องค์ประกอบที่ 7 การบริหารและการจัดการ

ตัวบ่งชี้ที่ 7.4 ระบบบริหารความเสี่ยง (สกอ. 7.4)
รอบปีที่ใช้นับผลงาน : ปีงบประมาณ 2553 (1 ตุลาคม 2552 – 30 กันยายน 2553)
ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐาน (ระดับสาขาวิชา/หน่วยงานสนับสนุน) :
เกณฑ์มาตรฐาน
ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์
รายการเอกสารอ้างอิง
1.
มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงาน
บริหารความเสี่ยง โดยมีผู้บริหารระดับสูง
และตัวแทน ที่รับผิดชอบพันธกิจหลักของ
สถาบันร่วมเป็นคณะกรรมการหรือคณะทำงาน
สำนักวิชาการมีการแต่งตั้ง คณะกรรมการควบคุมภายใน
และการบริหารความเสี่ยงของสำนักวิชาการ ตามคำสั่ง
สำนักวิชาการ ที่ 2007/2551เพื่อให้การดำเนินงาน
การบริหารความเสี่ยงของสำนักวิชาการเป็นไปด้วย
ความเรียบร้อย เกิดประโยชน์สูงสุด บรรลุประสิทธิภาพ
และประสิทธิผล ซึ่งมีผู้อำนวยการสำนักวิชาการเป็น
ประธานคณะกรรมการ หัวหน้าฝ่ายทุกฝ่ายและผู้แทน
ฝ่ายทุกฝ่ายเป็นกรรมการ และเลขานุการสำนักวิชาการ
เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยให้คณะทำงาน ดังกล่าว
มีหน้าที่ความรับผิดชอบดังต่อไปนี้
1)
กำหนดนโยบายและจัดวางระบบการควบคุม
ภายในและการริหารความเสี่ยงของสำนักวิชาการ
ให้สอดคล้องกับนโยบายและระบบการควบคุม
ภายในและการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
2)
กำหนดแนวทางการดำเนินงานและการปฏิบัติงาน
การควบคุมายในและการบริหารความเสี่ยงของ
สำนักวิชาการ
3)
กำกับ ควบคุมดูแลการควบคุมภายในและ
การบริหารความเสี่ยงของ สำนักวิชาการ
4)
พิจารณาแผนการปรับปรุงงาน ติดตามและ
ตรวจสอบการปฏิบัติงานตามแผนการควบคุม
ภายในและการบริหารความเสี่ยงของสำนักวิชาการ
5)
แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่
คณะกรรมการมอบหมาย
6)
ให้คำปรึกษาแก่คณะทำงานที่กำหนดไว้ในข้อ 5
7)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่มหาวิทยาลัยมอบหมาย
  สำนักวิชาการได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัย
ให้เป็นหน่วยเลขานุการในคณะทำงานบริหารความเสี่ยง
และการควบคุมภายในระดับมหาวิทยาลัยในระบบ
การเรียนการสอน
สว.7.4-1(1) คำสั่งสำนักวิชาการ ที่ 2007/2551
เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมภายใน
และการบริหารความเสี่ยงของสำนักวิชาการ
   
   
   
   
   
   
   
สว.7.4-1(2) คำสั่งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ที่ 2631/2552
เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานควบคุมภายในและการบริหาร
ความเสี่ยง
   
2.
มีการวิเคราะห์และระบุความเสี่ยงและปัจจัยที่
ก่อให้เกิดความเสี่ยง อย่างน้อย 1 ด้าน ตามบริบท
ของหน่วยงาน ตัวอย่างเช่น
 
-
ความเสี่ยงด้านทรัพยากร (การเงิน งบประมาณ
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ อาคารสถานที่)
 
-
ความเสี่ยงด้านยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ของสถาบัน
 
-
ความเสี่ยงด้านนโยบายกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
 
-

ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน เช่น ความเสี่ยงของ
กระบวนการบริหารหลักสูตร การบริหารงานวิจัย
ระบบงาน ระบบประกันคุณภาพ

 
-
ความเสี่ยงด้านบุคลากรและความเสี่ยงด้าน
ธรรมาภิบาล โดยเฉพาะจรรยาบรรณของ
อาจารย์ และบุคลากร
 
-
ความเสี่ยงจากเหตุการณ์ภายนอก
 
-
ความเสี่ยงอื่นๆ ตามบริบทของสถาบัน
สำนักวิชาการมีการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงและ
การควบคุมภายใน ประจำปีงบประมาณ 2553 ระดับ
หน่วยงาน บสน.1 ซึ่งถ่ายทอดจากแผนบริหารความเสี่ยง
และการควบคุมภายในของมหาวิทยาลัย ประจำปี
งบประมาณ 2553 เป็นหลักซึ่งสำนักวิชาการมีส่วนร่วม
ในการวิเคราะห์และระบุความเสี่ยงและปัจจัยที่ก่อให้เกิด
ความเสี่ยงในระบบที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
ระบบการบริหารเชิงยุทธศาสตร์
ปัจจัยความเสี่ยง
1
การปรับเปลี่ยนแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
ไม่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
ระบบการเรียนการสอน
ปัจจัยความเสี่ยง
1
หลักสูตรยังไม่เป็นไปตามเกณฑ์ของ สกอ.
2
ประสิทธิภาพของการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ระบบการบริหารสื่อสิ่งพิมพ์
ปัจจัยความเสี่ยง
1
การผลิตสื่อการศึกษา(ชุดวิชาปรับปรุงและผลิตใหม่)
ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการที่กำหนด
ระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล
ปัจจัยความเสี่ยง
1
จำนวนอาจารย์ได้รับอนุมติให้ไปศึกษาฝึกอบรม
ระยะสั้น ณ ต่างประเทศไม่เป็นไปตามแผน
ปฏิบัติการที่กำหนด
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง ดังกล่าว ครอบคลุมประเภท
ความเสี่ยง 4 ด้าน คือ
1)
การเงินและงบประมาณ
2)
นโยบาย
3)
การปฏิบัติงาน
4)
เหตุการณ์ภายนอก
สว.7.4-2(1) รายงานการประชุมคณะกรรมการควบคุมภายในและ
การบริหารความเสี่ยงของสำนักวิชาการ ครั้งที่ 1/2553
วันที่ 20 มกราคม 255 3 วาระที่ 4.1 เรื่อง (ร่าง)
แผนบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน
(แบบ บสน .1)
สว.7.4-2(2) รายงานการประชุมคณะกรรมการควบคุมภายใน
และการบริหารความเสี่ยงของสำนักวิชาการ ครั้งที่
2/2553 วันที่ 28 เมษายน 255 3 วาระที่ 2 เรื่อง
รับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร
ความเสี่ยงฯครั้งที่ 2/2553 วันที่ 20 มกราคม 2553
โดยมีการปรับแก้วาระที่ 4.1 เรื่อง (ร่าง) แผนบริหาร
ความเสี่ยงและควบคุมภายใน (แบบ บสน.1)
สว.7.4-2(3) แผนบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในของ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สว.7.4-2(4) แผนบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน
สำนักวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553
บสน.1
3.
มีการประเมินโอกาสและผลกระทบของ
ความเสี่ยงและจัดลำดับความเสี่ยงที่ได้
จากการวิเคราะห์ในข้อ 2
สำนักวิชาการนำปัจจัยความเสี่ยงที่ได้มาประเมินโอกาส
และผลกระทบของความเสี่ยงเพื่อหาผลลัพธ์ และนำมา
จัดอันดับความเสี่ยง ซึ่งปัจจัยความเสี่ยงที่มีอันดับที่ 1
คือ ระบบการเรียนการสอน
- หลักสูตรยังไม่เป็นไปตามเกณฑ์ของ สกอ.
สว.7.4-3(1) แผนบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน
สำนักวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553
บสน.1
สว.7.4-3(2) บันทึกที่ ศธ 0522.05(01)/90 ลงวันที่ 22 มกราคม
2553 เรื่อง ส่งแผนบริหารความเสี่ยงและ
ควบคุมภายในของสำนักวิชาการ ประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. 2553
4.
มีการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงที่มีระดับ
ความเสี่ยงสูง และดำเนินการตามแผน
สำนักวิชาการดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยงฯ
ซึ่งปัจจัยความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้มีการกำหนดมาตรการ/
กิจกรรม เพื่อควบคุมความเสี่ยงให้ลดลงหรือหมดไป
เมื่อนำปัจจัยความเสี่ยงมาจัดอันดับแล้ว จะดำเนินการ
ความเสี่ยง อันดับที่ 1 ก่อน เพราะเป็นปัจจัยความเสี่ยง
ที่มีอันดับสูง จึงต้องเร่งดำเนินการด่วน
  นอกจากนั้น สำนักวิชาการมีการจัดวางระบบ
ควบคุมภายใน ประจำปีงบประมาณ 2553 เพื่อควบคุม
ความเสี่ยงที่มีอันดับสูง จากการวิเคราะห์และจัดอันดับ
ความเสี่ยงดังกล่าว ในแผนบริหารความเสี่ยงฯ บสน.1
ซึ่งในปีงบประมาณ 2553 สำนักวิชาการมีการจัดวาง
ระบบควบคุมภายในที่ดี 2 ระบบ คือ
1.
ระบบการควบคุมภายในที่ดีของระบบการผลิต/
ปรับปรุงหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับ
อุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 (TQF) ของ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
2.
ระบบการควบคุมภายในที่ดีของระบบการผลิต/
ปรับปรุงชุดวิชา สำนักวิชาการได้ดำเนินการ
ตามกระบวนการของการจัดวางระบบควบคุม
ภายในที่ดีภายใต้มาตรฐานของ Committee
of Sponsoring Organization of the Tread
way Commission : COSO ดังนี้
 
1
สภาวะแวดล้อมการควบคุม
 
2
การประเมินความเสี่ยง
 
3
กิจกรรมเพื่อการควบคุม
 
4
ข้อมูลสารสนเทศและการติดต่อสื่อสาร
 
5
การติดตามผล
สว.7.4-4(1) แผนบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน
สำนักวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553
บสน.1
สว.7.4-4(2) แบบรายงานการปฏิบัติการตามแผนบริหารความเสี่ยง
และการควบคุมภายใน ระดับส่วนงานย่อย ประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. 2553 แบบ บสน.2
สว.7.4-4(3) ระบบการควบคุม ภายในที่ดีของระบบการผลิต/ปรับปรุง
หลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
แห่งชาติ พ.ศ. 2552 (TQF) ของมหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช
สว.7.4-4(4) ระบบการควบคุมภายในที่ดีของระบบการผลิต/
ปรับปรุงชุดวิชา
5.
มีการติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน
ตามแผนและรายงานต่อผู้บริหารเพื่อพิจารณา
อย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง
สำนักวิชาการมีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
ตามแผนบริหารความเสี่ยงในแบบรายงานการปฏิบัติการ
ตามแผนบริหารความเสี่ยง ระดับหน่วยงาน ประจำปี
งบประมาณ พ.ศ.2553 บสน.2 รอบ 6 เดือน 9 เดือน
และ 12 เดือน และได้รายงานผลการดำเนินงานดังกล่าว
บนระบบ e – Performance ซึ่งเป็นการรายงานผล
การดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. 2553 มิติด้านการพัฒนาองค์กร
ตัวชี้วัดระดับความสำเร็จของการบริหารความเสี่ยง
และการควบคุมภายใน ให้รายงานผลการดำเนินงาน
รอบ 6 เดือน 9 เดือน และ 12 เดือนโดยกำหนดให้
หน่วยงานรายงานผลการดำเนินงานด้วยวาจาต่อ
อธิการบดีและรองอธิการบดีที่กำกับดูแลทราบและ
นำข้อเสนอแนะของผู้บริหารไปปรับปรุง และ
สว.7.4-5(1) แบบรายงานการปฏิบัติการตามแผนบริหารความเสี่ยง
ระดับหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553
บสน.2 รอบ 6 เดือน 9 เดือน และ 12 เดือน
สว.7.4-5(2) http://eservice.stou.ac.th/ สำนักวิชาการ :
รายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรอง ประจำปี
งบประมาณ 2553 รอบ 6 เดือน 9 เดือน และ 12 เดือน
สว.7.4-5(3) รายงานการประชุม คณะกรรมการควบคุมภายในและ
การบริหารความเสี่ยงของสำนักวิชาการ ครั้งที่ 3/2553
วันที่ 17 กันยายน 2553 วาระที่ 4.1 เรื่อง รายงานการ
ปฏิบัติการตามแผนบริหารความเสี่ยงและการควบคุม
ภายใน ระดับส่วนงานย่อย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
2553 (รอบ 12 เดือน)
6.
มีการนำผลการประเมิน และข้อเสนอแนะจาก
ผู้บริหารไปใช้ใน การปรับแผนหรือวิเคราะห์
ความเสี่ยงในรอบปีถัดไป
ฝ่ายวางแผนและพัฒนาระบบงานได้ประสานให้
ทุกหน่วยงานตรวจสอบร่างแผนบริหารความเสี่ยง
และควบคุมภายในประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
2554-2555 ในส่วนที่รับผิดชอบ และให้ปรับแก้ไข
หรือเพิ่มเติมจุดอ่อนของการควบคุม หรือความเสี่ยง
ที่ยังมีอยู่ และ กำหนดมาตรการ/กิจกรรมเพื่อควบคุม
ความเสี่ยงได้ พร้อมทั้งระบุปีที่จะดำเนินการ
(2554-2555) และขอให้หน่วยงานยืนยันร่างแผนบริหาร
ความเสี่ยงและควบคุมภายใน ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ.2554-2555 มายังฝ่ายวางแผนและพัฒนาระบบงาน
เพื่อจะได้นำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมภายใน
และบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
  สำนักวิชาการ มีการนำผลการประเมินและข้อ
เสนอแนะจากผู้บริหารมาปรับใช้ในแผนบริหาร
ความเสี่ยงและควบคุมภายในประจำปี งบประมาณ
พ.ศ. 2554 โดยได้ดำเนินการตามเกณฑ์การให้คะแนน
ของตัวชี้วัดในคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปี
งบประมาณ พ.ศ.2553 ระดับหน่วยงานมิติด้าน
การพัฒนาองค์กร ตัวชี้วัดระดับความสำเร็จของ
การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่ดี ดังนี้
1
=
มีคณะกรรมการของหน่วยงาน
2
=
มีการวิเคราะห์เพื่อกำหนดปัจจัยความเสี่ยง
จัดลำดับความเสี่ยง
3
=
มีแผนบริหารความเสี่ยง (บสน.1 ปี 53)
4
=
มีการดำเนินงานตามแผน (บสน.2 ปี 53)
5
=
มีการสรุปผลการดำเนินงานปี 53 และจัดทำ
แผนปี 54 (บสน.1 ปี 54) ส่งคณะกรรมการ
บริหารความเสียงระดับมหาวิทยาลัย
สว.7.4-6(1) รายงานการประชุมคณะกรรมการควบคุมภายใน
และการบริหารความเสี่ยงของสำนักวิชาการ ครั้งที่
3/2553 วันที่ 17 กันยายน 2553ระเบียบวาระ
ที่ 4.2 การจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงและการ
ควบคุมภายใน ระดับส่วนงานย่อย ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2554 ( บสน. 1 ปี 2554)
สว.7.4-6(2) แผนบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน ประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. 2554 บสน.1
สว.7.4-6(3) บันทึกที่ศธ 0522.05(01)/ 1487 วันที่ 5 ตุลาคม 2553
เรื่อง ส่งรายงานการปฏิบัติงานแผนบริหารความเสี่ยง
และควบคุมภายใน (แบบ บสน. 2) ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2553 รอบ 12 เดือน (กรกฎาคม – กันยายน
2553 ) และแผนบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 - 2555
เกณฑ์การประเมิน (ระดับสาขาวิชา / หน่วยงานสนับสนุน) :
คะแนน 1
คะแนน 2
คะแนน 3
คะแนน 4
คะแนน 5
มีการดำเนินการ
1 ข้อ
มีการดำเนินการ
2 ข้อ
มีการดำเนินการ
3 หรือ 4 ข้อ
มีการดำเนินการ
5 ข้อ
มีการดำเนินการ
6 ข้อ
ผลการประเมิน
ค่าเป้าหมาย
การบรรลุเป้าหมาย
ตัวตั้ง
ตัวหาร
ผลลัพธ์
(% หรือสัดส่วน)
คะแนนการประเมิน
หมายเหตุ
ประเมินตนเอง
5 ข้อ
6 ข้อ
5 คะแนน
คณะกรรมการประเมิน
5 ข้อ
4 คะแนน
ขาดข้อ 3
* การบรรลุเป้าหมาย = บรรลุเป้าหมาย = ไม่บรรลุเป้าหมาย

จุดเด่น
มีการควบคุมและแก้ไขความเสี่ยงตลอดจนการกำกับติดตามการทำงานอย่างต่อเนื่อง
จุดที่ควรพัฒนา
1
ควรให้ความสำคัญและกล่าวถึงการแก้ไขความเสี่ยงทุกปัจจัยเสี่ยงที่ได้จัดลำดับความเสี่ยงที่มีระดับสูงไว้แล้ว
2
กระบวนการวิเคราะห์ การประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยง รวมทั้งการจัดลำดับความเสี่ยง
ยังไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของเกณฑ์การประเมินที่เป็นรูปธรรม
โอกาสในการพัฒนา/ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา
ควรวิเคราะห์ ประเมินโอกาสของความเสี่ยง โดยอาศัยข้อมูลพื้นฐาน อุบัติการณ์ และประเมินผลกระทบ
ของความเสี่ยงจากหลักเกณฑ์ที่กำหนดให้เป็นรูปธรรม ซึ่งจะช่วยให้สามารถจัดลำดับความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ย้อนกลับ