|ระบบสารสนเทศปริญญาตรี |หลักสูตรการศึกษา |

 

 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

      

สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2556

  หลักสูตรที่เปิดสอน มี 2 หลักสูตร คือ
 
1.
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2553-TQF)
 
2.
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต วิชาเอกอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2554-TQF)
TOP

ระดับปริญญาตรี

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต
(Bachelor of Public Health Program)
  ชื่อปริญญา
 
ชื่อเต็ม
สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต
  อักษรย่อ ส.บ.
  ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Bachelor of Public Health
  อักษรย่อภาษาอังกฤษ B.P.H.
   
  คุณสมบัติของผู้สมัคร
  คุณสมบัติเฉพาะ

ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรที่กระทรวงศึกษาธิการ หรือกระทรวงสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่นที่สำนักงาน ก.พ. รับรอง และวุฒิการศึกษาที่สภาวิชาชีพรับรอง จะต้องได้รับการรับรองจากสภาวิชาชีพนั้นๆ

  วุฒิการศึกษา  
 
1.
สำเร็จการศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่าตามที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง หรือ
 
2.
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรทางวิทยาศาสตร์สุขภาพหรือวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือประกาศนียบัตรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (ยกเว้น ป.ผู้ช่วยพยาบาล ) ซึ่งรับจากมัธยมศึกษาตอนปลายและศึกษาในหลักสูตร 1 ปี หรือรับจากมัธยมศึกษาตอนต้นและศึกษาในหลักสูตรไม่น้อยกว่า 2 ปี [เช่น ป.ผู้ช่วยทันตแพทย์ ป.ผู้ช่วยเภสัชกร ป.ผู้ช่วยแพทย์ ป.ผดุงครรภ์อนามัย ป.วิชาเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (พนักงานอนามัย สำเร็จการศึกษาก่อนปี 2525) ป.พนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ หลักสูตร 1 ปี หรือปีที่ 1] หรือ
 
3.
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล หรือ
 
4.
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรหรืออนุปริญญาทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ (เช่น รังสีเทคนิค เซลล์วิทยา พยาธิวิทยา พยาธิวิทยาคลินิก โลหิตวิทยาและธนาคารเลือด หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรับจากผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายและศึกษาในหลักสูตรไม่น้อยกว่า 2 ปี) หรือ
 
5.
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรหรืออนุปริญญาทางวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เป็นงานสนับสนุน (เช่น เวชกรรมฟื้นฟู เวชกิจฉุกเฉิน เวชระเบียน โสตทัศนศึกษาโสตทัศนูปกรณ์ ส่งเสริมสุขภาพ สุขศึกษา หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรับจากผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายและศึกษาในหลักสูตรไม่น้อยกว่า 2 ปี) หรือ
 
6.
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรหรืออนุปริญญาทางการแพทย์แผนไทยหรือเทียบเคียง ซึ่งรับจากผู้สำเร็จ การศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายและศึกษาในหลักสูตรไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือ
 
7.
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรหรืออนุปริญญาทางสาธารณสุขศาสตร์ที่มิใช่สาธารณสุขศาสตร์โดยตรง (เช่น ทันตาภิบาล ทันตสาธารณสุข เทคนิคเภสัชกรรม เจ้าพนักงานเภสัชกรรม) ซึ่งรับจากผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษา ตอนปลายและศึกษาในหลักสูตรไม่น้อยกว่า 2 ปี) หรือ
 
8.
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรทางการพยาบาล หลักสูตร 2 ปี ซึ่งรับจากผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเคียง และมีใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้น 2 หรือ
 
9.
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางสังคมศาสตร์หรือเทียบเคียง หรือสูงกว่า หรือ
 
10.
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์ (เช่น วิศวกรรมศาสตร์ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ) หรือสูงกว่า หรือ
 
11.
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรหรืออนุปริญญาทางสาธารณสุขศาสตร์ (เช่น สาธารณสุขชุมชน พนักงานอนามัย นักเรียนนายสิบทหารบกเหล่าทหารแพทย์ หรือเทียบเคียง ซึ่งรับจากผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายและศึกษาในหลักสูตรไม่น้อยกว่า 2 ปี ) หรือ
 
12.
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ (เช่น สัตวแพทย์ เทคนิคการแพทย์ รังสีเทคนิค หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง) หรือสูงกว่า หรือ
 
13.
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางแพทย์แผนไทย หรือเทียบเคียง หรือสูงกว่า หรือ
 
14.
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรทางการพยาบาลเทียบเท่าอนุปริญญาหรืออนุปริญญาทางการพยาบาล หรือปริญญาตรีทางการพยาบาลหรือสูงกว่า และมีใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้น 1 หรือสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ (เช่น แพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ เภสัชกรรม ส่งเสริมสุขภาพ สุขศึกษา อาชีวอนามัย หรือสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ) หรือสูงกว่า
           
         

ระดับปริญญาตรี

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต วิชาเอกอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
(Bachelor of Science Program in Occupational Health and Safety)
  ชื่อปริญญา
 
ชื่อเต็ม
วิทยาศาสตรบัณฑิต (อาชีวอนามัยและความปลอดภัย)
  อักษรย่อ วท.บ. (อาชีวอนามัยและความปลอดภัย)
  ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Bachelor of Science (Occupational Health and Safety)
  อักษรย่อภาษาอังกฤษ B.Sc. (Occupational Health and Safety)
   
  คุณสมบัติของผู้สมัคร
 
1.
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรมหรือเทียบเท่า* (อยู่ระหว่างการพิจารณาการจัดการเรียนการสอน โปรดตรวจสอบข้อมูลการเปิดรับนักศึกษาใหม่จากสำนักทะเบียนและวัดผล/สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ) หรือ
 
2.
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือ
 
3.
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือ
 
4.
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสาธารณสุขศาสตร์ (หลักสูตร 4 ปี) หรือ
 
5.
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีพยาบาลศาสตร์ (หลักสูตร 4 ปี) หรือ
 
6.
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ หรือ
 
7.
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีครุศาสตร์อุตสาหกรรม หรืออุตสาหกรรมศาสตร์ หรือ
 
8.
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีวิทยาศาสตร์ทุกสาขาวิชา หรือ
 
9.
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสาธารณสุขศาสตร์ (หลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี) หรือ
 
10.
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีพยาบาลศาสตร์ (หลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี) หรือ
 
11.
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีแพทย์แผนไทยบัณฑิต
  หมายเหตุ 1. ผู้สมัครตามข้อ 1) ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรที่สถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการหรือสำนักงาน ก.พ. รับรอง
  2. ผู้สมัครตามข้อ 2)-11) ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรที่กระทรวงสาธารณสุขหรือสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการหรือสำนักงาน ก.พ. รับรอง
  3. ผู้สมัครตามข้อ 1) ให้ศึกษาชุดวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปและหมวดวิชาแกน ดังนี้
  - หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 2 ชุดวิชา คือ ชุดวิชา 10141 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และ 10151 ไทยศึกษา
  - หมวดวิชาแกน 5 ชุดวิชา คือ ชุดวิชา 50101 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน 50102 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ 50103 สถิติและการวิจัยสำหรับวิทยาศาสตร์สุขภาพ 54117 คณิตศาสตร์พื้นฐาน และ 54118 ปฎิบัติการวิทยาศาสตร์
  4. ผู้สมัครตามข้อ 2)-5) ให้ศึกษาชุดวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปและหมวดวิชาแกน ดังนี้
  - หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 1 ชุดวิชา คือ ชุดวิชา 10151 ไทยศึกษา
  - หมวดวิชาแกน 1 ชุดวิชา คือ ชุดวิชา 50103 สถิติและการวิจัยสำหรับวิทยาศาสตร์สุขภาพ และได้รับการยกเว้นชุดวิชาในหมวดวิชาเลือกเสรี จำนวน 1 ชุดวิชา
  5. ผู้สมัครตามข้อ 6)-7) ให้ศึกษาชุดวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปและหมวดวิชาแกน ดังน๊็
  - หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 1 ชุดวิชา คือ ชุดวิชา 10151 ไทยศึกษา
  - หมวดวิชาแกน 2 ชุดวิชา คือ ชุดวิชา 50102 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ และ 50103 สถิติและการวิจัยสำหรับวิทยาศาสตร์สุขภาพ และได้รับการยกเว้นชุดวิชาในหมวดวิชาเฉพาะ จำนวน 1 ชุดวิชา คือชุดวิชา 54101 วิศวกรรมพื้นฐานสำหรับงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และหมวดวิชาเลือกเสรี จำนวน 1 ชุดวิชา
  6. ผู้สมัครตามข้อ 8) ให้ศึกษาชุดวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปและหมวดวิชาแกน ดังนี้
  - หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 1 ชุดวิชา คือ ชุดวิชา 10151 ไทยศึกษา
  - หมวดวิชาแกน 2 ชุดวิชา คือ ชุดวิชา 50102 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ และ 50103 สถิติและการวิจัยสำหรับวิทยาศาสตร์สุขภาพ และได้รับการยกเว้นชุดวิชาในหมวดวิชาเลือกเสรี จำนวน 1 ชุดวิชา
  7. ผู้สมัครตามข้อ 9)-11) ให้ศึกษาชุดวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปและหมวดวิชาแกน ดังนี้
  - หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 2 ชุดวิชา คือ ชุดวิชา 10141 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และ 10151 ไทยศึกษา
  - หมวดวิชาแกน 5 ชุดวิชา คือ ชุดวิชา 50101 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน 50102 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ 50103 สถิติและการวิจัยสำหรับวิทยาศาสตร์สุขภาพ 54117 คณิตศาสตร์พื้นฐาน และ 54118 ปฎิบัติการวิทยาศาสตร์ และได้รับการยกเว้นชุดวิชาในหมวดวิชาเลือกเสรี จำนวน 1 ชุดวิชา
             
           

 
จำนวนผู้เยี่ยมชม : 76588 คน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ศูนย์สารสนเทศ โทร. 0 2982 9700

ควรใช้ความละเอียดหน้าจอที่ 1024 by 768 pixels และ Internet Explorer version 5.5 + ขึ้นไป
จัดทำข้อมูลโดย ฝ่ายพัฒนาหลักสูตรและการสอน สำนักวิชาการ
จัดทำระบบโดย คณะทำงานบริหารสารสนเทศในระบบอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Last updated: 22-August-2015 12:10 AM
©2002-2011 Sukhothai Thammathirat Open University. All rights reserved.