คำแนะนำในการเตรียมและส่งต้นฉบับบทความ

รายละเอียดการเขียนบทความ

1. บทความวิชาการ เป็นบทความที่รวบรวมหรือเรียบเรียงจากหนังสือ เอกสาร ประสบการณ์ หรือเรื่องแปล หรือแสดงข้อคิดเห็น หรือให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ มีคุณค่าทางวิชาการ เพื่อเผยแพร่ความรู้ในด้านความปลอดภัย และด้านสุขภาพ มีความยาวไม่เกิน 5 หน้ากระดาษ A4 ที่รวมภาพและตารางแล้ว บทความวิชาการควรประกอบไปด้วย ชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งวุฒิการศึกษาสูงสุด ตำแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี) และสถานที่ทำงานของผู้เขียน คำนำ เนื้อเรื่อง บทสรุป กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) เอกสารอ้างอิงตามแบบที่ทางวารสารกำหนด และภาคผนวก (ถ้ามี)

2. บทความวิจัย มีความยาวประมาณ 7-12 หน้ากระดาษ A4 ที่รวมภาพ ตาราง เอกสารอ้างอิง และภาคผนวกแล้ว เป็นบทความที่ประกอบไปด้วย

2.1 ชื่อเรื่อง (Title) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่ควรใช้คำย่อ

2.2 ชื่อผู้วิจัย (Authors) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งวุฒิการศึกษาสูงสุด ตำแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี) และสถานที่ทำงาน กรณีวิทยานิพนธ์ ให้ใส่ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษด้วย พร้อมตำแหน่งทางวิชาการที่ใช้คำเต็ม และสถานที่ทำงาน

2.3 บทคัดย่อ (Abstract) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีความยาวไม่เกิน 250 คำ ประกอบด้วยวัตถุประสงค์การวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย ผลการวิจัย และข้อเสนอแนะการวิจัย ทั้งนี้ชื่อตำบล อำเภอ จังหวัด หน่วยงานและสถานที่ต่างๆ ในบทคัดย่อภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวสะกดที่เป็นภาษาทางการ

2.4 คำสำคัญ (Keyword) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อย่างละไม่เกิน 6 คำ ที่เหมาะสมสำหรับนำไปใช้สืบค้นในระบบฐานข้อมูลที่คิดว่าผู้ที่สืบค้นบทความนี้ควรใช้ และคั้นด้วยเครื่องหมาย “ / ” ระหว่างคำ

2.5 เนื้อเรื่อง ประกอบด้วย

2.5.1 บทนำ (Introduction) บอกถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย วรรณคดีเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับจุดมุ่งหมายของการศึกษา วัตถุประสงค์ของการวิจัย และสมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี) ซึ่งควรเขียนในรูปของความเรียงให้เป็นเนื้อเดียวกัน

2.5.2 วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methodology) ประกอบด้วย รูปแบบการวิจัย ประชากรและตัวอย่างการวิจัย เครื่องมือการวิจัย การเก็บข้อมูลหรือการทดลอง และการวิเคราะห์ข้อมูล กรณีที่เป็นการวิจัยในคนให้ใส่เรื่องการให้คำยินยอมสำหรับงานวิจัยของผู้ถูกวิจัย และผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการจริยธรรมในงานวิจัย หรือคณะกรรมการวิจัยในคนของสถาบันต่างๆ ด้วย

2.5.3 ผลการวิจัย (Results) ให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์การวิจัย

2.5.4 อภิปรายผล (Discussions)

2.5.5 สรุปและข้อเสนอแนะ (Conclusion and Recommendations)

2.6 กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement) (ถ้ามี) ระบุแหล่งทุนหรือผู้มีส่วนสนับสนุนในการทำวิจัยให้ประสบผลสำเร็จ

2.7 เอกสารอ้างอิง (References) ตามแบบที่ทางวารสารกำหนด

2.8 ภาคผนวก (ถ้ามี)

 

การพิมพ์บทความ

บทความที่เสนอต้องพิมพ์ลงบนกระดาษขนาด A4 พิมพ์หน้าเดียว โดยมีรายละเอียดการพิมพ์ ดังนี้

1. ตัวอักษรที่ใช้ พิมพ์ด้วย Microsoft Word for Windows โดยในภาษาไทยใช้ตัวอักษรแบบ “Angsana New” และภาษาอังกฤษใช้ตัวอักษรแบบ “Time New Roman” โดย

1.1 ชื่อเรื่อง อยู่กึ่งกลางหน้าและตัวอักษรใช้ตัวเข้ม โดยภาษาไทยใช้ตัวอักษรขนาด 18 และภาษาอังกฤษใช้ตัวอักษรขนาด 12

1.2 ชื่อผู้เขียน อยู่กึ่งกลางหน้าและตัวอักษรใช้ตัวปกติ โดยภาษาไทยใช้ตัวอักษรขนาด 16 และภาษาอังกฤษใช้ตัวอักษรขนาด 10

1.3 บทคัดย่อ ตัวอักษรใช้ตัวเอนไม่เข้ม โดยภาษาไทยใช้ตัวอักษรขนาด 16 และภาษาอังกฤษใช้ตัวอักษรขนาด 12

1.4 เนื้อเรื่อง กิตติกรรมประกาศ และภาคผนวก ตัวอักษรใช้ตัวปกติ ส่วนของชื่อหัวข้อและหัวข้อย่อย ใช้ตัวเข้ม โดยภาษาไทยใช้ตัวอักษรขนาด 16 และภาษาอังกฤษใช้ตัวอักษรขนาด 10

1.5 เอกสารอ้างอิง ตัวอักษรใช้ตัวปกติและตัวเอน ตามแบบที่ทางวารสารกำหนด โดยภาษาไทยใช้ตัวอักษรขนาด 16 และภาษาอังกฤษใช้ตัวอักษรขนาด 10

2. การตั้งค่าหน้ากระดาษ กำหนดขอบบน 3 เซ็นติเมตร ขอบล่าง 2.5 เซ็นติเมตร ด้านซ้าย 3 เซ็นติเมตร และด้านขวา 2.5 เซ็นติเมตร ส่วนการพิมพ์ย่อหน้า ให้ห่างจากเส้นกั้นขอบกระดาษด้านซ้าย 1.5 เซ็นติเมตร

3. การกำหนดเลขหัวข้อ หัวข้อใหญ่ให้ชิดซ้ายติดเส้นกั้นขอบกระดาษ หัวข้อย่อยใช้หัวข้อหมายเลข เลขข้อระบบทศนิยม เลขตามด้วยวงเล็บ ตัวอักษร และเครื่องหมาย “ - ” กำกับหัวข้อ ตามระดับหัวข้อ ดังนี้

 

1. …

1.1 …

1.1.1 …

1) …

ก. ... (กรณีภาษาไทย ) หรือ a. … ( กรณีภาษาอังกฤษ)

- …

 

4. ตารางและภาพประกอบ (Tables and Illustrations) ระบุชื่อตารางไว้เหนือตารางแต่ละตาราง และระบุชื่อภาพแต่ละภาพไว้ใต้ภาพนั้นๆ เว้นบรรทัดเหนือชื่อตารางและเหนือรูปภาพ 1 บรรทัด และเว้นใต้ตารางและใต้ชื่อภาพ 1 บรรทัด และจัดเรียงตามลำดับหรือหมายเลขที่อ้างถึงในบทความ คำบรรยายประกอบตารางหรือภาพประกอบควรสั้นและชัดเจน ภาพถ่ายให้ใช้ภาพขาวดำที่มีความคมชัด ขนาดโปสการ์ด ส่วนภาพเขียนลายเส้นต้องชัดเจน มีขนาดที่เหมาะสม และเขียนด้วยหมึกดำ กรณีคัดลอกตารางหรือภาพมาจากที่อื่น ให้ระบุแหล่งที่มาใต้ตารางและภาพประกอบนั้นๆ ด้วย

 

การอ้างอิงและเอกสารอ้างอิง

การอ้างอิงเอกสารใช้ระบบ APA (American Psychological Association) ปี 2001 โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. การอ้างอิงในเนื้อเรื่อง ใช้การอ้างอิงแบบนาม-ปี (Author-date in-text citation)

กรณีอ้างอิงเมื่อสิ้นสุดข้อความที่ต้องการอ้างอิง ให้ใส่ชื่อผู้แต่งและปีที่พิมพ์ไว้ในวงเล็บต่อท้ายข้อความนั้น ดังนี้

กรณีผู้เขียนคนเดียว ภาษาไทย (ชื่อและนามสกุลผู้เขียน , ปี) เช่น (บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ , 2540)

ภาษาอังกฤษ (นามสกุลผู้เขียน , ปี) เช่น ( Clark , 1999)

กรณีผู้เขียนน้อยกว่า 6 คน ภาษาอังกฤษ ให้ใส่นามสกุลผู้เขียน และคั่นระหว่างผู้เขียนคนก่อนสุดท้ายกับคนสุดท้ายด้วยเครื่องหมาย “&” แล้วตามด้วยปีที่พิมพ์

เช่น ( Fisher, King, & Tague, 2001)

ภาษาไทย ให้ใส่ชื่อและนามสกุลทุกคนและคั่นระหว่างผู้เขียนคนก่อน สุดท้ายกับคนสุดท้ายด้วยคำว่า “ และ ” แล้วตามด้วยปีที่พิมพ์

เช่น (พรทิพย์ เกยุรานนท์ , พาณี สีตกะลิน , และวรางคณา ผลประเสริฐ , 2549)

กรณีผู้เขียนมากกว่า 6 คน ภาษาอังกฤษ ให้ใส่นามสกุลผู้เขียนคนที่ 1 แล้วตามด้วย “et al” และปีที่พิมพ์ เช่น (Sasat et al., 2002)

ภาษาไทย ให้ใส่ชื่อและนามสกุลคนที่ 1 แล้วตามด้วย “ และคณะ ” และปีที่พิมพ์ เช่น (วรางคณาผลประเสริฐ และคณะ , 2550)

กรณีแหล่งอ้างอิงมากกว่า 1 แห่ง ให้คั้นระหว่างแหล่งที่อ้างอิงแต่ละแห่งด้วยเครื่องหมาย “ ;”

เช่น (Clark, 1999; Fisher, King, & Tague, 2001 )

กรณีข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ภาษาอังกฤษ (นามสกุลผู้เขียน , ปี) เช่น (Bateman, 1990)

ภาษาไทย (ชื่อและนามสกุลผู้เขียน , ปี) เช่น ( พาณี สีตกะลิน , 2550)

กรณีอ้างอิงหลังชื่อผู้แต่งหน้าข้อความ ให้ใส่ปีที่พิมพ์ไว้ในวงเล็บต่อท้ายชื่อผู้แต่ง แล้วจึงตามด้วยข้อความที่ต้องการอ้าง เช่น Brown (2006) ข้อความ … หรือ พรทิพย์ เกยุรานนท์ ( 2549) ข้อความ …

2. การอ้างอิงท้ายบทความ ให้เขียนเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ ดังนี้

2.1 เรียงลำดับเอกสารภาษาไทยก่อนภาษาอังกฤษ

2.2 เรียงลำดับตามอักษรชื่อผู้เขียน ภาษาไทยใช้ชื่อต้น ส่วนภาษาอังกฤษใช้ชื่อสกุลในการเรียงลำดับ

2.3 รูปแบบการเขียนและการใส่เครื่องหมายวรรคตอนให้ถือตามตัวอย่าง ดังต่อไปนี้

2.3.1 หนังสือ : ชื่อผู้เขียน . (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. ชื่อเมือง : ชื่อโรงพิมพ์.

เช่น ภาษาไทย :

สราวุธ สุธรรมาสา. ( 2547). การจัดการมลพิษทางเสียงจากอุตสาหกรรม. กรุงเทพมหานคร : ซี แอน เอส พริ้นเติ้งจำกัด.

ภาษาอังกฤษ :

Smith, C.M. & Maurer, F.A. (2000). Community health nursing: Theory and practice (2 nd ed.). Philadelphia : W.B. Saunder company.

Dougherty, T.M. (1999). Occupational Safety and Health Management. In L. J. DiBerardinis (Ed.), Handbook of Occupational Safety and Health . New York : John Wiley & Sons, Inc.

Atkinson, R. (Ed.). (1984). Alcohol and drug abuse in old age . Washington , DC : American Psychiatric Press.

2.3.2 วารสาร : ชื่อผู้เขียน . (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. ชื่อวารสาร , ปีที่ ( ฉบับที่) , เลขหน้า.

เช่น ภาษาไทย :

รุ่งทิพา บูรณะกิจเจริญ. ( 2548). ที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงาน. วารสารสภาการพยาบาล . 20(3), 19-24.

ภาษาอังกฤษ :

Brown, E.J . (1998 ). Female i njecting d rug u sers: H uman i mmuno d eficiency v irus r isk b ehavior and i ntervention n eeds . Journal of Professional Nursing , 14(6) , 361-369.

Shimizu , T. & Nagata, S. (2006). Relationship between job stress and self-related health among Japanese full-time occupational physicians. Environmental Health and Preventive Medicine , 10(5), 227-232.

McDonald, D.D., Thomas, G.J., Livingston , K.E., & Severson, J.S. (2005). Assisting older adults to communicate their postoperative pain. Clinical Nursing Research. 14(2), 109-125.

Sasat, S., et al. (2002). Self-esteem and student nurses: A cross-cultural study of nursing students in Thailand and UK . Nursing and Health Sciences , 4, 9-14.

2.3.3 สิ่งพิมพ์หรือวารสารที่เริ่มนับหนึ่งใหม่ในแต่ละฉบับ : ให้ใส่รายละเอียด วัน เดือน ปี ตามความจำเป็น และในภาษาไทยให้ใส่คำว่า “ หน้า ” ก่อนเลขหน้า ส่วนภาษาอังกฤษใช้อักษร “p” สำหรับหน้าเดียว และ “pp” สำหรับหลายหน้า เช่น

Morganthau, T. (1997). American demographics 2000: The face of the future. Newsweek, January 27, pp. 58-60.

2.3.4 วิทยานิพนธ์ : ชื่อผู้ทำวิทยานิพนธ์. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. ระดับวิทยานิพนธ์ , ชื่อมหาวิทยาลัย , เมือง. เช่น

ภาษาไทย :

วิไล อำมาตย์มณี . (2539). การพัฒนาการพยาบาลเป็นทีมในหอผู้ป่วยโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ . วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล , มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , เชียงใหม่ .

ภาษาอังกฤษ :

Wilfley, D.E. (1989). Interpersonal analysis of bulimia: Normal weight and obese. Unpublished doctoral dissertation, University of Missouri , Columbia .

2.3.5 โปสเตอร์ (Poster session):

เช่น Rudy, J., & Fulton, C. (1993, June). Beyond redlining: Editing software that works . Poster session presented at the annual meeting of the Society for Scholarly Publishing, Washington , DC .

2.3.6 เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ (Proceeding of Meeting and Symposium):

เช่น Cynx, J., Williams, H., & Nottebohm, F. (1992). Hemispheric differences in avian song discrimination. Proceedings of National Academy of Sciences , USA , 89, 1372-1375.

2.3.7 ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ :

Online periodical:

Author, A.A., Author, B.B., & Author, C.C. (year). Title of article. Title of Periodical, xx, xxxxxx. Retrieved month day, year, from source

เช่น VandenBos, G., Knapp, S., & Doe, J. (2001). Role of reference element in the selection of resources by psychology undergraduates. Journal of Bibliographic Research , 5, 117-123. Retrieved October 13, 2001 , from http://jbr.org/articles.html

Online document:

Author, A.A. (year). Title of work . Retrieved month day, year, from source.

เช่น Bateman, A. (1990, June). Team building: Development a productive team. Retrieved August 3, 2002, from http://www.ianr.unl.edu/pubs/Misc/cc352.html

 

การส่งต้นฉบับ

จำนวน ต้นฉบับที่ส่ง 3 ชุด พร้อมแผ่นบันทึกข้อมูลที่เป็น CD หรือ ดิสก์ (Diskette) ที่ชื่อไฟล์จะต้องเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น โดยส่งมาที่กองบรรณาธิการวารสารความปลอดภัยและสุขภาพ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120

 

เกณฑ์การพิจารณาคุณภาพบทความ

บทความที่ได้รับการพิมพ์เผยแพร่จะต้องได้รับการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้นๆ โดยกองบรรณาธิการจะเป็นผู้พิจารณาผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมิน และภายหลังการประเมิน กองบรรณาธิการจะเป็นผู้พิจารณาผลการประเมิน และอาจให้ผู้เขียนปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และทรงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตัดสินการพิมพ์เผยแพร่บทความในวารสารหรือไม่ก็ได้ โดยทั้งนี้กองบรรณาธิการจะไม่ส่งต้นฉบับคืน

 

การอภินันทนาการสำหรับผู้เขียน

กองบรรณาธิการจะอภินันทนาการวารสารฉบับที่ผลงานของผู้เขียนได้รับการตีพิมพ์ให้ผู้เขียน จำนวน 3 เล่ม กรณีมีผู้ร่วมเขียนหลายคน จะมอบให้แก่ผู้เขียนชื่อแรกเท่านั้น