ฉบับประจำเดือน มิถุนายน 2550

การปฏิบัติหรือวิธีการที่เป็นเลิศ ( BEST PRACTICE)

          การให้บริการสุขภาพแก่ประชาชน จำเป็นต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้รับบริการ และต้องมีการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างศักยภาพในการให้บริการที่ทันต่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในยุคศตวรรษที่ 21 ตลอดจนการแข่งขันทั้งในภาครัฐและเอกชนในการตอบสนองความต้องการของผู้รับผิดชอบ และคุณภาพของการให้บริการ แนวทางหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพบริการของโรงพยาบาล คือ การปฏิบัติหรือวิธที่เป็นเลิศ (Best Practice) ในการให้บริการซึ่งได้มาจากการทำ Benchmarking และการศึกษา Best Practice ขององค์กรต่างๆ
Best Practice หมายถึง แนวทางหรือวิธีการปฏิบัติในเรื่องต่างๆ ที่นำองค์กรไปสู่ความสำเร็จและบรรลุจุดมุ่งหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เช่น Best Practice Process  Management , Best Practice Human Resources Focus,  Best Practice Customer Satisfaction and  Relationships Focus เป็นต้น การได้มาซึ่ง Best Practice นั้น ผู้บริหารโรงพยาบาลจะต้องมีการประเมินและเปรียบเทียบในเรื่องหรือสิ่งที่ต้องการนำไปสู่การปฏิบัติหรือวิธีการที่เป็นเลิศหรือที่เรียกว่า Best Practice เพื่อปรับปรุงและพัฒนาตนเอง ในบทความนี้จะขอนำเสนอแนวทางหลักที่นำไปสู่การปฏิบัติหรือวิธีที่เป็นเลิศ ขั้นตอนแรกผู้บริหารจะต้องกำหนดว่าจะทำ Best Practice ในเรื่องใดหรือด้านใดขององค์การ ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่ผู้บริหารโรงพยาบาลทุกระดับและคณะกรรมการการบริหารโรงพยาบาลมีความเห็นและมีเข้มมุ่งเป็นแนวทางเดียวกันว่าต้องให้องค์การเกิด Best Practice Process Management ดังนั้น องค์ประกอบการจัดการกระบวนการ (Process Management) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลจะต้องคำนึงถึง

  1. กระบวนการให้บริการ
    1. ระบบการวางแผนและวิเคราะห์เชิงป้องกันความเสี่ยง
    2. การติดตามและควบคุมกระบวนการให้บริการ
    3. การกำหนดดัชนีในการวัดผลการปฏิบัติการของกระบวนการให้บริการ

                       และประเมินผล

  1. กระบวนการสนับสนุน
    1. ระบบการสนับสนุนการให้บริการ
    2. การติดตามและประเมินกระบวนการสนับสนุน
    3. การกำหนดดัชนีในการวัดผลการสนับสนุนและการประเมินผล

3.   กระบวนการพัฒนาการให้บริการ
3.1  การนำผลการประเมินกระบวนการในข้อ 1 และ  2  มาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
3.2  การพัฒนาและให้ความรู้บุคลากรทุกระดับอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
3.3  การบริหารที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result-base Management)
3.4   การมีระบบติดตามผลที่มีประสิทธิภาพ
ซึ่งบริบทของโรงพยาบาลแต่ละแห่งจะแตกต่างกัน แต่ทุกโรงพยาบาลจะมีเป้าประสงค์ที่เหมือนกัน คือ  ความปลอดภัยของผู้รับบริการ  การให้บริการที่มีคุณภาพ  และตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ