รายงานการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2553
สำนักวิชาการ
ระหว่างวันที่ 23 - 24 สิงหาคม 2554
ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของหน่วยงาน
1.1
ชื่อหน่วยงาน
:
สำนักวิชาการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
1.2
ที่ตั้งหน่วยงาน
:
อาคารวิชาการ 3 ชั้น 2
1.3
ประวัติความเป็นมา
  สำนักวิชาการจัดตั้งขึ้นพร้อมกับสำนักงานอธิการบดี สำนักเทคโนโลยีการศึกษา สำนักบริการการศึกษา และสำนักทะเบียนและวัดผลตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง
สำนักงานอธิการบดีและสำนัก มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ . ศ .2522 และแบ่งส่วนราชการตามประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง “ การแบ่งส่วนราชการ
ในสำนักต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ” ซึ่งประกาศในราชกิจจา-นุเบกษา เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ . ศ .2522 ประกอบด้วยฝ่ายต่าง ๆ คือ
สำนักงานเลขานุการ ฝ่ายตำรา ฝ่ายพัฒนาคณาจารย์ ฝ่ายพัฒนาหลักสูตรและการสอน และฝ่ายวิจัย
  สถานที่ทำการสำนักวิชาการ
    สถานที่ทำการระยะแรกตั้งอยู่ที่ชั้น 1 อาคารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ถนนสุโขทัย ( มกราคม 2521- พฤษภาคม 2522)
ต่อมาได้ย้ายที่ทำการไปอยู่ที่ต่างๆ ดังนี้
      - อาคารบริษัทเดินอากาศไทย จำกัด ( ชั้น 6) ถนนหลานหลวง ( พฤษภาคม 2522 - เมษายน 2523)
- อาคารคณะเ ศรษฐศาสตร์ ชั้น 5 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท ( เมษายน – มิถุนายน 2523)
- อาคารทบวงมหาวิทยาลัย ถนนศรีอยุธยา ( มิถุนายน 2523 - เมษายน 2524) และ
- อาคารสิริภิญโญ ชั้น 5 ถนนศรีอยุธยา (10 เมษายน 2524 - ธันวาคม 2527)
ธันวาคม 2527 สำนักวิชาการจึงได้ย้ายมายังอาคารวิชาการ 3 ชั้น 2 จนถึงปัจจุบัน (10 ปี มสธ. 2531:26-28)
 
-
ในช่วงแรก ๆ ของ การก่อ ตั้งมหาวิทยาลัย พ . ศ .2522–2526 งานใน หน้าที่ รับผิดชอบของสำนักวิชาการคืองานเลขานุการกิจสภาวิชาการ เลขานุการกิจสาขาวิชา
และงานประสานงานเพื่อสนับสนุนงานวิชาการของมหาวิทยาลัย อาทิ งานเลขานุการคณะกรรมการจัดตั้งสาขาวิชาต่าง ๆ งานจัดทำคู่มือนักศึกษาและหลักสูตรสาขาวิชา
และงานจัดประชุมบูรณาการชุดวิชา
 
-
พ.ศ. 2526 มหาวิทยาลัยได้โอนงานจัดอบรมเข้มเสริมประสบการณ์บัณฑิต (เป็นกิจกรรมภาคบังคับของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาตรี ในสาขาวิชาที่ไม่มี
ชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพ) และงานจัดประชุมเชิงปฏิบัติการชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพ (เป็นกิจกรรมสำคัญส่วนหนึ่งในการเรียนชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพ)
จากสำนักบริการการศึกษามาให้ฝ่ายวิจัย สำนักวิชาการเป็นผู้รับผิดชอบ
 
-
พ.ศ. 2527 สำนักวิชาการได้แยกภาระงานจัดอบรมเข้มเสริมประสบการณ์บัณฑิตและงาน จัดประชุมเชิงปฏิบัติการชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพออกจากฝ่ายวิจัย
และจัดตั้งหน่วยงานชื่อ “ งานโครงการเสริมประสบการณ์บัณฑิตและประสบการณ์วิชาชีพ ” อยู่ในสำนักงานเลขานุการ สำนักวิชาการ
 
  และในปีเดียวกันนั้นมหาวิทยาลัยยังได้มอบหมายให้จัดตั้งงานฝึกอบรมขึ้นอีกหน่วยงานหนึ่งในสำนักวิชาการ โดยให้มีหน้าที่ในการเตรียมงานด้านการฝึกอบรม
เพื่อให้บริการแก่ชุมชน ซึ่งใน พ . ศ .2532 มหาวิทยาลัยได้แยกงานฝึกอบรมออกจากสำนักวิชาการ และยกฐานะเป็น สำนักการศึกษาต่อเนื่อง
 
-
พ.ศ. 2534 ได้เปลี่ยนชื่อ งานโครงการเสริมประสบการณ์บัณฑิตและประสบการณ์วิชาชีพเป็น “ ฝ่ายอบรมประสบการณ์วิชาชีพ ” และได้จัดตั้ง
เป็นหน่วยงานภายในสำนักวิชาการตามคำสั่งมหาวิทยาลัยที่ 569/2534 ลงวันที่ 20 มีนาคม 2534 มีหน้าที่รับผิดชอบการจัดอบรมเข้มนักศึกษาที่ลงทะเบียน
ชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพของทุก ๆ สาขาวิชา และเพื่อความเหมาะสมต่อมาจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ ฝ่ายประสบการณ์วิชาชีพ ”
 
  ต่อมาภาระงานและปริมาณงานเกี่ยวกับด้านเลขานุการของสาขาวิชาต่าง ๆ มีมากขึ้นและมีหน้าที่ความรับผิดชอบที่แตกต่างออกไปเป็นการเฉพาะ สำนักวิชาการ
จึงได้จัดตั้ง ฝ่ายเลขานุการกิจ เป็นการภายในเพิ่มขึ้นอีก 1 ฝ่าย เพื่อรับผิดชอบงานเลขานุการกิจสภาวิชาการ งานเลขานุการกิจกิตติเมธีและงานเลขานุการกิจ
ประจำสาขาวิชาต่าง ๆ อนึ่ง ฝ่ายดังกล่าวได้ถูกยุบรวมเป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดสำนักงานเลขานุการ ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการประจำสำนักวิชาการ
ครั้งที่ 6/2543 วันที่ 25 ธันวาคม 2543
 
-
พ.ศ. 2535 ได้แยกฝ่ายวิจัยออกจากสำนักวิชาการ และยกฐานะเป็นสถาบันวิจัยและพัฒนา
 
-
พ.ศ. 2544 มหาวิทยาลัยมีนโยบายจัดตั้ง โครงการบัณฑิตศึกษา ซึ่งมีภารกิจในด้านประสานกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการเปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษา
งานประกันคุณภาพการศึกษา งานเลขานุการกิจกิตติเมธี รวมทั้งงานเลขานุการกิจบัณฑิตศึกษาของสาขาวิชาต่าง ๆ เพื่อให้มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่รองรับงานดังกล่าว
สำนักวิชาการจึงได้ตั้ง ฝ่ายบัณฑิตศึกษา ขึ้นเป็นการภายในอีกหนึ่งฝ่าย
 
-
พ.ศ. 2545 สภามหาวิทยาลัยได้ประกาศจัดตั้งสำนักบัณฑิตศึกษาขึ้นในวันที่ 15 สิงหาคม และได้แยกออกจากสำนักวิชาการไปพร้อมทั้งงานหลักสูตร ระดับบัณฑิตศึกษา
และงานกิตติเมธี และเมื่องานประกันคุณภาพการศึกษามีภาระงานต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ต่อมาสภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้ออกระเบียบมหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราชว่าด้วยการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งกำหนดให้มี ศูนย์ประสานงานการประกันคุณภาพการศึกษา ทำหน้าที่รองรับภารกิจด้านการประกัน
คุณภาพการศึกษาทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ดำเนินงานภายใต้ข้อบังคับว่าด้วยศูนย์ประสานงานการประกันคุณภาพการศึกษา ลงวันที่ 14 มีนาคม 2544
จึงโอนงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาที่สำนักวิชาการดำเนินการ ไปขึ้นกับศูนย์ประสานงานการประกันคุณภาพการศึกษาดังกล่าว
 
-
พ.ศ. 2546 - 2551 สำนักวิชาการมีการแบ่งโครงสร้าง ประกอบด้วย สำนักงานเลขานุการ และฝ่ายต่าง ๆ 4 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายตำรา ฝ่ายพัฒนาคณาจารย์
ฝ่ายพัฒนาหลักสูตรและการสอน และฝ่ายประสบการณ์วิชาชีพ ทั้งนี้ยังได้รับโอนงานกิตติเมธีจากสำนักบัณฑิตศึกษากลับมาที่สำนักงานเลขานุการและโอนงานด้านหลักสูตร
ระดับบัณฑิตศึกษากลับมาที่ฝ่ายพัฒนาหลักสูตรและการสอน สำนักวิชาการ ซึ่งเป็นไปตามมติที่ประชุมผู้บริหารของมหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 6/2548
เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2548
ปณิธาน วิสัยทัศน์ และวัตถุประสงค์หน่วยงาน
ปณิธาน

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชในฐานะที่เป็นมหาวิทยาลัยในระบบเปิด ยึดหลักการศึกษาตลอดชีวิตมุ่งพัฒนาคุณภาพของประชาชนทั่วไป
เพิ่มพูนวิทยฐานะแก่ผู้ประกอบอาชีพและขยายโอกาสทางการศึกษาต่อสำหรับผู้สำเร็จมัธยมศึกษา เพื่อสนองตอบความต้องการของบุคคล
และสังคม ด้วยการจัดระบบการเรียนการสอนทางไกล ซึ่งใช้สื่อการสอนทางไปรษณีย์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และวิธีการอื่น
ที่ผู้เรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องเข้าชั้นเรียนตามปกติ

วิสัยทัศน์
เป็นหน่วยงานสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนระบบทางไกลที่มีศักยภาพในการให้บริการวิชาการอย่างมีคุณภาพ
พันธกิจ
1.
สนับสนุนการดำเนินงานวิชาการของสาขาวิชา
2.
ส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตร การแต่งตำราและการพัฒนาคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย
3.
สนับสนุนการอบรมประสบการณ์วิชาชีพแก่นักศึกษา
4.
พัฒนาการให้บริการวิชาการและสารสนเทศด้านการเรียนการสอนระบบทางไกลอย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์
1.
เพื่อสนับสนุนการดำเนินการศึกษาของมหาวิทยาลัย
2.
เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง
3.
เพื่อประสานการดำเนินงานตามนโยบายและแผนงานวิชาการของมหาวิทยาลัย >
4.
เพื่อบริการทางวิชาการเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนระบบทางไกล

ในแผนภูมิโครงสร้างการบริหารงาน
ผู้บริหาร
ในปีการศึกษา 2553 ผู้บริหารสำนักวิชาการ ประกอบด้วย
ตำแหน่งบริหาร
ชื่อ - สกุล
ผู้อำนวยการสำนัก รองศาสตราจารย์ ดร.ศริศักดิ์ สุนทรไชย
เลขานุการสำนัก นางลัดดา ปกป้อง (รักษาการในตำแหน่ง)
หัวหน้าฝ่ายตำรา นายเฉลิมศักดิ์ เย็นสำราญ
หัวหน้าฝ่ายพัฒนาคณาจารย์ นางสาวธนวรรณ ถาวรเลิศรัตน์
หัวหน้าฝ่ายพัฒนาหลักสูตรและการสอน นางสาวสนุทรี เฉลิมพงศธร
หัวหน้าฝ่ายประสบการณ์วิชาชีพ นางศิริกัญญา ปิ่นธานี

ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
สำนักวิชาการตระหนักถึงความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ . ศ . 2542
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 โดยได้ถือว่าการประกันคุณภาพการศึกษาภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา
ที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องทุกปีมีคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาระดับสำนักทำหน้าที่กำหนดนโนบายการดำเนินงานประกัน
คุณภาพและสร้างความเข้าใจในเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา รวมทั้งมอบหมายให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพภายใน
ด้วยการทำหน้าที่ประสานงานเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักและมหาวิทยาลัยเมื่อสิ้นการศึกษาจะดำเนินการ
ประเมินตนเองและ จัดทำรายงานสำหรับรองรับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
ในปีการศึกษา 2553 สำนักวิชาการได้ดำเนินการประกันคุณภาพภายในตามกรอบของสำนักงานคณะกรรมการ
การอุดมศึกษาหรือ สกอ. ตามแนวทางที่มหาวิทยาลัยกำหนด รวม 3 องค์ประกอบ
  องค์ประกอบที่ 1 ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์และแผนดำเนินการ
  องค์ประกอบที่ 7 การบริหารและการจัดการ
  องค์ประกอบที่ 9 ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ
  นอกจากนี้ยังเพิ่มเติมตัวบ่งชี้ของ สมศ. และ ก.พ.ร. เพื่อให้การประเมินคุณภาพภายในมีความสมบูรณ์ครบถ้วนพร้อมรองรับ
ต่อการประเมินคุณภาพภายนอก
แผนยกระดับการประกันคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2553
 
ข้อเสนอแนะของ
คณะกรรมการประเมิน
โครงการ / กิจกรรม
เพื่อการพัฒนา
กำหนดระยะเวลา
แล้วเสร็จ
รายการ
เอกสารอ้างอิง
องค์ประกอบที่ 2 การเรียนการสอน
ตัวบ่งชี้ที่ 2.12.3 ร้อยละของหลักสูตรที่ได้มาตรฐาน
ต่อหลักสูตรทั้งหมด
(ผลประเมินได้ 1 )
ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ
1. สำนักควรระบุบทบาทของการมีส่วนร่วมในการ
เตรียมความพร้อมก่อนการเปิดหลักสูตรใหม่
และการปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์
มาตรฐานหลักสูตรให้ปรากฎเห็นชัดเจน เช่น
การแจ้งเวียนเอกสารเกี่ยวกับแนวทางในการ
ปรับและพัฒนาหลักสูตรตามเกณฑ์ใหม่ที่ สกอ.
กำหนดการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการ
เตรียมการในการพัฒนาหลักสูตรให้เป็นไป
ตามเกณฑ์มาตรฐานให้กับบุคลากรทั้งสาย
สนับสนุนและอาจารย์ประจำหลักสูตรของ
แต่ละสาขาวิชา เป็นต้น
2. สำนักควรระบุบทบาทของการมีส่วนร่วมในการ
เตรียมความพร้อมก่อนการเปิดหลักสูตรใหม่และ
การปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์
มาตรฐานหลักสูตร ให้ปรากฎเห็นชัดเจน เช่น
การแจ้งเวียนเอกสารเกี่ยวกับแนวทางในการปรับ
และพัฒนาหลักสูตรตามเกณฑ์ใหม่ที่ สกอ.กำหนด
การจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมการ
ในการพัฒนาหลักสูตรให้
เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานให้กับบุคลากร
ทั้งสายสนับสนุนและอาจารย์ประจำหลักสูตร
ของแต่ละสาขาวิชา เป็นต้น
ชื่อโครงการ / กิจกรรม
1.
จัดทำระบบและกลไกการพัฒนา/ปรับปรุงและบริหารหลักสูตร
ภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2552 (TQF) เสนอสภาวิชาการ สภามหาวิทยาลัยและ
ประชาสัมพันธ์ทาง Intranet เพื่อให้สาขาวิชาและหน่วยงาน
ต่างๆ นำไปใช้ประโยชน์ในส่วนที่เกี่ยวข้อง
2.
มีการจัดตั้งคณะทำงานพัฒนาระบบมาตรฐานคุณวุฒิระดับ
อุดมศึกษา มาตรฐานกลาง ระบบการสอนทางไกล มสธ.
และมีการประชุมคณะทำงานฯ เพื่อพิจารณาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
อย่างต่อเนื่อง
3.
มีการจัดทำ Template มคอ.2 และปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน
เผยแพร่ทาง Intranet ให้สาขาวิชาต่างๆ นำไปใช้ประโยชน์
4.
มีการเวียนแจ้งให้สาขาวิชารายงานความก้าวหน้าในการ
พัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรตามกรอบมาตรฐาน TQF และ
สรุปรายงานเผยแพร่ ในระบบ intranet
5.
มีการส่งเสริม สนับสนุนให้สาขาวิชาดำเนินการพัฒนา/ปรับปรุง
หลักสูตรตามกรอบมาตรฐาน TQF เช่น การจัดสัมมนา
การบรรยายให้ความรู้ เป็นต้น
ผู้รับผิดชอบ ฝ่ายพัฒนาหลักสูตรและการสอน
     
 
1.
วันที่ 15 พฤษภาคม
2554
 
2.
วันที่ 1 กรกฎาคม
2553 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2554
   
1.
ระบบและกลไกการพัฒนา/
ปรับปรุงและบริหารหลักสูตร
ภายใต้กรอบมาตรฐาน
คุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
แห่งชาติ พ.ศ.2552 (TQF )
2.
คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานฯ
3.
รายงานการประชุม
คณะทำงานฯ
4. Template มคอ.2
ทุกระดับการศึกษา
5. รายงานความก้าวหน้า
ในการพัฒนา/ ปรับปรุง
หลักสูตร
6. โครงการสัมมนา
7. เอกสารที่เกี่ยวข้อง
   
   
หมายเหตุ
-
ให้นำผลการประเมินตัวบ่งชี้ในรอบปีการศึกษาที่ผ่านมาที่ได้คะแนน เท่ากับ 1 มารายงาน หรืออาจนำข้อเสนอแนะที่มีนัยสำคัญ
มากำหนดโครงการ /กิจกรรม เพื่อใช้พัฒนาหน่วยงานตามความเหมาะสม
-
ในกรณีที่สามารถดำเนินการพัฒนา / ปรับปรุงได้ตาม “โครงการ / กิจกรรมเพื่อการพัฒนา” ที่กำหนดไว้ โปรดระบุรายการเอกสารอ้างอิงด้วย
ย้อนกลับ