เมื่อมหาวิทยาลัยเปิดสอนในสาขาต่าง ๆ มากขึ้นมีปริมาณนักศึกษาในแต่ละปีการศึกษาเพิ่มเป็นจำนวนมากทำให้ต้องเพิ่มปริมาณและภาระงานทางด้านการพิมพ์เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการการศึกษาของประชาชนที่เพิ่มขึ้น มหาวิทยาลัยจึงได้ยกฐานะของฝ่ายการพิมพ์ สำนักเทคโนโลยีการศึกษาขึ้นเป็นสำนักพิมพ์ ตามประกาศในราชกิจจา-นุเบกษาฉบับพิเศษ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2529
โดยโครงสร้างการบริหารประกอบด้วย 4 ฝ่าย คือ
1. สำนักงานเลขานุการ
2. ฝ่ายวิชาการ
3. ฝ่ายจัดพิมพ์
4. ฝ่ายเผยแพร่และจัดจำหน่าย
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สำนักพิมพ์ได้มีการปรับปรุงพัฒนาหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง ในเรื่องการจัดองค์กรและ บทบาทหน้าที่เพื่อความเหมาะสมสอดคล้องกับภารกิจที่ขยายเพิ่มขึ้นตลอดจนการปรับปรุงเทคโนโลยีในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์
ปัจจุบันและมีประสิทธิภาพดำเนินงานที่ดียิ่งขึ้น
ในปีงบประมาณ พ.ศ.2553
มหาวิทยาลัยกำหนดให้สำนักพิมพ์และศูนย์ฝึกอบรมเทคโนโลยีการพิมพ์แห่งชาติ
รวมการบริหารจัดการและงบประมาณของทั้งสองหน่วยงานไว้ด้วยกัน
โครงสร้างการบริหารงานของสำนักพิมพ์และศูนย์ฝึกอบรมฯ จึงประกอบด้วย 4 ฝ่าย และ 1
ศูนย์ คือ สำนักงานเลขานุการ ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายจัดพิมพ์ ฝ่ายเผยแพร่และจัดจำหน่าย
และศูนย์ฝึกอบรมเทคโนโลยีการพิมพ์แห่งชาติ
แต่เนื่องจากเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิตอล ความนิยมด้านสื่อสิ่งพิมพ์ลดลง
ส่งผลให้การดำเนินงานการจัดฝึกอบรมประสบสภาวะขาดทุนอย่างต่อเนื่อง
ในปีงบรประมาณ พ.ศ.2560 ศูนย์ฝึกอบรมเทคโนโลยีการพิมพ์แห่งชาติ
จึงได้มีปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ฝึกอบรมเทคโนโลยีการพิมพ์
โดยควบรวมเข้ากับสำนักพิมพ์ไปเป็นฝ่ายจัดฝึกอบรมเทคโนโลยีการพิมพ์
(ตามประกาศมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เรื่อง
ให้้โอนศูนย์ฝึกอบรมเทคโนโลยีการพิมพ์แห่งชาติไปเป็นฝ่ายจัดฝึกอบรมเทคโนโลยีการพิมพ์
สังกัดสำนักพิมพ์ ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2561)
ทำให้ในปัจจุบันสำนักพิมพ์ประกอบด้วย 5 ฝ่าย คือ สำนักงานเลขานุการ ฝ่ายวิชาการ
ฝ่ายจัดพิมพ์ ฝ่ายเผยแพร่และจัดจำหน่าย และฝ่ายจัดฝึกอบรมเทคโนโลยีการพิมพ์
มีการพัฒนาทั้งด้านกายภาพและคุณภาพ โดยนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย ระบบสารสนเทศต่าง ๆ
มาใช้ในการทำงาน เพื่อความสะดวกรวดเร็วและความีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัย
แผนพัฒนาการอุดมศึกษาทั้งใน ระดับสถาบัน ระดับกระทรวง ระดับชาติ
ระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ
และตามความเจริญก้าวหน้าของวิทยาการและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง