กลับหน้าแรก มสธ.
| STOU | Home |
Administrator
หน้าหลักโครงสร้างหลักสูตร
ประจำปีการศึกษา 2549

| กระดานถาม-ตอบหลักสูตรคำถามถามบ่อย FAQs | ติดต่อสอบถาม |

โครงสร้างหลักสูตรสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์
โครงสร้างหลักสูตรสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์

พยาบาลศาสตร์
ระดับหลักสูตร
ชื่อหลักสูตรและชื่อปริญญา

 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต

  Bachelor of  Nursing  Science Program

  ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม                         

พยาบาลศาสตรบัณฑิต

อักษรย่อ                     

พย..

ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ    

Bachelor of  Nursing  Science

อักษรย่อภาษาอังกฤษ 

B.N.S.

คุณสมบัติของผู้สมัคร

                                           

คุณสมบัติเฉพาะ 

1.       เป็นผู้มีประสบการณ์ในการให้บริการพยาบาลโดยตรงต่อผู้รับบริการภาครัฐหรือเอกชนมาแล้วไม่น้อยกว่า  2  ปี  ภายหลังสำเร็จการศึกษา  และ

2.       เป็นผู้ที่ประกอบอาชีพการพยาบาลระหว่างการศึกษาตลอดหลักสูตร

วุฒิการศึกษา

1.       สำเร็จการศึกษาพยาบาลศาสตร์ในระดับวิชาชีพ  ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้น  1  หรือ

2.       สำเร็จการศึกษาพยาบาลศาสตร์ในระดับเทคนิค  ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้น  2

 

หมายเหตุ    1.  ผู้สำเร็จการศึกษาตามข้อ 1-2 จะต้องเป็นหลักสูตรที่สภาการพยาบาลให้ความเห็นชอบและ

                     ทบวงมหาวิทยาลัยรับรอง                  

                 2.  ผู้สมัครต้องส่งหลักฐานต่อไปนี้ในการสมัคร

   ก. หนังสือรับรองการปฏิบัติงาน ลงนามโดยผู้บริหารสูงสุดของต้นสังกัด

   ข. สำเนาแสดงผลการศึกษา (Transcript) และคุณวุฒิทางการศึกษาที่ได้รับจากสถาบันการศึกษา

                 3.  เมื่อได้รับการตอบรับเป็นนักศึกษาแล้ว ทุกคนต้องเข้ารับการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ของ

                      มหาวิทยาลัยตามสถานที่  วันและเวลา  ที่มหาวิทยาลัยกำหนด

โครงสร้างและรายละเอียดหลักสูตร

                         

ระดับปริญญาตรีต่อเนื่อง  (2  ปี) 

มีโครงสร้างและรายละเอียดของหลักสูตรดังนี้

(1)    โครงสร้างของหลักสูตร

.  หมวดวิชาศึกษาทั่วไป                           3   ชุดวิชา    (18  หน่วยกิต)

.  หมวดวิชาเฉพาะ                                  9   ชุดวิชา    (54  หน่วยกิต)

โดยแบ่งเป็น

1)  กลุ่มวิชาชีพพื้นฐาน         2   ชุดวิชา   (12  หน่วยกิต)

2)  กลุ่มวิชาชีพ                  7  ชุดวิชา    (42  หน่วยกิต)

.  หมวดวิชาเลือกเสรี                               1   ชุดวิชา      (6  หน่วยกิต)

รวมตลอดหลักสูตรต้องศึกษาไม่น้อยกว่า  13  ชุดวิชา  หรือ  78  หน่วยกิต

(2)    รายละเอียดของหลักสูตร

.  หมวดวิชาศึกษาทั่วไป   3  ชุดวิชา

10111 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร                   

10141 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเพื่อชีวิต                                                       

10151 ไทยศึกษา                                         

.   หมวดวิชาเฉพาะ   9   ชุดวิชา

กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ   2  ชุดวิชา                   

51103 พยาธิสรีรวิทยาและเภสัชวิทยาคลินิกสำหรับพยาบาล                                                  

51206 สารสนเทศและการวิจัยทางการพยาบาล    

กลุ่มวิชาชีพ   7   ชุดวิชา                                 

51102 การส่งเสริมสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช*                                                      

51105 การพยาบาลชุมชนและการรักษาพยาบาลเบื้องต้น*                                                 

51201 มโนมติและกระบวนการพยาบาล             

51207 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น*                  

51208 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ*          

51304 ประสบการณ์วิชาชีพการพยาบาล             

51309 การพยาบาลครอบครัวและการผดุงครรภ์   

.  หมวดวิชาเลือกเสรี  1  ชุดวิชา  ให้เลือกจากชุดวิชาต่างๆ ที่เปิดสอนตามหลักสูตรในระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยกำหนด  ตามเกณฑ์การลงทะเบียนเรียนชุดวิชาเลือกเสรี

 

หมายเหตุ  1. สำหรับผู้ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้น 1 มาแล้ว ไม่ต้อง

                  ศึกษาชุดวิชา  51309  การพยาบาลครอบครัวและการผดุงครรภ์

               2. สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาพยาบาลขั้นพื้นฐานในประเทศไทยหรือในต่างประเทศและกำลัง

                   ปฏิบัติงานที่ใช้ความรู้ทางวิชาชีพอยู่  โดยมีใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลในประเทศที่ปฏิบัติงาน

                   อยู่  สามารถเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ได้  โดยมหาวิทยาลัยจะพิจารณาในรายกรณี

               *  เป็นชุดวิชาที่มีการฝึกปฏิบัติทางการพยาบาล

คำอธิบายชุดวิชา
เกณฑ์การลงทะเบียนเรียนชุดวิชาเลือกเสรี

 

                        การลงทะเบียนเรียนชุดวิชาเลือกเสรี  นักศึกษาสามารถเลือกศึกษาได้จากชุดวิชาต่างๆ ที่เปิดสอนในหลักสูตรปริญญาตรีของมหาวิทยาลัย  ยกเว้นชุดวิชาที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้

ก.      ชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพของทุกสาขาวิชา

ข.      ชุดวิชาที่มีเนื้อหาซ้ำซ้อนกับชุดวิชาบังคับอื่น ๆ ในหลักสูตรที่เรียน

ค.      ชุดวิชาที่มีการกำหนดคุณสมบัติและทักษะพื้นฐานไว้โดยเฉพาะ

ชุดวิชาต่าง ๆ ที่สาขาวิชาพยาบาลไม่อนุญาตให้เลือกเป็นชุดวิชาเลือกเสรีตามลักษณะดังกล่าวข้างต้นมีรายชื่อดังนี้

1.       ชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพของทุกสาขาวิชา

2.       ชุดวิชา  13322  การบัญชีและกฎหมายธุรกิจ

3.       ชุดวิชา  16344  การพูดและการแสดงสำหรับวิทยุกระจายเสียง

4.       ชุดวิชา  16423  การผลิตภาพยนตร์ขั้นสูง

5.       ชุดวิชา  16426  การสร้างสรรค์งานโฆษณา

6.       ชุดวิชา  16440  การเขียนสำหรับสื่อสิ่งพิมพ์

7.       ชุดวิชา  16441  การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์

8.       ชุดวิชา  16445  การจัดและการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงเบื้องต้น

9.       ชุดวิชา  16446  การผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงขั้นสูง

10.   ชุดวิชา  16448  การผลิตรายการโทรทัศน์เบื้องต้น

11.   ชุดวิชา  16449  การผลิตรายการโทรทัศน์ขั้นสูง

12.   ชุดวิชา  16452  การผลิตภาพยนตร์เบื้องต้น

13.   ชุดวิชา  16455  การรณรงค์และผลิตงานโฆษณา

14.   ชุดวิชา  16457  การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์

15.   ชุดวิชา  16458  การสร้างสรรค์และผลิตงานประชาสัมพันธ์

16.   ชุดวิชา  20001  ระบบการเรียนการสอน

17.   ชุดวิชา  20002  การพัฒนาพฤติกรรมเด็ก

18.   ชุดวิชา  27104  วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา

19.   ชุดวิชา  30202  หลักการบัญชี

20.   ชุดวิชา  30203  การเงินธุรกิจและการภาษีอากร

21.   ชุดวิชา  40205  กฎหมายธุรกิจ

22.   ชุดวิชา  51102  การส่งเสริมสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช

23.   ชุดวิชา  51105  การพยาบาลชุมชมและการรักษาพยาบาลเบื้องต้น

24.   ชุดวิชา  51207  การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น

25.   ชุดวิชา  51208  การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

26.   ชุดวิชา  51309  การพยาบาลครอบครัวและการผดุงครรภ์

27.   ชุดวิชา  54107  การฝึกปฏิบัติงานอาชีวอนามัย  ความปลอดภัย  และเออร์กอนอมิคส์

28.   ชุดวิชา  55307  การฝึกปฏิบัติเภสัชพฤกษศาสตร์และเภสัชกรรมแผนไทย

29.   ชุดวิชา  55311  การฝึกปฏิบัติเวชกรรมและนวดแผนไทย

30.   ชุดวิชา  71114  การจัดการและเทคนิคการบริการในโรงแรม

31.   ชุดวิชา  71215  การจัดการและเทคนิคการบริการในภัตตาคาร

32.   ชุดวิชา  71332  เคมีและจุลชีววิทยาของอาหาร

33.   ชุดวิชา  93438  การจัดการการผลิตธัญพืชและพืชอาหารสัตว์

34.   ชุดวิชา  93439  การจัดการการผลิตพืชไร่อุตสาหกรรม

35.   ชุดวิชา  93440  การผลิตและการจัดการพืชสวนประดับ

36.   ชุดวิชา  93441  การจัดการการผลิตไม้ผลและผัก

37.   ชุดวิชา  93446  การจัดการการผลิตสุกรและสัตว์ปีก

38.   ชุดวิชา  93447  การจัดการการผลิตสัตว์เคี้ยวเอื้อง

39.   ชุดวิชา  93455  การฝึกปฏิบัติการจัดการการผลิตพืช

40.   ชุดวิชา  96401  ระบบสำนักงานอัตโนมัติ

41.   ชุดวิชา  96402  คอมพิวเตอร์กับการบัญชี

42.   ชุดวิชา  96408  การจัดการระบบฐานข้อมูล

43.   ชุดวิชา  97403  เทคโนโลยีก่อนพิมพ์

44.   ชุดวิชา  97404  กระบวนการพิมพ์พื้นนูนและพื้นราบ

45.   ชุดวิชา  97405  กระบวนการพิมพ์พื้นลึก การพิมพ์พื้นฉลุลายผ้าและการพิมพ์ไร้แรงกด

46.   ชุดวิชา  97406  เทคนิคหลังพิมพ์

 

เกณฑ์การลงทะเบียนเรียนชุดวิชาเกินโครงสร้างหลักสูตร

 

               นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนชุดวิชาหรือรายวิชาต่างๆ ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยเกินโครงสร้างหลักสูตรได้ ยกเว้นชุดวิชาที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้

                1.  ชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพของทุกสาขาวิชา

                2.  ชุดวิชา หรือรายวิชาที่มีเนื้อหาและภาคปฏิบัติในการอบรมเข้ม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการไว้เฉพาะสำหรับหลักสูตรนั้นๆ

                3.   ชุดวิชาที่มีเนื้อหาซ้ำซ้อนกับชุดวิชาบังคับอื่นๆ ในหลักสูตรที่เรียน            

     ชุดวิชาต่างๆ ที่สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ไม่อนุญาตให้นักศึกษาลงทะเบียนเรียนเกินโครงสร้างหลักสูตรตามลักษณะดังกล่าวข้างต้น มีรายชื่อดังนี้

1.       ชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพของทุกสาขาวิชา

2.       ชุดวิชา  16344  การพูดและการแสดงสำหรับวิทยุกระจายเสียง

3.       ชุดวิชา  16423  การผลิตภาพยนตร์ขั้นสูง

4.       ชุดวิชา  16426  การสร้างสรรค์งานโฆษณา

5.       ชุดวิชา  16440  การเขียนสำหรับสื่อสิ่งพิมพ์

6.       ชุดวิชา  16441  การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์

7.       ชุดวิชา  16445  การจัดและการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงเบื้องต้น

8.       ชุดวิชา  16446  การผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงขั้นสูง

9.       ชุดวิชา  16448  การผลิตรายการโทรทัศน์เบื้องต้น

10.   ชุดวิชา  16449  การผลิตรายการโทรทัศน์ขั้นสูง

11.   ชุดวิชา  16452  การผลิตภาพยนตร์เบื้องต้น

12.   ชุดวิชา  16455  การรณรงค์และผลิตงานโฆษณา

13.   ชุดวิชา  16457  การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์

14.   ชุดวิชา  16458  การสร้างสรรค์และผลิตงานประชาสัมพันธ์

15.   ชุดวิชา  20001  ระบบการเรียนการสอน 

16.   ชุดวิชา  20002  การพัฒนาพฤติกรรมเด็ก  

17.   ชุดวิชา  27104  วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา  

18.   ชุดวิชา  54107  การฝึกปฏิบัติงานอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และเออร์กอนอมิคส์ 

19.   ชุดวิชา  55307  การฝึกปฏิบัติเภสัชพฤกษศาสตร์และเภสัชกรรมแผนไทย

20.   ชุดวิชา  55311  การฝึกปฏิบัติเวชกรรมและนวดแผนไทย 

21.   ชุดวิชา  71114  การจัดการและเทคนิคการบริการในโรงแรม    

22.   ชุดวิชา  71215  การจัดการและเทคนิคการบริการในภัตตาคาร

23.   ชุดวิชา  71332  เคมีและจุลชีววิทยาของอาหาร   

24.   ชุดวิชา  93438  การจัดการการผลิตธัญพืชและพืชอาหารสัตว์ 

25.   ชุดวิชา  93439  การจัดการการผลิตพืชไร่อุตสาหกรรม  

26.   ชุดวิชา  93440  การผลิตและการจัดการพืชสวนประดับ       

27.   ชุดวิชา  93441  การจัดการการผลิตไม้ผลและผัก

28.   ชุดวิชา  93446  การจัดการการผลิตสุกรและสัตว์ปีก   

29.   ชุดวิชา  93447  การจัดการการผลิตสัตว์เคี้ยวเอื้อง

30.   ชุดวิชา  93455  การฝึกปฏิบัติการจัดการการผลิตพืช

31.   ชุดวิชา  96401  ระบบสำนักงานอัตโนมัติ         

32.   ชุดวิชา  96408  การจัดการระบบฐานข้อมูล    

33.   ชุดวิชา  97403  เทคโนโลยีก่อนพิมพ์     

34.   ชุดวิชา  97404  กระบวนการพิมพ์พื้นนูนและพื้นราบ       

35.   ชุดวิชา  97405  กระบวนการพิมพ์พื้นลึก การพิมพ์พื้นฉลุลายผ้าและการพิมพ์ไร้แรงกด

36.   ชุดวิชา  97406  เทคนิคหลังพิมพ์

 

การฝึกปฏิบัติการพยาบาล

การจัดประสบการณ์ฝึกปฏิบัติการพยาบาล

สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

            การศึกษาภาคปฏิบัติ  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  ได้จัดการศึกษาภาคปฏิบัติโดยให้มีการฝึกภาคปฏิบัติตามระบบการสอนทางไกลเป็น  4 ประเภท  คือ  การฝึกด้วยตนเอง  การฝึกเฉพาะกรณี  การฝึกเสริมทักษะปฏิบัติการพยาบาล  (โดยการนัดหมาย)  และการฝึกอบรมเข้ม

            1. การฝึกด้วยตนเอง  (ขณะปฏิบัติหน้าที่ประจำ)  เมื่อศึกษาเอกสารการสอนชุดวิชาแล้ว  นักศึกษาต้องทำกิจกรรมฝึกปฏิบัติที่ระบุให้ผู้เรียนฝึกทักษะปฏิบัติการพยาบาลด้านการสอน  การแนะนำ  ให้คำปรึกษาและการแก้ไขปัญหาสุขภาพในขณะปฏิบัติหน้าที่  ซึ่งอยู่ภายใต้การนิเทศและควบคุมกำกับของผู้บังคับบัญชา หรือพยาบาลวิชาชีพในตำแหน่งต่างๆ  อาทิ หัวหน้าหอผู้ป่วย  หัวหน้าผลัด  และหัวหน้าทีมการพยาบาลเป็นต้น

            2. การฝึกเฉพาะกรณี  (นอกเวลาการปฏิบัติหน้าที่ประจำ)  เมื่อศึกษาเอกสารการสอนชุดวิชาแล้ว นักศึกษาต้องทำกิจกรรมฝึกปฏิบัติที่ระบุให้ผู้เรียนฝึกทักษะปฏิบัติการพยาบาลตามที่ได้รับมอบหมายไว้ในเอกสารการสอนของแต่ละชุดวิชา  โดยใช้เวลานอกเวลาประจำการตามปกติไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เป็นเวลา 15 สัปดาห์  นักศึกษาให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการที่มีลักษณะตามปัญหาที่กำหนดไว้ในเอกสารการสอนของแต่ละชุดวิชา  ทั้งนี้อยู่ภายใต้การควบคุมกำกับดูแลของพยาบาลวิชาชีพที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าศูนย์บริการการศึกษาเฉพาะกิจ  โดยมีขั้นตอนของการเข้ารับการฝึกเฉพาะกรณี  ดังนี้

               2.1 มหาวิทยาลัยดำเนินการติดต่อประสานงานการศึกษากับผู้บริหารแหล่งฝึกปฏิบัติและเปิดเป็นศูนย์บริการการศึกษาเฉพาะกิจของสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ในแต่ละปี  และนักศึกษาเข้ารับการปฐมนิเทศตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

               2.2 นักศึกษาติดต่อกับหัวหน้าศูนย์บริการการศึกษาเฉพาะกิจสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ตามระเบียบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

               2.3 หัวหน้าศูนย์บริการการศึกษาเฉพาะกิจ  แจ้งหน่วยงานที่มีนักศึกษาขอเข้าศึกษา เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและดำเนินการประสานเอื้ออำนวยบริการการศึกษา และควบคุมดูแลการฝึกปฏิบัติของนักศึกษา

                2.4 นักศึกษาให้พยาบาลวิชาชีพผู้ควบคุมดูแลการฝึกปฏิบัติลงนามรับรอง  และหัวหน้าพยาบาลลงนามกำกับในแบบฟอร์มที่มหาวิทยาลัยกำหนด  นักศึกษาต้องแนบแบบฟอร์มลงนามรับรองนี้ในรายงานกรณีศึกษาของนักศึกษาทุกฉบับ

            3.  การฝึกเสริมทักษะปฏิบัติการพยาบาล (โดยการนัดหมาย)  เมื่อนักศึกษาศึกษาเอกสารการสอนแล้ว  ได้มีการใช้ความรู้จากเอกสารการสอนฝึกปฏิบัติการพยาบาลด้วยตนเองระหว่างปฏิบัติหน้าที่ประจำ และมีการฝึกเฉพาะกรณีเพิ่มเติมตามกิจกรรมที่กำหนด  มหาวิทยาลัยได้กำหนดนัดหมายให้นักศึกษาพบกับกลุ่มเพื่อนนักศึกษาและอาจารย์ที่แหล่งฝึกปฏิบัติตามกำหนด วัน เวลา และสถานที่  เพื่อเสริมความรู้  ทักษะการใช้ความคิด  และประสบการณ์ปฏิบัติการพยาบาล    ภายใต้การควบคุมกำกับดูแลของอาจารย์สอนเสริมโดยมีนักศึกษากลุ่มละประมาณ 4-8 คน ต่ออาจารย์ 1 คน จำนวน 2 ครั้ง  และครั้งสุดท้ายจะเป็นการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติการพยาบาลติดต่อกัน 2 วัน

            4.  การฝึกอบรมเข้ม  นักศึกษาทุกคนที่ลงทะเบียนชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพการพยาบาลเมื่อเหลือ 3 ชุดวิชาสุดท้ายของหลักสูตร นักศึกษาต้องทำกิจกรรมก่อนเข้าฝึกอบรมเข้ม คือศึกษาวิเคราะห์โครงสร้างและระบบการบริหารจัดการของโรงพยาบาล  งานบริการพยาบาล  การปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพครบรอบ 24 ชั่วโมง วิธีการศึกษาต้องเป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติที่มหาวิทยาลัยกำหนด

            การฝึกอบรมเข้มที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีระยะเวลา 6 วัน เวลา 08.00-22.00 น. นักศึกษาร่วมทำกิจกรรมกลุ่มที่นักศึกษากลุ่มละประมาณ 20 คน  ต่ออาจารย์พยาบาล 1 คน  เพื่อเสริมทักษะการคิด  การวิเคราะห์เกี่ยวกับการมองคน  การตัดสินใจ  การทำงานเป็นทีม  การสื่อสาร ค่านิยม การพัฒนาบุคลิกภาพ มาตรฐานการพยาบาล การบริหารจัดการงานบริการพยาบาล  การประกันคุณภาพการพยาบาล  การปฏิบัติการพยาบาลเชิงวิชาชีพ  จริยธรรม และกฎหมายในการประกอบวิชาชีพ  โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมาบรรยายพิเศษในบางโอกาส

            การฝึกปฏิบัติการพยาบาลในแต่ละชุดวิชามีจำนวนหน่วยกิต  ประเภทของการฝึก จำนวนชั่วโมง การฝึกปฏิบัติ และคะแนนการประเมินผล ดังแสดงในตารางข้างล่างนี้

 

ตารางแสดงจำนวนหน่วยกิต ประเภทและชั่วโมงการฝึกปฏิบัติ และการประเมินผลจำแนกตามชุดวิชา

ชุดวิชา

จำนวน

หน่วยกิต

(ภาคปฏิบัติ)

ประเภทและจำนวนชั่วโมงการฝึกปฏิบัติ

การประเมินผล

ฝึกด้วย

ตน เอง

ฝึกเฉพาะ

กรณี

ฝึกเสริม

ทักษะ*

ฝึก อบรม

เข้ม**

รวม

ชั่วโมง

ฝึกปฏิบัติ

คะแนน

ภาคทฤษฎี

(ร้อยละ)

คะแนน

ภาคปฏิบัติ

(ร้อยละ)

51102 การส่งเสริม

สุขภาพจิตและการ

พยาบาลจิตเวช*

3

75

120

25

-

220

50

50

51105 การพยาบาล

ชุมชนและการรักษาพยาบาลเบื้องต้น*

3

75

120

25

-

220

50

50

51207 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น*

3

75

120

25

-

220

50

50

51208 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ*

3

75

120

25

-

220

50

50

51309 การพยาบาล

ครอบครัวและการ

ผดุงครรภ์*

3

75

120

25

-

220

50

50

51304 ประสบการณ์

วิชาชีพการ

พยาบาล**

4

75

120

-

40

235

40

60

รวม

19

450

720

125

40

1,335

 -

 

หมายเหตุ   *  อัตราส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษา 1:4 – 8 คน

              **  อัตราส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษา 1:20 คน

            การแต่งกาย

            นักศึกษาต้องแต่งชุดเครื่องแบบพยาบาลสีขาวทุกครั้งที่มีการขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วยเก็บผมให้เรียบร้อย  ไม่ปล่อยยาวหรือรัดด้วยยาง  หรือถักเปียปล่อยยาว และติดป้ายชื่อนักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ห้ามใส่เครื่องประดับต่างๆ  ยกเว้นนาฬิกา สำหรับการฝึกปฏิบัติชุดวิชา  51105 การพยาบาลชุมชนและการรักษาพยาบาลเบื้องต้น  การฝึกเสริมทักษะครั้งแรกและการเยี่ยมครอบครัวให้นักศึกษาแต่งชุดพยาบาลอนามัยสีฟ้าพร้อมทั้งติดป้ายชื่อนักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

            การประเมินผล

            ในการประเมินผลชุดวิชา  51102, 51105, 51207, 51208, 51304 และ 51309 นั้น นักศึกษาต้องสอบผ่านทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ในกรณีที่นักศึกษาสอบไม่ผ่านกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง  นักศึกษาต้องลงทะเบียนสอบซ่อมในกิจกรรมนั้น  และถ้าสอบซ่อมไม่ผ่านต้องลงทะเบียนเรียนใหม่ทั้งชุดวิชา สำหรับการลงทะเบียนสอบซ่อมนั้น ให้นักศึกษาลงทะเบียนตามวิธีการปกติ ถ้านักศึกษาสอบซ่อมภาคปฏิบัติ สาขาวิชาฯจะติดต่อกับนักศึกษาเพื่อมอบหมายกิจกรรมในเรื่องฝึกปฏิบัติ  และวิธีการสอบภาคปฏิบัติต่อไป  และขอให้นักศึกษายึดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประเมินผล และการสอบซ่อมชุดวิชาที่มีการฝึกปฏิบัติและชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพ  ตามประกาศมหาวิทยาลัยฯ

 

 
 
footer

ควรใช้ความละเอียดหน้าจอที่ 1024 by 768 pixels และ Internet Explorer version 5.5 + ขึ้นไป
จัดทำข้อมูลหลักสูตรโดยสำนักวิชาการ จัดทำระบบโดย คณะทำงานเผยแพร่สารสนเทศในระบบอินเตอร์เน็ต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Copyright © STOU Sukhothai Thammathirat OpenUniversity. All rights reserved.