิจัย ไปใช้ในการพัฒนางานในหน้าที่ และเพื่อเตรียมตัวสำหรับการศึกษาต่อ ในระดับสูงหรือปริญญาเอกในโอกาสต่อไป หลักสูตรแผน ข จัดสำหรับผู้ที่มีความสนใจศึกษางานวิจัยขั้นพื้นฐานในระดับต้นๆ เท่านั้น เพื่อต้องการนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนางานในหน้าที่ หรือสำหรับผู้ที่มีความต้องการศึกษา เรื่องใดเรื่องหนึ่ง เป็นพิเศษตามความสนใจของตนเอง ผู้ที่เลือกเรียนแผน ข ทุกคนจะต้องลงทะเบียนสอบประมวลความรู้ ภายหลังจากที่ได้ทำการศึกษาค้นคว้าอิสระเสร็จเรียบร้อยแล้ว การสอบประมวลความรู้ เน้นการสอบข้อเขียน ซึ่งแบ่งเป็นภาคทฤษฎีและภาคประยุกต์ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ขึ้นกับสาขาวิชาเจ้าของหลักสูตรเป็นผู้กำหนด หลักสูตรการเรียนการสอนในระดับปริญญาโทของ มสธ. ได้ผ่านความเห็นชอบจากทบวงมหาวิทยาลัย และสำนักงาน กพ. รับรองวุฒิการศึกษาทุกหลักสูตรเรียบร้อยแล้วก่อนดำเนินการเปิดรับสมัครเข้าศึกษา ดังนั้นจึงเป็นที่เชื่อมั่นได้ว่า ระบบและรูปแบบการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีคุณภาพเฉกเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยในระบบปิดโดยทั่วไป
TOP
การจัดสอบ มหาวิทยาลัยจัดการสอบไล่ประจำภาค ณ สนามสอบทั่วประเทศรวมแล้วไม่น้อยกว่า 80 แห่ง เช่นเดียวกับระดับปริญญาตรี แต่หากมีความจำเป็นขอเปลี่ยนแปลงสนามสอบ สามารถแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 45 วันก่อนวันสอบ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจะต้องเข้าสอบในสนามสอบที่มหาวิทยาลัยจัดให้เข้าสอบเท่านั้น นักศึกษาจะเข้าสอบ ณ สนามสอบใดๆ โดยไม่แจ้งเปลี่ยนแปลงสนามสอบล่วงหน้าไม่ได้
การจัดสอบไล่ที่ต่างประเทศ นักศึกษาสามารถทำหนังสือขอให้จัดสอบไล่ที่ต่างประเทศได้ โดยดำเนินการล่วงหน้า ก่อนกำหนดวันสอบ ไม่น้อยกว่า 45 วัน มหาวิทยาลัยจะจัดสอบให้ที่ สถานทูตไทย หรือ สถานกงศุลไทย ประจำประเทศที่นักศึกษาร้องขอ ค่าธรรมเนียมการจัดสอบต่างประเทศ ครั้งละ 6,500 บาท (จัดเฉพาะการสอบไล่เท่านั้น ส่วนการสัมมนาเสริม/เข้มประจำชุดวิชา นักศึกษาต้องเข้ารับการสัมมนาที่ มสธ. หรือ ศูนย์บริการการศึกษา ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด)
การสอบทดแทน ในกรณีที่นักศึกษามีความจำเป็นอย่างยิ่ง ไม่สามารถเข้าสอบ ตามกำหนดวันสอบของมหาวิทยาลัยได้ นักศึกษาสามารถทำหนังสือขอให้มหาวิทาลัยจัดสอบทดแทนให้ โดยให้เหตุผลความจำเป็น ทั้งนี้มหาวิทยาลัยจะพิจารณาอนุญาตการสอบทดแทนเป็นราย ๆ ไป
TOP
การประเมินผล การประเมินผลการเรียนการสอน หลักสูตรระดับปริญญาโท จัดประเมินผลการสอบ ในแต่ละชุดวิชาในลักษณะเกรด ดังนี้
อักษรระดับคะแนน คะแนนต่อ 1 หน่วยกิต A 4 B+ 3.5 B 3 C+ 2.5 C 2 D 1 F 0การเรียนในระดับปริญญาโทไม่มีการสอบซ่อมเหมือนระดับปริญญาตรี เนื่องจากเป็นการศึกษาที่นักศึกษาต้องใช้ความคิดเชิงวิเคราะห์ในระดับสูงกว่าปริญญาตรี แต่หากเกรดหรือผลการประเมินในแต่ละชุดวิชาอยู่ในระดับที่ไม่เป็นที่พอใจ นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนเพื่อยกระดับเกรดหรือ Regrade ในชุดวิชานั้นๆ ใหม่ได้ 1 ครั้ง เพื่อให้คะแนนเฉลี่ยรวมมีค่าไม่น้อยกว่า 3.00 ก่อนลงชุดวิชาวิทยานิพนธ์หรือชุดวิชาค้นคว้าอิสระ
จัดทำโดย สำนักบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2544 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 gsoffice@stou.ac.th