คำถามถามบ่อย

  • การสมัครนักศึกษาใหม่

  • เคยเป็นนักศึกษาของ มสธ แต่ได้หมดสถานภาพไปแล้ว
    หากต้องการศึกษาต่อจะต้องดำเนินการอย่างไร และจะต้องสั่งซื้อวัสดุการศึกษาใหม่หรือไม่

    นักศึกษาจะต้องสมัครเป็นนักศึกษาใหม่  โดยดำเนินการสมัครเข้าเป็นนักศึกษาเช่นเดียวกับผู้สมัครใหม่ทุกประการและจะต้องสั่งซื้อวัสดุการศึกษาใหม่ แม้ว่าชุดวิชานั้นนักศึกษาจะเคยลงทะเบียนเรียนมาแล้วในสถานภาพนักศึกษาก่อน ๆ ก็ตาม

  • มีความสนใจจะสมัครเป็นนักศึกษา มสธ แต่หลักฐานการศึกษาสูญหายจะต้องดำเนินการอย่างไร

    สามารถดำเนินการได้ดังนี้
    1. ให้ติดต่อสถานศึกษาเดิมเพื่อให้ออกหลักฐานการสำเร็จการศึกษาให้ใหม่ หรือ
    2. กรณีที่ไม่สามารถติดต่อสถานการศึกษาเดิมได้  ขอให้ติดต่อขอสำเนาวุฒิการศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการโดยตรง

  • จะสั่งซื้อระเบียบการสมัครเป็นนักศึกษาใหม่ได้ที่ไหน

    ระเบียบการสมัครนักศึกษาใหม่ประจำปีการศึกษา 2567 ผู้สมัครสามารถศึกษารายละเอียดและ DOWNLOAD ได้ฟรีที่เว็บไวต์ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (www.stou.ac.th/main/apply.html) โดยไม่มีค่าใช้จ่าย คลิกได้ที่นี่ 

  • มีวุฒิการศึกษาจากต่างประเทศหากสมัครเข้าศึกษาต่อจะต้องดำเนินการอย่างไร

    ให้นำวุฒิการศึกษาไปเทียบวุฒิการศึกษาที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แล้วส่งใบเทียบวุฒิการศึกษาไปยังมหาวิทยาลัยพร้อมเอกสารการสมัคร

  • กรณีที่สมัครเป็นนักศึกษาแล้วแต่ชำระค่าสมัครและลงทะเบียนไม่ครบจะต้องดำเนินการอย่างไร

    1. เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจพบว่านักศึกษาลงทะเบียนเรียนมากกว่า 1 ชุดวิชาจะตัดชุดวิชาที่นักศึกษาลงทะเบียนออกบางชุดวิชาเพื่อให้พอกับจำนวนเงินที่ส่งมาและแจ้งให้นักศึกษาลงทะเบียนเพิ่มชุดวิชาที่ตัดออกพร้อมชำระเงินเพิ่มเติมให้ครบถ้วน
    2. กรณีนักศึกษาสมัครและลงทะเบียนเรียนเพียง 1 ชุดวิชาจะมีหนังสือแจ้งให้นักศึกษาชำระ  ค่าลงทะเบียนเพิ่มเติมให้ครบถ้วนจึงจะรับเป็นนักศึกษา

  • กรณีที่ยื่นหลักฐานการสมัครเข้าเป็นนักศึกษาตามขั้นตอนแล้วจะทราบได้อย่างไรว่ามหาวิทยาลัยรับขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาแล้วและข้อมูลการสมัครถูกต้อง

    1. มหาวิทยาลัยจะแจ้งผลการขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาใหม่ให้นักศึกษาทราบภายใน 15 วัน  นับตั้งแต่วันที่ได้รับเอกสารการสมัครครบถ้วน สมบูรณ์ และตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครว่าถูกต้องแล้ว
    2. จะจัดส่งใบตอบรับการขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาใหม่ พร้อมบัตรประจำตัวนักศึกษา คู่มือนักศึกษา โครงสร้างและรายละเอียดของหลักสูตรที่ต้องศึกษาให้ทางไปรษณีย์ สำหรับวัสดุการศึกษาจะทยอยจัดส่งให้ภายหลังต่อไป
    3. ตรวจสอบข้อมูลการขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาใหม่ได้ที่เว็บไซต์ มสธ www.stou.ac.th  หัวข้อ  หัวข้อบริการนักศึกษา  เลือกนักศึกษาปริญญาตรี หัวข้อระบบสารสนเทศงานทะเบียนนักศึกษาและงานบริการการศึกษา  คลิกที่ สอบถามการสมัครเป็นนักศึกษา/ผู้เรียน
      หมายเหตุ หากข้อมูลที่นักศึกษาได้รับไม่ตรงกับข้อมูลที่นักศึกษาแจ้งไว้ในใบสมัคร  ขอให้นักศึกษาแจ้งแก้ไขข้อมูลไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลทันที

  • กรณีที่ได้รับเอกสารการสอนแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการตอบรับและบัตรประจำตัวนักศึกษาจะต้องดำเนินการอย่างไร

    นักศึกษาสามารถตรวจสอบการตอบรับการขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาและการจัดส่งบัตรประจำตัวนักศึกษาได้จาก website ของมหาวิทยาลัย หรือแจ้งไปยังสำนักทะเบียนและวัดผล  เพื่อทำการตรวจสอบ

  • เป็นผู้ต้องขังจะสมัครเป็นนักศึกษา มสธ จะต้องดำเนินการอย่างไร

    1. ผู้สมัครจะต้องขออนุญาตจากกรมราชทัณฑ์
    2. ส่งใบอนุญาตจากกรมราชทัณฑ์ และแบบกรอกข้อมูลสำหรับผู้สมัครทีเป็นผู้ต้องขังไปพร้อมกับเอกสารการสมัครตามขั้นตอนการสมัครเช่นเดียวกับผู้สมัครใหม่โดยทั่วไป

  • มีความสนใจจะศึกษาต่อ แต่อาศัยอยู่ในต่างประเทศจะสมัครเข้าศึกษาได้หรือไม่

    มหาวิทยาลัยได้จัดการศึกษาสำหรับนักศึกษาต่างประเทศไว้  2  รูปแบบคือ

    รูปแบบที่ 1 ดำเนินการรับสมัคร รับลงทะเบียนเรียน และจัดสอบ สำหรับคนไทยในต่างประเทศ เฉพาะประเทศสิงคโปร์ บรูไน มาเลเซีย เมืองฮ่องกง ไต้หวัน ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ค่าลงทะเบียนเรียนเก็บในอัตราเหมาจ่าย (รวมค่าธรรมเนียมแรกเข้า ค่าบำรุงการศึกษา ค่าบัตรประจำตัวนักศึกษา และค่าใช้จ่ายในการจัดสอบ)

    ค่าลงทะเบียนเรียนครั้งแรก ที่สมัครเป็นนักศึกษาใหม่ ค่าลงทะเบียนเรียน ภาคการศึกษาต่อไป ค่าลงทะเบียนสอบซ่อมต่อครั้ง
    1 ชุดวิชา 5,600 บาท 1 ชุดวิชา 5,000 บาท 1,500 บาท
    2 ชุดวิชา 6,600 บาท
    2 ชุดวิชา 6,000 บาท  
    3 ชุดวิชา 7,600 บาท 3 ชุดวิชา 7,000 บาท  

     โดยนักศึกษาสามารถชำระค่าลงทะเบียนเรียนผ่านศูนย์บริการการศึกษาของ มสธ. ในต่างประเทศ ได้แก่

    - สำนักงานแรงงานไทยในประเทศสิงคโปร์                           ประเทศสิงคโปร์  
    - สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน             ประเทศบรูไน
    - สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์                    ประเทศมาเลเซีย
    - สำนักงานแรงงานไทย ณ เมืองฮ่องกง                               ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
    - สำนักงานแรงงานไทย ณ กรุงมะนิลา (ส่วนที่ 2) กรุงไทเป        ประเทศไต้หวัน
    - สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ  กรุงริยาด                             ประเทศซาอุดิอาระเบีย
    - สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองดูไบ                                         ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

    รูปแบบที่ 2 จัดสอบอย่างเดียว สำหรับคนไทยในต่างประเทศ นอกเหนือ รูปแบบที่ 1

    1. ผู้สมัครสามารถสมัครโดยใช้ที่อยู่ในประเทศไทย ชำระค่าลงทะเบียนเรียนในอัตราเดียวกับผู้สมัครในประเทศ มหาวิทยาลัยจะจัดส่งเอกสารการสอนและเอกสารอื่น ๆ ให้ตามที่อยู่ในประเทศไทย ผู้สมัครต้องมีญาติหรือบุคคลที่คอยรับ และจัดส่งเอกสารต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยส่งให้เพื่อส่งต่อให้กับผู้สมัคร ทั้งนี้ผู้สมัครต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดส่งเอกสารเอง
    2. ชำระค่าจัดสอบอัตราเหมาจ่ายจำนวน 6,500 บาท ต่อการจัดสอบแต่ละครั้ง โดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขานนทบุรี บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 140-0-96697-2 ชื่อบัญชี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พร้อมส่งสำเนาใบโอนเงิน ก่อนการสอบ 45 วัน ไปยัง ฝ่ายจัดสอบ สำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 หรือแจ้งการโอนเงินทาง e-mail address  : ev.reoffice@stou.ac.th  หรือแจ้งทางโทรสารหมายเลข 0 2503 2742 ภายในวันที่ชำระเงินหรือวันรุ่งขึ้น ทั้งนี้ค่าธรรมเนียมการโอนเงินให้อยู่ในความรับผิดชอบของผู้สมัคร
    3. มหาวิทยาลัยจะจัดสอบให้ ณ สถานกงสุลไทย / สถานทูตไทยประจำประเทศนั้น ๆ ที่มีความพร้อมที่จะจัดสอบให้ได้ หากมีข้อขัดข้องใด ๆเกี่ยวกับสถานที่สอบ มหาวิทยาลัยจะแจ้งให้นักศึกษาทราบและจะคืนเงินค่าธรรมเนียมในการจัดสอบให้นักศึกษา หรือหากมีค่าใช้จ่ายอื่นเพิ่มเติมมหาวิทยาลัยจะแจ้งให้นักศึกษาทราบก่อนการสอบ

  • มหาวิทยาลัยเปิดรับนักศึกษาใหมในแต่ละปี/ภาคการศึกษา มีรอบใดบ้าง

    มหาวิทยาลัยเปิดรับนักศึกษาใหม่ปีการศึกษาละ 2 ครั้ง ดังนี้

    ภาคต้น แบ่งเป็น 2 ช่วง     ช่วงที่ 1 ตั้งแต่ 1 เมษายน ถึง 20 มิถุนายน ของทุกปี
      ช่วงที่ 2 ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม ถึง 1 กันยายน  ของทุกปี
    ภาคปลาย                          ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน ถึง 16 กุมภาพันธ์      ของทุกปี

  • สมัครเรียนออนไลน์ ต้องใช้เอกสารประกอบการสมัครอะไรบ้าง

    การสมัครเรียนออนไลน์ ผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต ผู้สมัครจะต้องจัดเตรียมเอกสารประกอบการสมัครในลักษณะไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้

    1.รูปถ่ายสีขนาด 2 นิ้ว หน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดำ แต่งกายสุภาพ (ไม่สวมเสื้อยืดคอกลม) ฉากหลังของภาพเป็นสีพื้นเท่านั้น แนบเป็นไฟล์ .JPG

    2.สำเนาวุฒิการศึกษาฉบับที่ระบุหลักสูตรที่จบการศึกษาและวันจบการศึกษา เช่นใบรับรองสำเร็จการศึกษา หรือใบประกาศนียบัตร หรือใบปริญญาบัตร หรือใบรายงานผลการศึกษา (TRANSCRIPT)

    3.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้าน อย่างใดอย่างหนึ่ง

    4.สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ ชื่อ ชื่อสกุล เช่นใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อ-สกุล ใบแต่งตั้งยศ ใบสำคัญการสมรส เป็นต้น

    หมายเหตุ  เอกสารประกอบการสมัครในข้อที่ 2-4 ต้องรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ และจัดทำในรูปแบบไฟล์ .PDF

  • สมัครเรียนออนไลน์ สามารถเข้าได้ที่เว็บไซต์ใดบ้าง

    1. สมัครได้ที่เว็บไซต์ มสธ. www.stou.ac.th  เลือกคลิกที่หัวข้อสมัครเรียนกับมสธ. เลือกคลิกที่หัวข้อระดับปริญญาตรี  และเลือกคลิกที่หัวข้อสมัครเรียนออนไลน์

    2. สมัครได้ที่เว็บไซต์ https://apply.stou.ac.th/course-information/  เลือกคลิกที่หัวข้อสมัครเรียนออนไลน์

  • ขอทราบรายละเอียดผู้ที่จะสมัครเข้าเป็นนักศึกษาใหม่ต้องชำระค่าธรรมเนียมพร้อมกับการสมัคร ประกอบด้วยอะไรบ้าง

    1.ค่าธรรมเนียมการสมัคร จำนวนเงิน 1,400 บาท ประกอบด้วย

    1.1 ค่าธรรมเนียมแรกเข้า  800 บาท  (ผู้สมัครที่มีอายุครบ 60 ปี ขึ้นไป นับถึงวันเปิดภาคการศึกษาที่สมัคร จะได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมแรกเข้า)

    1.2 ค่าบำรุงการศึกษา 500 บาท

    1.3 ค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนแปลงทะเบียนประวัตินักศึกษา 100 บาท

    2.ค่าชุดวิชาสำหรับนักศึกษาใหม่ในแต่ละชุดวิชาจะมีอัตราเรียกเก็บแตกต่างกัน โปรดอ่านรายละเอียดได้ที่ระเบียบการสมัครเป็นนักศึกษาใหม่และลงทะเบียนเรียนภาคต้นและภาคปลายของปีการศึกษานั้นๆ

  • ชำระค่าธรรมเนียมการสมัครนักศึกษาใหม่ที่ใดบ้าง

    1.ระบบ Pay At Post ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทุกสาขา

    2. จุดบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส ที่ร้าน 7-ELEVEN ทุกสาขา

    3.ศูนย์วิทยบริการและชุมชนสัมพันธ์ มสธ.10 แห่ง จังหวัดลำปาง  สุโขทัย  อุดรธานี  อุบลราชธานี  นครสวรรค์  จันทบุรี  เพชรบุรี  นครนายก  นครศรีธรรมราช  และยะลา

    4. ศูนย์บริการร่วมแบบครบวงจร ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จ.นนทบุรี

  • สามารถจัดส่งใบสมัครและขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา (มสธ.1) พร้อมเอกสารการสมัครนักศึกษาใหม่ได้ที่ใด

    สามารถนำใบสมัครและขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา (มสธ.1) เอกสารการสมัคร และสำเนาหลักฐานการชำระเงินค่าสมัคร บรรจุลงในซอง ฝากส่ง ณ ที่ทำการไปรษณีย์ หรือบริษัทขนส่งพัสดุ  โดยจ่าหน้าซองดังนี้

    ฝ่ายรับนักศึกษา สำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 9/9 หมู่ 9 ถนนแจ้งวัฒนะ  ต.บางพูด  อ.ปากเกร็ด  จ.นนทุบรี  11120  (วงเล็บมุมซอง สมัครนักศึกษาใหม่)

  • การเทียบผลการศึกษา

  • การเทียบผลการศึกษาคืออะไร

    การเทียบงานรายวิชา หรือกลุ่มรายวิชาของผู้ศึกษาจากการศึกษาในระบบ หรือการเทียบผลการเรียนรู้ของผู้ศึกษาจากการศึกษานอกระบบ เข้าสู่ชุดวิชาในหลักสูตรระดับปริญญาตรี หรือหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัย  ทั้งนี้การจะเทียบผลการศึกษาได้กับชุดวิชาใดนั้นให้อยู่ในดุลพินิจของสาขาวิชาที่จะพิจารณาเทียบให้

  • นักศึกษาสามารถยื่นคำร้องขอเทียบผลการศึกษาได้เมื่อใด

    นักศึกษาที่ประสงค์ขอเทียบผลการศึกษา สามารถยื่นคำร้องขอเทียบผลการศึกษาได้ตั้งแต่ภาคการศึกษาแรกที่สมัครเข้าศึกษาเป็นต้นไป และสามารถขอเทียบผลการศึกษาได้มากกว่า 1 ครั้ง

  • การขอเทียบผลการศึกษาจะต้องดำเนินการอย่างไร

    1. กรอกรายละเอียดลงในคำร้องการขอเทียบผลการศึกษา ( มสธ 18 )  หรือถ่ายสำเนาแบบฟอร์มคำร้องจากคู่มือนักศึกษา  หรือ  ดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ มสธ.  http://www.stou.ac.th/Offices/ore/Adre/Form/default.asp  ส่งไปสำนักทะเบียนและวัดผลพร้อมกับรับรองสำเนาถูกต้องลงในใบรายงานผลการศึกษาของสถาบันเดิม 3 ฉบับ และสำเนาเอกสารอื่นๆ ถ้ามี
    2. ชำระค่าธรรมเนียมการยื่นคำร้องการเทียบผลการศึกษา จำนวนเงิน  300 บาท

  • ผู้ที่มีสิทธิขอเทียบผลการศึกษาต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

    • เป็นผู้มีสถานภาพเป็นนักศึกษาของ มสธ
    • เป็นผู้ศึกษาอยู่ในหลักสูตรปริญญาตรี

  • นักศึกษาสามารถขอเทียบผลการศึกษาได้กี่ชุดวิชา

    มหาวิทยาลัยจะพิจารณาเทียบผลการศึกษาได้ไม่เกินสามในสี่ของชุดวิชาตามหลักสูตรที่ขอเทียบ  และเมื่อเทียบผลการศึกษาเข้าสู่ชุดวิชาในหลักสูตรระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยแล้ว นักศึกษาต้องมีระยะเวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีการศึกษา

  • การเทียบผลการศึกษามีสิทธิได้รับปริญญาเกียรตินิยมหรือไม่

    นักศึกษาทีได้รับอนุมัติเทียบผลการศึกษา หรือ เทียบประสบการณ์แล้ว จะไม่มีสิทธิได้รับปริญญาเกียรตินิยม

  • รายวิชา หรือ กลุ่มรายวิชาของผู้ศึกษาจากการศึกษาในระบบที่จะนำมาขอเทียบผลการศึกษาเข้าสู่ชุดวิชาในหลักสูตรระดับปริญญาตรีได้ ต้องมีลักษณะอย่างไร

    1.เป็นรายวิชา หรือกลุ่มมรายวิชาในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยรับรอง

    2.เนื้อหาของรายวิชา หรือกลุ่มมรายวิชานั้นต้องมีเนื้อหาสาระครอบคลุม หรือตรงกับเนื้อหาของชุดวิชาในหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่นักศึกษาผู้นั้นเข้าศึกษาไม่น้อยกว่าสามในสี่ของชุดวิชาที่ขอเทียบผลการศึกษาของรายวิชาหรือกลุ่มมรายวิชานั้น

    3.รายวิชา หรือกลุ่มรายวิชานั้นต้องได้ลำดับขั้นไม่ต่ำกว่าระดับคะแนนตัวอักษร C หรือมีแต้มไม่ต่ำกว่าระดับคะแนน 2.00 หรือเทียบเท่า และจำนวนหน่วยกิตของแต่ละรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่นำมาขอเทียบผลการศึกษานั้น เมื่อรวมกันแล้วต้องได้เท่ากับหรือมากกว่า 6 หน่วยกิตขึ้นไป

  • การเปลี่ยนแปลงข้อมูล (ขอเปลี่ยนที่อยู่/คำนำหน้า/ชื่อ/สกุล)

  • การเปลี่ยนที่อยู่ต้องดำเนินการอย่างไร

    1. ให้นักศึกษาขอคำร้องขอเปลี่ยนที่อยู่  (มสธ  7)  ไปยังสำนักทะเบียนและวัดผล  หรือคัดลอกสำเนาคำร้องจากคู่มือนักศึกษา  หรือ  website  http://www.stou.ac.th/Offices/ore/Adre/Form/เมื่อได้รับใบคำร้องขอเปลี่ยนที่อยู่ (มสธ 7) แล้วให้กรอกรายละเอียดให้เรียบร้อยแล้วจัดส่งไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลพร้อมชำระค่าธรรมเนียม 100 บาท หรือ
    2. ยื่นคำร้องขอเปลี่ยนที่อยู่ทางอินเทอร์เน็ต (ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่)
    3. เมื่อสำนักทะเบียนและวัดผลดำเนินการเปลี่ยนที่อยู่ให้เรียบร้อยแล้ว จะจัดส่งใบตอบอนุมัติการเปลี่ยนที่อยู่ให้นักศึกษาทราบ ในระหว่างที่รอการตอบอนุมัติให้นักศึกษาตรวจสอบเอกสารต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยส่งไปให้ตามที่อยู่เดิมด้วย

    หมายเหตุ -นักศึกษาที่ชำระค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนแปลงทะเบียนประวัตินักศึกษาตั้งแต่แรกเข้าศึกษา จำนวน 100 บาทแล้วไม่ต้องชำระค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนที่อยู่              -นักศึกษาจะต้องกรอกในส่วนข้อมูลสำหรับให้มหาวิทยาลัยใช้ในการจัดสนามสอบด้วยทุกครั้ง มิฉะนั้น จะถือว่านักศึกษายืนยันให้ใช้สถานที่ในการจัดสนามสอบตามข้อมูลที่กรอกไว้ในใบสมัคร

  • ที่อยู่ที่ใช้ติดต่อกับมหาวิทยาลัยไม่สะดวกอยู่นอกเขตไปรษณีย์นำจ่ายจะต้องดำเนินการอย่างไร

    1. ให้ใช้วิธีฝากส่งต่อ  โดยแจ้งที่อยู่ของญาติ  หรือเพื่อน  เพื่อรับเอกสารแทนนักศึกษาแล้วส่งต่อให้นักศึกษาอีกต่อหนึ่ง
    2. ใช้วิธีพักไว้ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ โดยทำการตกลงกับนายไปรษณีย์ ให้พักเอกสารที่มีถึงนักศึกษาไว้ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ก่อน แล้วนักศึกษาจะไปรับจากที่ทำการไปรษณีย์ภายหลังด้วยตนเอง
    3. ติดต่อเช่าตู้ไปรษณีย์ จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย

  • เป็นนักศึกษากรุงเทพมหานครแต่วันสอบประจำภาคมีความจำเป็นต้องไปทำธุระต่างจังหวัดจะขอสอบที่ต่างจังหวัดได้หรือไม่

    นักศึกษาสามารถยื่นคำร้องขอเปลี่ยนสนามสอบเป็นการชั่วคราวไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลได้ก่อนการสอบภาคการศึกษานั้น ๆไม่น้อยกว่า 45 วัน

  • การขอทำบัตรประจำตัวนักศึกษา ในกรณีที่บัตรสูญหายจะต้องดำเนินการอย่างไร

    1. ให้แจ้งมหาวิทยาลัยเพื่อขอคำร้อง ขอทำบัตรประจำตัวนักศึกษา โดยระบุ “บัตรประจำตัวหาย”ไปยังสำนักทะเบียนและวัดผล หรือ download แบบฟอร์มได้จาก website ของมหาวิทยาลัย http://www.stou.ac.th/Offices/ore/Adre/Form/เมื่อได้รับคำร้องแล้วให้กรอกรายละเอียดให้ถูกต้องและชัดเจน
    2. ส่งคำร้องพร้อมสำเนาใบแจ้งความ รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 2 รูปและค่าธรรมเนียม 100 บาท  ไปยังสำนักทะเบียนและวัดผล

  • การขอทำบัตรประจำตัวนักศึกษาในกรณีที่บัตรหมดอายุ/บัตรชำรุดมีขั้นตอนอย่างไร

    1. ให้แจ้งมหาวิทยาลัยเพื่อขอคำร้องขอทำบัตรประจำตัวนักศึกษาโดยระบุว่า”บัตรหมดอายุ” หรือ ”บัตรชำรุด” แล้วแต่กรณี ไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลหรือ download แบบฟอร์มได้จาก website ของมหาวิทยาลัย
    2. เมื่อได้รับคำร้องแล้วให้กรอกรายละเอียดให้ถูกต้องและชัดเจน
    3. ส่งคำร้องพร้อมบัตรประจำตัวนักศึกษาที่หมดอายุหรือบัตรชำรุด รูปถ่ายแต่งกายสุภาพ ขนาด 1 นิ้ว 2 รูป และค่าธรรมเนียม 100 บาท ไปยังสำนักทะเบียนและวัดผล

  • การขอเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ ชื่อ และชื่อสกุล มีขั้นตอนอย่างไร

    1. ให้ยื่นคำร้องเพื่อขอคำร้องขอเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ ชื่อ และชื่อสกุล ไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลหรือ download แบบฟอร์มได้จาก website ของมหาวิทยาลัย
    2. เมื่อได้รับคำร้องแล้วให้กรอกรายละเอียดให้ถูกต้องและชัดเจน
    3. ส่งคำร้อง มสธ 8 สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ  ชื่อ  ชื่อสกุล  และค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ - ชื่อ – ชื่อสกุล จำนวน 100 บาท  ไปยังสำนักทะเบียนและวัดผล
    4. ภายหลังจากที่มหาวิทยาลัยอนุมัติการเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ  ชื่อ  และชื่อสกุลแล้ว  จะจัดส่งหนังสือตอบรับการอนุมัติให้นักศึกษาพร้อมกับเอกสารขอทำบัตรประจำตัวนักศึกษาใหม่
    5. นักศึกษาที่สมัครเข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา  2545  เป็นต้นไป  กรณีที่เปลี่ยนคำนำหน้าชื่อเช่น  ยศ  หรือตำแหน่ง ไม่ต้องขอทำบัตรประจำตัวนักศึกษาใหม่
    6. หมายเหตุ นักศึกษาที่ชำระค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนแปลงทะเบียนประวัตินักศึกษา จำนวน 100 บาทแล้วไม้ต้องชำระค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ  ชื่อ  ชื่อสกุล 

  • ยื่นคำร้องขอทำบัตรประจำตัวนักศึกษาใหม่แล้วแต่ยังไม่รับบัตร เมื่อถึงกำหนดการสอบแล้วจะต้องดำเนินการอย่างไร

    ให้นักศึกษาเตรียมรูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป ไปติดต่อกองอำนวยการสอบ ณ สถานที่สอบ เพื่อทำบัตรเข้าห้องสอบ โดยใช้ควบคู่กับบัตรประจำตัวประชาชน

  • นักศึกษาต้องยื่นคำร้องขอทำบัตรประจำตัวนักศึกษาในกรณีใดบ้าง

    1.บัตรประจำตัวนักศึกษาสูญหาย

    2.บัตรประจำตัวนักศึกษาชำรุด

    3.เปลี่ยนยศ คำนำหน้าชื่อ ชื่อ ชื่อสกุล

    4.บัตรประจำตัวนักศึกษาหมดอายุ

    5.ย้ายสาขาวิชา

  • การสอบ ณ สนามสอบ

  • มสธ จะจัดสอบให้นักศึกษาที่ใดและจะทราบสนามสอบได้อย่างไร

    1. มหาวิทยาลัยจะจัดสอบให้นักศึกษาตามจังหวัดที่นักศึกษาแจ้งที่อยู่ไว้กับมหาวิทยาลัยและจะจัดส่งใบแจ้งกำหนดการสอบให้นักศึกษาทุกคนก่อนกำหนดการสอบประมาณ  10 - 25 วัน
    2. หากไม่ได้รับใบแจ้งกำหนดการสอบ นักศึกษาสามารถตรวจสอบข้อมูลการสอบได้ที่เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย  www.stou.ac.th  ตรวจสอบผ่านทาง E-mail address: re.reoffice@stou.ac.th  ผ่านทางเฟซบุ๊ก โดยเข้ากล่องข้อความถามไพฑูรย์  https://www.facebook.com/askpaitoon/

  • ขอทราบหลักฐานที่ใช้ในการเข้าสอบ

    การแสดงตนในการเข้าสอบให้นักศึกษานำบัตรประจำตัวนักศึกษา หรือ แอปพลิเคชันของมสธ. STOU SISA  โดยปรากฏรูปถ่าย เลขประจำตัวนักศึกษาและเลขบัตรประจำตัวประชาชน  หรือบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยปรากฏรูปถ่ายและเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก  หากไม่มีบัตรประจำตัวอย่างใดอย่างหนึ่ง

    1. กรณีสอบ ณ สนามสอบโรงเรียน เจ้าหน้าที่กองกลางหรือผู้ประสานงานการสอบ จะถ่ายรูปนักศึกษาและอัปโหลดรูปถ่ายของนักศึกษาไว้ในโปรแกรมของมหาวิทยาลัย พร้อมออกเอกสารบัตรเข้าสอบชั่วคราว (บัตรสีเขียว) ให้ต่อไป

    2. กรณีสอบออนไลน์ นักศึกษาต้องยื่นคำร้องทำบัตรเข้าสอบออนไลน์ชั่วคราว (บัตรสีเหลือง) พร้อมแนบรูปตนเองที่เว็บไซต์มสธ. 

  • จะทราบได้อย่างไรว่าชุดวิชาไหนข้อสอบมีลักษณะเป็นปรนัยหรืออัตนัย หรือว่าทุกชุดวิชาจะมีทั้งปรนัยและอัตนัย

    ลักษณะของข้อสอบโดยทั่วไปจะเป็นแบบปรนัย แต่จะมีบางชุดวิชาจะมีลักษณะเป็นอัตนัยด้วยซึ่งมหาวิทยาลัยจะแจ้งลักษณะของข้อสอบของแต่ละภาคการศึกษาให้นักศึกษาทราบในข่าว มสธ.ก่อนการสอบภาคการศึกษานั้น ๆ หรือสามารถตรวจสอบได้จาก website ของมหาวิทยาลัย ที่ www.stou.ac.th

  • ลงทะเบียนเรียนชุดวิชา 10151 ไทยศึกษาไว้แต่ไม่ได้เข้าสอบไล่และไม่ได้ลงทะเบียนสอบซ่อม แต่ทำไมได้รับใบแจ้งกำหนดการสอบซ่อมชุดวิชาดังกล่าว และหากเข้าสอบซ่อมจะมีปัญหาหรือไม่

    1. มหาวิทยาลัยจัดเตรียมข้อมูลการสอบซ่อมจากรายชื่อผู้ที่สอบไล่ไม่ผ่าน หรือไม่ได้เข้าสอบในภาคการศึกษานั้น ๆ และมีสถานภาพเป็นนักศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาปัจจุบัน (ลงทะเบียนเรียนหรือลาพักการศึกษาตามระยะเวลาที่กำหนด) ดังนั้นนักศึกษาอาจจะมีรายชื่อในบัญชีผู้มีสิทธิเข้าสอบซ่อมด้วยถึงแม้ว่าท่านไม่ได้ลงทะเบียนสอบซ่อมก็ตาม แต่ผู้ที่มีสิทธิเข้าสอบซ่อมจะต้องเป็นผู้ที่ลงทะเบียนสอบซ่อม ในภาคการศึกษาดังกล่าวเท่านั้น
    2. หากนักศึกษาเข้าสอบซ่อมโดยที่ท่านไม่ได้ลงทะเบียนสอบซ่อมไว้ มหาวิทยาลัยจะไม่แจ้งผลการสอบให้ทราบ และจะต้องนำชุดวิชานั้นไปลงทะเบียนเรียนใหม่ในภาคการศึกษาต่อไปที่เปิดสอน

  • การขอเปลี่ยนสนามสอบต้องดำเนินการอย่างไร

    1. ในกรณีที่นักศึกษามีความจำเป็นต้องไปราชการต่างจังหวัด หรือไปธุระต่างจังหวัดใน ช่วงสอบ  ให้นักศึกษายื่นคำร้องขอเปลี่ยนสนามสอบก่อนสอบ 45 วันเพื่อมหาวิทยาลัยจะได้จัดเตรียมข้อสอบให้นักศึกษา โดยให้ยื่นคำร้องขอเปลี่ยนสนามสอบ มสธ 27 ซึ่งคัดลอกสำเนาคำร้องจากคู่มือนักศึกษา  หรือ  website  http://www.stou.ac.th/Offices/ore/Adre/Form/
    2. ถ้านักศึกษาต้องเดินทางอย่างกระทันหันให้นักศึกษายื่นคำร้องขอเข้าห้องสอบสำรองที่ สนามสอบที่นักศึกษาไปราชการ หรือไปธุระเมื่อได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการสนามสอบ จึงจะเข้าสอบได้

  • กรณีที่หมดเขตการเปลี่ยนสนามสอบแล้ว แต่มีความจำเป็นต้องไปจังหวัดอื่นอย่างกะทันหันจะต้อง ดำเนินการอย่างไร

    กรณีนี้ให้นักศึกษาไปติดต่อที่กองกลางประจำสนามสอบในจังหวัดที่นักศึกษาไปธุระหรือมีราชการเพื่อขอเข้าสอบห้องสอบสำรอง โดยนักศึกษาจะต้องเตรียมบัตรประจำตัวนักศึกษา บัตรประจำตัวประชาชน และใบเสร็จรับเงินค่าลงทะเบียนหรือใบแจ้งสนามสอบ ไปแสดงประกอบการพิจารณาด้วย

  • กรณีที่ได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนสนามสอบชั่วคราวแล้ว แต่เมื่อถึงกำหนดการสอบไม่มีความจำเป็นต้องไปสอบที่สนามสอบชั่วคราวแล้ว จะต้องดำเนินการอย่างไร

     กรณีนี้นักศึกษาจะต้องไปติดต่อขอเข้าสอบห้องสอบสำรองที่สนามสอบเดิม และเตรียมหลักฐานเพื่อขอเข้าสอบห้องสอบสำรองคือ บัตรประจำตัวนักศึกษา บัตรประจำตัวประชาชน และใบเสร็จรับเงินค่าลงทะเบียนหรือใบแจ้งสนามสอบไปแสดงประกอบการพิจารณาด้วย

  • ที่อยู่ที่แจ้งไว้กับมหาวิทยาลัยเป็นอำเภอเมือง จังหวัดน่าน แต่การคมนาคมสะดวกที่จะไปสอบที่โรงเรียนปัว อำเภอปัว จะขอเปลี่ยนสนามสอบเป็นการถาวร โดยให้จัดส่งเอกสารต่าง ๆ ตามที่อยู่เดิมได้หรือไม่

    กรณีดังกล่าวนักศึกษาสามารถยื่นคำร้องขอเปลี่ยนสนามสอบเป็นการถาวรพร้อมชี้แจงเหตุผลความจำเป็นไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลเพื่อพิจารณาได้

  • แจ้งที่อยู่ไว้ในเขตบางกอกน้อย แต่สะดวกที่จะไปสอบในเขตภาษีเจริญเนื่องจากใกล้ที่ทำงาน

    กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล  มหาวิทยาลัยจะจัดสนามสอบตามเขตไปรษณีย์ที่อยู่ของนักศึกษาที่แจ้งไว้กับมหาวิทยาลัย โดยพยายามจัดสนามสอบให้กระจายทั่วไปทุกเขตไปรษณีย์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษาและผู้เรียน ซึ่งสนามสอบแต่ละแห่งมีข้อจำกัดในเรื่องของอาคารสถานที่ และบุคลากรในการดำเนินการสอบ แต่มหาวิทยาลัยได้พยายามจัดให้เหมาะสมหรือใกล้เคียงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อย่างไรก็ตามหากนักศึกษามึความจำเป็นที่จะขอเปลี่ยนสนามสอบ ขอให้ยื่นคำร้องพร้อมชี้แจงเหตุผลความจำเป็นไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลเพื่อพิจารณาต่อไป

  • กรณีที่ลงทะเบียนเรียนแล้วแต่ไม่มีรายชื่อที่สนามสอบ

    ให้นักศึกษาติดต่อที่กองกลางสนามสอบเพื่อตรวจสอบรายชื่อผู้เข้าสอบจากบัญชีผู้เข้าสอบอีกครั้ง(ถ้าไม่พบอาจจะต้องตรวจสอบข้อมูลการลงทะเบียน หรือตรวจสอบสถานภาพนักศึกษาเพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติให้เข้าสอบห้องสอบสำรอง)

  • มีความจำเป็นไม่สามารถเข้าสอบได้จึงขอเปลี่ยนแปลงวัน และเวลาสอบ หรือขอเลื่อนการสอบได้หรือไม่

    เนื่องจาก มสธ จัดสอบพร้อมกันทั่วประเทศจึงไม่มีนโยบายให้นักศึกษาขอเปลี่ยนแปลงวัน และเวลาสอบ

  • ลงทะเบียนเรียนแล้วเพราะเหตุใดจึงไม่มีรายชื่อในบัญชีผู้มีสิทธิเข้าสอบ

    นักศึกษาอาจจะมีปัญหาในการลงทะเบียนเรียน หรือสาเหตุดังนี้ 
    1.ลงทะเบียนเพิ่มชุดวิชา โดยที่ไม่ได้ลงทะเบียนเรียนไว้ก่อนในกรณีนี้ จะถูกยกเลิกการลงทะเบียนเพิ่มและไม่จัดสอบให้ หรือ

    2.ลงทะเบียนครั้งแรก ของแต่ละชุดวิชาแต่ไม่สั่งซื้อเอกสารการสอนในกรณีนี้จะถูกยกเลิกการลงทะเบียนและไม่จัดสอบในชุดวิชานั้นๆ หรือ

     3.ลงทะเบียนในชุดวิชาที่ไม่มีสิทธิลงทะเบียนหรือยังไม่มีคุณสมบัติในกรณีนี้จะถูกยกเลิกการลงทะเบียนเฉพาะชุดวิชาที่ยังไม่มีคุณสมบัติและไม่จัดสอบในชุดวิชานั้นๆ หรือ

      4. ลงทะเบียนล่าช้า

  • แนวปฏิบัติการเข้าสอบของนักศึกษา

    ตามระเบียบมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ว่าด้วย การสอบไล่ระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2551

    หมวด 3 แนวปฏิบัติการเข้าสอบของนักศึกษา

    1.       นักศึกษา/ผู้เรียนที่จะเข้าสอบต้องเข้าสอบเฉพาะชุดวิชาที่ลงทะเบียนเรียนหรือลงทะเบียนสอบซ่อมแล้วเท่านั้น

    2.       ไม่อนุญาตให้นักศึกษา/ผู้เรียน เข้าสอบ 2 ชุดวิชา ในวันและเวลาสอบเดียวกัน

    3.       ไม่อนุญาตให้นักศึกษา/ผู้เรียนเข้าห้องสอบหลังจากเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนดให้เริ่มทำการสอบไปแล้ว 30 นาที

    4.       นักศึกษา/ผู้เรียนที่จะเข้าสอบต้องมีหลักฐานแสดงตน คือ บัตรประจำตัวนักศึกษา/บัตรประจำตัวผู้เรียนและบัตรประจำตัวประชาชนครบทั้งสองบัตร ถ้าขาดบัตรอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองบัตร ให้เขียนคำร้องขอทำบัตรเข้าสอบ (บัตรสีเหลือง) ณ กองกลางสนามสอบ ก่อนเวลาสอบชุดวิชานั้น โดยนำรูปถ่ายที่เหมือนกัน ขนาด 1 นิ้ว ที่ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 2 รูป (ห้ามใช้รูปถ่ายจากเครื่องถ่ายเอกสาร) มาขอทำบัตรเข้าสอบ และต้องคืนบัตรเข้าสอบ (บัตรสีเหลือง) ณ กองกลางสนามสอบเมื่อเสร็จสิ้นการสอบ

    5.       นักศึกษา/ผู้เรียนที่จะเข้าสอบต้องแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย หากมีเหตุจำเป็นไม่สามารถแต่งกายได้ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ต้องขออนุญาตผู้อำนวยการสนามสอบเพื่อขอเข้าห้องสอบโดยเขียนคำร้องขอเข้าสอบเนื่องจากแต่งกายไม่สุภาพ (บัตรสีฟ้า) เมื่อผู้อำนวยการสนามสอบอนุญาตให้นักศึกษา/ผู้เรียน ถือบัตรแต่งกายไม่สุภาพไปแสดงต่อกรรมการคุมสอบต่อไป

    6.       นักศึกษา/ผู้เรียนที่ไม่มีรายชื่อในบัญชีรายชื่อผู้เข้าสอบทั้งห้องสอบปกติและห้องสอบสำรอง แต่มีหลักฐานในการลงทะเบียนเรียน ลงทะเบียนสอบซ่อม ให้เขียนคำร้องขอเข้าห้องสอบสำรอง (บัตรสีชมพู) เมื่อผู้อำนวยการสนามสอบ อนุญาตให้นักศึกษา/ผู้เรียน ถือบัตรเข้าห้องสอบสำรองไปแสดงต่อกรรมการคุมสอบห้องสอบสำรองต่อไป

    หมายเหตุ  นักศึกษา/ผู้เรียนที่เข้าสอบโดยไม่มีรูปถ่าย ไม่ส่งรูปถ่ายหรือไม่ส่งบัตรเข้าสอบ (บัตรสีเหลือง) คืนให้ผู้ประสานงานการสอบ (ตามข้อที่ 4) มหาวิทยาลัยจะไม่ตรวจกระดาษคำตอบและให้ถือว่านักศึกษาสอบไม่ผ่านในชุดวิชานั้น

  • การเลือกรูปแบบการสอบออนไลน์ กรณีมีสองสถานภาพ คือนักศึกษาระดับปริญญาตรีและผู้เรียนโครงการสัมฤทธิบัตร จะต้องเข้าไปเลือกรูปแบบการสอบออนไลน์ทั้งสองสถานภาพนักศึกษาด้วยหรือไม่

    ไม่ต้องค่ะ เมื่อเลือกรูปแบบการสอบออนไลน์ในสถานภาพใดสถานภาพหนึ่งแล้ว จะถือว่าอีกสถานภาพหนึ่งเป็นการเลือกสอบรูปแบบออนไลน์ด้วยเช่นกัน

  • กรณีแจ้งความประสงค์สอบออนไลน์แล้ว แต่พบปัญหาคอมพิวเตอร์ขัดข้องจะขอเปลี่ยนเป็นการสอบ ณ สนามสอบได้หรือไม่

    แต่ละภาคการศึกษาสามารถเปลี่ยนรูปแบบการสอบออนไลน์ได้ภายในระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด  หากพ้นระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนดแล้วไม่เข้าสอบตามรูปแบบการสอบที่เลือกไว้ จะถือว่าเป็นผู้ขาดสอบ

  • ค่าธรรมเนียมกิจกรรม

  • ค่าธรรมเนียมกิจกรรม

    1.ค่าธรรมเนียมแรกเข้า
      • ผู้ที่สมัครเป็นนักศึกษาใหม่ทุกคนต้องชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้า  800 บาท  ยกเว้นผู้สมัครที่มีอายุ  60  ปีขึ้นไปนับถึงวันที่  1  กรกฎาคม  ของปีการศึกษาที่สมัครเข้าศึกษา  จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมแรกเข้า

    2. ค่าบำรุงการศึกษา

     

    •    ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2559 เป็นต้นไป ทุกรหัสประจำตัวนักศึกษาจะต้องชำระค่าบำรุงการศึกษา ภาคการศึกษาละ 500 บาท   
    • สำหรับนักศึกษาที่มีสถานภาพเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีก่อนปีการศึกษา 2556 หากมีการชำระค่าบำรุงการศึกษาย้อนหลัง สามารถชำระค่าบำรุงการศึกษาภาคการศึกษาละ 300 บาท ได้จนถึงภาคการศึกษาที่ 2/2558  เท่านั้น

     

    3. ค่าชุดวิชา
       • นักศึกษาทุกคนที่ลงทะเบียนเรียน  หรือลงทะเบียนเพิ่มชุดวิชา  ต้องชำระค่าชุดวิชา ชุดวิชาละ  300  บาท

    4. ค่าวัสดุการศึกษา
        • นักศึกษาทุกคนที่ลงทะเบียนในชุดวิชาใดเป็นครั้งแรก ต้องชำระค่าวัสดุการศึกษา ชุดวิชาละ 700 บาท ยกเว้นชุดวิชาที่มีวัสดุเพิ่มเติม หรือชุดวิชาที่มีการฝึกปฏิบัติ ให้ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในคู่มือการลงทะเบียนของแต่ละภาคการศึกษา

    5.  ค่าลงทะเบียนสอบซ่อม
        • นักศึกษาที่ลงทะเบียนสอบซ่อมต้องชำระค่าธรรมเนียมในการลงทะเบียนสอบซ่อม ชุดวิชาละ  200  ยกเว้นชุดวิชาที่ต้องลงทะเบียนสอบซ่อมภาคปฏิบัติให้ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจาก คำชี้แจงการลงทะเบียนสอบซ่อม

    6. ค่าธรรมเนียมการออกบัตรประจำตัวนักศึกษาใหม่
      • นักศึกษาที่ขอทำบัตรประจำตัวนักศึกษาใหม่กรณีเปลี่ยนชื่อ-ชื่อสกุลต้องชำระค่าธรรมเนียมในการออกบัตรใหม่ครั้งละ  100  บาท

    7. ค่าธรรมเนียมในการเปลี่ยนแปลงประวัติการศึกษา 100 บาท
       • นักศึกษาที่ต้องการเปลี่ยนที่อยู่ เปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ เปลี่ยนชื่อ-ชื่อสกุล เปลี่ยนสาขาวิชา/วิชาเอก สามารถชำระค่าธรรมเนียมเพียงครั้งเดียวได้ตลอดหลักสูตร  

    8.ค่าธรรมเนียมการออกหนังสือรับรองการเป็นนักศึกษา
      • นักศึกษาที่ขอหนังสือรับรองการเป็นนักศึกษาต้องชำระค่าธรรมเนียมในการออกหนังสือรับรอง ฉบับละ  50  บาท

    9.ค่าธรรมเนียมการออกใบรายงานผลการศึกษา (Transcript)
      • นักศึกษาที่ประสงค์จะขอใบรายงานผลการศึกษา (กรณีไม่สำเร็จการศึกษา)  หรือนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาแล้ว และขอใบรายงานผลการศึกษาฉบับที่ 2 เป็นต้นไป  ต้องชำระค่าธรรมเนียม ฉบับละ 50 บาท

    10.ค่าธรรมเนียมการต่ออายุสถานภาพนักศึกษา
        • นักศึกษาที่มีสิทธิในการต่ออายุสถานภาพนักศึกษาเมื่อยื่นคำร้องขอต่ออายุสถานภาพ
    นักศึกษาต้องชำระค่าธรรมเนียม  300  บาท

    11.ค่าธรรมเนียมบัณฑิต
        • นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีทุกคนต้องชำระค่าขึ้นทะเบียนบัณฑิตคนละ  800  บาท

    12. ค่าธรรมเนียมใบรับรองอนุปริญญา
          • นักศึกษาที่ขอสำเร็จการศึกษาในระดับอนุปริญญา  ถ้าต้องการใบรับรองต้องชำระค่าธรรมเนียมฉบับละ  50  บาท

    13. ค่าธรรมเนียมใบรายงานผลการศึกษาอนุปริญญา
         • นักศึกษาที่ขอสำเร็จการศึกษาในระดับอนุปริญญา ถ้าต้องการใบรายงานผลการศึกษาต้องชำระค่าธรรมเนียมฉบับละ  50  บาท

    14. ค่าธรรมเนียมใบแปล ใบรับรองการศึกษาเป็นภาษาอังกฤษ
         • นักศึกษาที่ต้องการใบรับรองเป็นภาษาอังกฤษต้องชำระค่าธรรมเนียมฉบับละ 50  บาท

    15. ค่าธรรมเนียมใบแปลใบปริญญาบัตรเป็นภาษาอังกฤษ
         • นักศึกษาที่ต้องการใบปริญญาที่แปลเป็นภาษาอังกฤษต้องชำระค่าธรรมเนียมฉบับละ  50  บาท

    16. ค่าธรรมเนียมใบแทนใบปริญญาบัตร  ประกาศนียบัตร  สัมฤทธิบัตร
        • นักศึกษาที่ทำใบปริญญาบัตร  ประกาศนียบัตร  หรือสัมฤทธิบัตรที่มหาวิทยาลัยออกให้
    สูญหายและต้องการให้มหาวิทยาลัยออกใบแทนให้ใหม่ต้องชำระค่าธรรมเนียมฉบับละ  50  บาท

    17. ค่าธรรมเนียมใบรับรองอื่นๆ
        • ถ้านักศึกษาต้องการใบรับรองที่ไม่ได้กำหนดค่าธรรมเนียมไว้เฉพาะนักศึกษาต้องชำระค่าธรรมเนียมฉบับละ  50  บาท

    18. ค่าธรรมเนียมใบสัมฤทธิบัตรกรณีพิเศษ
         • นักศึกษาที่ได้ลงทะเบียนและสอบผ่านหลังจากที่ได้พ้นสถานภาพการเป็นนักศึกษาไปแล้ว และต้องการให้มหาวิทยาลัยออกใบสัมฤทธิบัตรกรณีพิเศษให้ นักศึกษาต้องชำระค่าธรรมเนียมในการออกสัมฤทธิบัตรฉบับละ  50  บาท

    19. ค่าธรรมเนียมคำอธิบายชุดวิชา รายวิชา
         • นักศึกษาที่ต้องการคำอธิบายชุดวิชา หรือรายวิชา ต้องชำระค่าธรรมเนียมฉบับละ 50  บาท

    20. ค่าธรรมเนียมการคัดลอกเอกสารสำคัญ
         • นักศึกษาที่ต้องการถ่ายสำเนาเอกสารสำคัญต่างๆ  ของนักศึกษาที่สำนักทะเบียนและ
    วัดผล ได้จัดเก็บไว้ในไมโครฟิล์มนักศึกษาต้องชำระค่าถ่ายสำเนาฉบับละ  10  บาท

    21. ค่าธรรมเนียมการรับรองสำเนาถูกต้อง
          • นักศึกษาที่ต้องการให้มหาวิทยาลัยรับรองสำเนาเอกสารสำคัญต่างๆ  ที่มหาวิทยาลัยได้ออกให้นักศึกษาไปแล้วนักศึกษาต้องชำระค่าธรรมเนียมฉบับละ  10  บาท

    22. ค่าธรรมเนียมขึ้นทะเบียนอนุปริญญา
         • นักศึกษาที่ขอสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาเมื่อมหาวิทยาลัยพิจารณาให้สำเร็จ
    การศึกษาแล้วต้องชำระค่าธรรมเนียมขึ้นทะเบียนอนุปริญญาคนละ  200  บาท

    23.ค่าธรรมเนียมค่าขอโอนชุดวิชา
        • การขอโอนชุดวิชา นักศึกษาจะต้องชำระค่าธรรมเนียมการขอโอนชุดวิชา ชุดวิชาละ 200 บาท

    24.ค่าธรรมเนียมการออกหนังสือรับรองโครงการกู้ยืมเงินของธนาคารกรุงไทย (กยศ.204)
       • นักศึกษาที่ขอหนังสือรับรองโครงการกู้ยืมเงินของธนาคารกรุงไทย ต้องชำระค่าธรรมเนียมในการออกหนังสือรับรอง ฉบับละ  50  บาท

    25.ค่าธรรมเนียมการออกหนังสือรับรองการเป็นนักศึกษาองค์การทหารผ่านศึก (กสก.2)
       • นักศึกษาที่ขอหนังสือรับรองการเป็นนักศึกษาองค์การทหารผ่านศึก ต้องชำระค่าธรรมเนียมในการออกหนังสือรับรอง ฉบับละ  50  บาท

Close
ศูนย์ข้อมูลทะเบียนและบริการนักศึกษา สำนักทะเบียนและวัดผล มสธ. โทร. 02 504 7231