หน้าแรกสำนักวิชาการ  |  หน้าแรกมสธ.  

โครงการส่งเสริมความรู้ทางวิชาการ เรื่อง “ทิศทางการดูแลสุขภาพแนวใหม่”
วันที่ 19 ธันวาคม 2550 ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารพิทยพัฒน์ จัดโดย ฝ่ายพัฒนาคณาจารย์ สำนักวิชาการ
ประโยชน์ที่ได้รับ
  คณาจารย์ บุคลากรของมหาวิทยาลัย และผู้สนใจทั่วไป ได้ทราบทิศทางการดูแลสุขภาพแนวใหม่ มีความรู้ ทักษะ มีความสามารถ
และมีกลวิธีที่เหมาะสมในการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง สามารถนำความรู้ไปใช้ดูแลสุขภาพตนเองและคนรอบข้าง ซึ่งเป็นการขยายเครือข่าย
การสร้างเสริมสุขภาพให้กว้างขวางขึ้น รวมทั้งมีสุขภาพกายและจิตที่ดีเพื่อการทำงานอย่างมีความสุข
วิทยากร
  1. ดร.นิลวรรณ เพชระบูรนินทร์
ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  2. อาจารย์ศุภชัย จารุสมบูรณ์ ผู้อำนวยการอโรคยาสถาน คลินิก การแพทย์แผนไทย
  3. อาจารย์ไกร มาสพิมล นักเคมีปฏิบัติและนักโภชนศาสตร์ ที่ปรึกษามูลนิธิแพทย์ทางเลือก
สรุปเนื้อหาการบรรยาย
  ทิศทางการดูแลสุขภาพแนวใหม่
   
1. ทำนายโรค ป้องกันโรคก่อนเกิดอาการ
  - ทำนายด้วยการตรวจเลือด
  - ทำนายด้วยการตรวจวิเคราะห์ยีน
2. ทำนายด้วยการตรวจ QUANTUM COSMIE
  - ตรวจอนุภาคนาโนของร่างกาย
  - ตรวจความผิดปกติของ DNA
บรรยายโดย ดร.นิลวรรณ เพชระบูรนินทร์
3. รู้จักกินอาหารให้เป็นยารักษาโรค
  - ทำและชิมอาหารต้านโรค
บรรยายโดย อาจารย์ไกร มาสพิมล
4. สุขลักษณะในการดำรงชีวิตประจำวัน
  - การใช้ดนตรีบำบัด
บรรยายโดย อาจารย์ศุภชัย จารุสมบูรณ์
   
  เป็นศาสตร์การแพทย์ทางเลือกอีกหนึ่งวิธีบำบัดรักษา มีพื้นฐานมาจากการฟังการสวดมนต์ ชาวจีนโบราณค้นพบว่า อวัยวะภายในของมนุษย์
มีการสั่นสะเทือนตรงกับเสียงห้าเสียง คือ กง ซัง อวี๋ เจี่ยว เจิง (หรือตรงกับเสียงโน้ต โด มี ฟา ซอล ลา ฯลฯ) เสียงทั้งห้ามีความเกี่ยวพันกับธาตุทั้งห้า
ในร่างกายมนุษย์ (ดิน ทอง น้ำ ไม้ ไฟ) ดังนั้นจึงได้นำเสียงดนตรีมารักษาโรค โดยวิธีการใช้เสียงดนตรีร่วมกับศิลปะการออกกำลังจิตแบบจี้กง
เพื่อช่วยส่งเสริมและถ่ายเทพลังธาตุทั้ง 5 ในร่างกายให้มีความสมดุลตามหลักของคัมภีร์อี้จิง จนก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยอัตโนมัติ
เป็นการเคลื่อนไหวที่เกิดเองโดยไม่ได้ตั้งใจ มีท่าทางการเคลื่อนไหวที่หลากหลายรูปแบบ เช่น ยิมนาสติก โยคะ ศิลปะการต่อสู้ เต้นรำ ฯลฯ
หรือการเคลื่อนไหวที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อนหรือการเคลื่อนไหวแบบยากๆ ที่ไม่มีใครสามารถทำได้ในสถานการณ์ปกติ
  การสวดมนต์ บำบัด ป้องกันโรค และปรับพลังชีวิตในร่างกาย
    เป็นการสวดพระคาถาหัวใจพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ คือ “นะ โม พุธ ธา ยะ” เปรียบเสมือนการสวดบูชาพระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์
  ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ในภัทรกัป หรือกัปปัจจุบัน โดยแต่ละคำแทนพระพุทธเจ้าแต่ละองค์ ดังนี้
   
“นะ”
หมายถึง
พระกกุสันโธสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงถือกำเนิดในสกุลพรหมณ์ ในเขมนคร
พระองค์ทรงเห็นนิมิต 4 ประการ จึงเสด็จออกผนวชด้วยรถอันเป็นยานพาหนะ
บำเพ็ญเพียรอยู่ 8 เดือนเต็ม จึงตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณที่ไม้โพธิพฤกษ์ชื่อ ไม้ซีก
         
   
“โม”
หมายถึง
พระโกนาคมโนสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงถือกำเนิดในตระกูลพราหมณ์แห่งโสภวดีนคร
พระองค์ทรงเห็นนิมิต 4 ประการ จึงออกบวช โดยมีช้างเป็นพาหนะ และบำเพ็ญเพียร
อยู่ 6 เดือน จึงได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าที่ไม้โพธิพฤกษ์ชื่อ ไม้มะเดื่อ
         
   
“พุท”
หมายถึง
พระกัสสปะสัมมาสัมพุทธเจ้า ถือกำเนิดในตระกูลพราหมณ์ในนครพาราณสี
พระองค์ทรงเห็นนิมิต 4 ประการ จึงออกบวช ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ 7 วัน
จึงตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณที่ไม้โพธิพฤกษ์ชื่อ นิโคธ
         
   
“ธา”
หมายถึง
พระโคตมะสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระสมณโคดม เป็นพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันที่เรารู้จักกันดี
พระองค์ทรงถือกำเนิดในตระกูลกษัตริย์ ในนครกบิลพัสดุ์ และทรงนิมิต 4 ประการ
จึงทรงออกผนวชด้วยยานคือม้า ได้บำเพ็ญทุกรกิริยาอยู่ 6 ปี ก่อนที่จะทรงบำเพ็ญเพียร
ด้วยทางสายกลาง จึงตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณที่ไม้โพธิพฤกษ์ชื่อ อัสสัตถพฤกษ์
         
 
“ยะ”
หมายถึง
พระศรีอาริยะเมตไตย ซึ่งจะเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ 5 ในกัปนี้ โดยเชื่อว่า
ในยุคพระศรีอาริยะเมตไตยนี้ จะเป็นยุคที่สภาพสังคมสมบูรณ์ ผู้คนล้วน
มีศีลธรรมอันดีงามอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
    และที่พิเศษคือ นอกจากคำสวดแต่ละคำจะแทนพระพุทธเจ้าแต่ละองค์แล้ว ยังเป็นตัวแทนของธาตุทั้ง 5 ในร่างกายเรา
  และมีกำลังแตกต่างกันไป คือ
 
  วิธีการสวดที่ได้ผล คือ จะต้องสวดสลับลำดับคำไล่กันไปคือ
 
    เมื่อสวดครบทั้ง 5 บทนี้ เรานับเป็น 1 คาบ ให้สวดทั้งหมด 108 คาบ โดยอาจเริ่มต้นด้วยการกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ก่อน
  แล้วจึงสวดพระคาถานี้ต่อ เมื่อสวดจบ ก็จะถือว่าเป็นการปรับธาตุทั้ง 5 ในร่างกายได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด
 
“ใครที่ทำงานเคร่งเครียด เหน็ดเหนื่อยมาทั้งวัน หรืออาจจะได้รับผลกระทบจากอารมณ์ทั้ง 7
ที่เกิดขึ้นระหว่างวัน ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ดีใจ เสียใจ วิตก กังวล กลัว โกรธ ซึ่งล้วนส่งผลให้ธาตุทั้ง 5
ในร่างกายแปรปรวนทั้งสิ้นนั้น ลองสวดพระคาถาบทนี้ จิตใจจะได้สงบ ร่างกายสมดุลสมบูรณ์ และ
ที่สำคัญคือใครที่มีปัญหาเรื่องนอนไม่ค่อยหลับ หากได้สวดพระคาถาบทนี้แล้ว ก็จะนอนหลับได้อย่างสบาย”
 
ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเสียงสวดมนต์กับร่างกายและการบำบัดรักษา
 
  การกราบพระ การไหว้พระ
    การสวดมนต์เพื่อบำบัดโรคควรควบคู่ไปกับการกราบไหว้ที่ถูกต้อง การกราบไหว้ที่ถูกวิธีจะมีผลต่อต่างกายคือ ช่วยในการเดินพลังปราณ
  หรือพลังที่อยู่ในร่างกายให้ไหลเวียนสะดวกยิ่งขึ้น เมื่อสวดมนต์เสร็จและมีการกราบไว้ควบคู่กันไป อานุภาพในการรักษาจะยิ่งทวีขึ้น
    การกราบพระหรือการไหว้พระ ล้วนแล้วแต่มีเหตุผล มีที่มาที่ไป การกราบพระเป็นการปรับพลังงานในร่างกาย
  เพราะการกราบพระจะทำให้กระดูกสันหลังโค้งงอ เวลากระดูกสันหลังโค้งงอพลังกุณฑริณีที่อยู่ตั้งแต่ฝีเย็บจะวิ่งขึ้นมาที่กระดูกสันหลัง
  ผ่านต้นคอ ผ่านกลางกระหม่อม ผ่านหน้าผาก ลงมาถึงปลายจมูก คนจีนโบราณจะเรียกเส้นทางเดินของพลังนี้ว่า “เส้นลมปรณตู๋เหม่ย”
  และจากปลายริมฝีปากลงมา ผ่านกลางคอหอย ผ่านกลางหว่างอก ผ่านกลางสะดือ ลงไปที่ฝีเย็บ เราเรียกว่า “เจินเหม่ย”
    คนโบราณรู้ว่าพลังทั้งสองสายนี้เป็นพลังประธานในร่างกาย และจะต้องไหลเวียนเป็นวงกลมวันหนึ่งไม่ต่ำกว่า 50 รอบ
  ซึ่งการที่มนุษย์ต้องก้มๆ เงยๆ ทำอะไรต่างๆ ในแต่ละวันย่อมีผลทำให้พลังงานไหลเวียนไม่ถึง 50 รอบ แต่เวลาที่กราบพระแล้ว
  หน้าผากจรดพื้นนั้น กระดูกสันหลังจะโค้งงอ ซึ่งทำให้พลังวิ่งแรงขึ้น ดังนั้น การกราบพระจึงเป็นกุศโลบายในการรีดเส้นลมปราณ นั่นเอง
    การพนมมือไหว้ในขณะฟังการสวดก็เช่นเดียวกัน ในสมัยก่อนจะมีการพนมมือด้วยกันหลายรูปแบบ ตามโรคที่ผู้ป่วยเป็น
  ซึ่งเราเรียกว่า “ตีลัญจกร” การพนมมือแต่ละรูปแบบนั้นเป็นเสมือนการติดตั้งเสาอากาศรับคลื่นพลังจากธรรมชาติเข้าสู่ร่างกาย
  เพื่อทำการบำบัดรักษาอาการของโรคต่างๆ ที่เราเป็นได้อย่างแม่นยำและตรงจุด เหมือนเวลาที่เราต้องการดูช่องยูบีซีก็ต้องมีเสาอากาศ
  รับสัญญาณของคลื่นยูบีซีโดยเฉพาะการพนมมือก็เช่นเดียวกัน เป็นการติดตั้งแผงวงจรบนฝ่ามือเพื่อรับคลื่นจากธรรมชาติเข้าสู่ตัวเรา
  โดยมีพระคาถาเป็นเสมือนไดร์สตาร์ทให้ร่างกายดูดซับคลื่นจากธรรมชาติ เข้ามาเหนี่ยวนำการทำงานของโมเลกุลในอวัยวะต่างๆ
  ให้กลับมาทำงานได้ตามปกตินั่นเอง
  ปฏิบัติชีวิตประจำวันให้สามารถป้องกันโรค อาจมีหลากหลายวิธีที่ปฏิบัติ เช่น
    • การใช้นิ้วมือเขียนตัวหนังสือ ผลที่ได้รับคือ กระตุ้นให้เซลล์ปลายประสาทและต่อมใต้สมอง โดยเฉพาะต่อมไธโปเทลามัส
  ทำปฏิกิริยาต่อสมอง ที่มีผลต่อความจำ
 

• ฝึกการหายใจ
 

  - นั่งกำมือ โดยให้นิ้วหัวแม่มือ อยู่ในอุ้งมือ
      - หายใจเข้า เอาลิ้นแตะเพดานบน แล้วหายใจเข้านุ่มๆ - นิ่ง หยุดหายใจ กระทั่งกระบังลม คลายตัว
 

  - หายใจออก เอาลิ้นออกจากเพดานบน แล้วหายใจออกนุ่มๆ
 
  - นิ่ง หยุดหายใจ กระทั่งกระบังลม คลายตัว
      การหายใจ เข้า – นิ่ง การหายใจ ออก – นิ่ง ให้เวลาทั้ง 4 จังหวะ เท่ากัน ทำให้ครบ 36 ครั้ง ผลที่ได้รับคือ
    จะทำให้เลือดดี มีออกซิเจนไปเลี้ยงสมองมากขึ้น ปริมาณเกล็ดเลือดในสมองมากขึ้น ทำให้เซลล์สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  ดูแลสุขภาพใจ
    ได้แนะนำการดำเนินชีวิตอย่างง่ายๆ และมีความสุขว่า “โดยพื้นฐานของการดำเนินชีวิตแบบคนสมัยก่อน คือ การใช้ชีวิตที่เรียบง่าย
  ยึดหลักศีล 5 หรือ เน้นแค่ 1. ไม่ทำความชั่ว 2. ทำแต่ความดี 3. ทำจิตใจให้ผ่องใส แค่ทำอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 ข้อ ก็ส่งผลต่อสุขภาพกาย
  และใจให้แข็งแรง มีความสุข เพราะเราคิดดีทำดี”
   



จัดทำโดย
สำนักวิชาการ และ คณะทำงานเผยแพร่สารสนเทศในระบบอินเตอร์เน็ต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2545 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537