![]() | ||
ฤาษีดัดตนท่านอนและท่าดัดคู่โดย อาจารย์กิตติ ลี้สยาม ประวัติฤาษีดัดตน ในสมัยโบราณการรักษาด้วยการแพทย์แผนไทย นอกจากจะมียาสมุนไพรแล้วยังมีการนวดการดัดตนประกอบ ในสมัยอยุธยาในรัชสมัยพระบรมไตรโลกนาถมีปรากฏกรมหมอนวด มีศักดินาเทียบเท่ากรมหมอยา ประกอบด้วย กรมหมอนวดขวา เจ้ากรม คือ หลวงราชรักษา กรมหมอนวดซ้าย เจ้ากรม คือ หลวงราโช ในสมัยอยุธยาเรื่องของการดัดตนหรือฤาษีดัดตนไม่ปรากฏหลักฐาน แต่เข้าใจว่าน่าจะมีอยู่ควบคู่กับตำนานเรื่องฤาษีของไทย และมาปรากฏหลักฐานในสมัยรัตนโกสินทร์ในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงปฏิสังขรณ์วัดโพธาราม (วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม) เมื่อ พ.ศ. 2331 ได้โปรดให้มีการจารึกตำรายาและฤาษีดัดตนไว้ตามศาลาราย เพื่อให้ประโยชน์แก่สาธารณชน โดยแลเห็นความสำคัญของการแพทย์ ประสงค์จะให้ราษฎรได้รู้จักรักษาตนเองยามเจ็บไข้ รูปฤาษีดัดตนที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 นั้น ไม่ทราบจำนวนแน่ชัด และวัสดุในการปั้นเข้าใจว่าน่าจะเป็นการปั้นด้วยดินหรือปูน ในสมัยรัชกาลที่ 3 พ.ศ. 2379 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน ฯ และโปรดให้กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ (พระราชโอรสในรัชกาลที่ 1 พระนามเดิมพระองค์เจ้าชายดวงจักร) ซึ่งทรงกำกับกรมชั่งหล่อปั้น ปั้นฤาษีดัดตนท่าต่าง ๆ 80 ท่า แล้วหล่อด้วยสังกะสีผสมดีบุก เรียกว่า “ชิน” และมีโครงสี่อธิบายประกอบครบทุกรูปตามศาลาราย โดยนักปราชญ์ราชบัณฑิตในสมัยรัชกาลที่ 3 เนื้อหาในโคลงภาพฤาษีประกอบด้วย ชื่อฤาษี วิธีการดัด และสรรพคุณในการดัด และพระองค์เองก็ได้ทรงพระราชนิพนธ์โคลงไว้ถึง 6 บทด้วยกัน รวมทั้งสิ้น 80 บท และยังมีการวาดภาพสมุดไทยดำและมีโคลงกำกับไว้เช่นกัน เพื่อเก็บรักษาไว้เป็นต้นตำรับสำหรับตรวจทาน ถือว่าเป็นสมบัติของชาติ นับว่าเป็นการรอบคอบที่ได้มีการวาดภาพและเขียนโคลงลงในสมุดไทยดำ เพราะต่อมาโคลงที่จารึกไว้ตามผนังศาลารายรอบวัดปรากฏว่าชำรุดสูญหายเหลือเพียงชื่อแต่ละบทเท่านั้น อีกทั้งยังมีการเคลื่อนย้ายรูปปั้นทำให้เกิดความสับสนระหว่างโคลงที่กำกับรูปปั้น และยังมีการขโมยรูปปั้นฤาษีดัดตน เช่น มีการจับได้ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ขโมยรูปปั้นไปถึง 16 ตน นับเป็นการสูญเสียในแง่ภูมิปัญญาของชาติ ซึ่งในปัจจุบันรูปปั้นฤาษีดัดตนที่เหลืออยู่ นำมารวมไว้บริเวณเขามอด้านทิศใต้ของวิหารทิศปัจจวัคคีย์ วัดพระเชตุพน ฯ นอกจากรูปปั้นฤาษีดัดตนที่วัดพระเชตุพน ฯ แล้ว ยังปรากฏมีภาพเขียนในรัชกาลที่ 4 ที่วัดมัชฌิมาวาส (วัดกลาง) อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 40 ท่า เข้าใจว่าคงคัดลอกมาจากวัดพระเชตุพน ฯ และยังพบการปั้นฤาษีดัดตนที่วัดนายโรงอีก 10 กว่าท่าเข้าใจว่าคงเลียนแบบมาจากวัดพระเชตุพน ฯ เช่นกัน จะเห็นว่าทั้งรูปปั้นฤาษีดัดตน โคลงภาพฤาษีดัดตน ภาพฤาษีดัดตนในสมุดไทยดำ และภาพเขียนฤาษีที่วัดกลาง จังหวัดสงขลานั้น ล้วนเป็นมรดกทางวัฒนธรรม และเป็นสมบัติของชาติที่เปี่ยมด้วยคุณค่า และควรค่าแก่การอนุรักษ์ ประโยชน์ของกายบริหารฤาษีดัดตน กายบริหารฤาษีดัดตนมีประโยชน์ ดังนี้ 2. เพื่อการบำบัดรักษาโรคและอาการ นอกจากจะช่วยให้มีสุขภาพแข็งแรงและสมบูรณ์แล้ว ท่าฤาษีดัดตนยังสมารถช่วยบำบัดโรคและอาการหลาย ๆ กรณี เช่น การดัดตนแก้ปวดเข่า การดัดตนแก้ลมปลายปัตฆาต การดัดตนแก้กล่อน เป็นต้น 3. ขจัดความปวดเมื่อย เมื่อยล้าของร่างกาย ท่าฤาษีดัดตนถือว่าเป็นท่าที่สามารถปฏิบัติได้ง่าย ใช้สำหรับกายบริหารร่างกาย เพื่อขจัดความปวดเมื่อยตามส่วนต่าง ๆ หรือสามารถแก้โรคบางอย่างโดยไม่ต้องพึ่งหมอยา หรือหมอนวด และถ้าปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ก็จะเชื่อแน่ว่าร่างกายจะแข็งแรงสมบูรณ์ นอกจากนี้ ยังมีผลต่อกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และกระดูก ทำให้การเคลื่อนไหวคล่องแคล่วมีประสิทธิภาพ 4. สามารถฟื้นฟูและรักษาสุขภาพ ฤาษีดัดตนเป็นกายบริหารร่างกายที่ใช้การดัดส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและบริหารระบบลมหายใจ ถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการฟื้นฟูสุขภาพ โดยเฉพาะสมรรถภาพทางการแพทย์ในวิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู ในส่วนของการบริหารระบบการหายใจด้วยการออกกำลังกายกล้ามเนื้อและระบบกระบังลม ซึ่งเป็นหลักในการปฏิบัติของฤาษีดัดตนก็เป็นการส่งเสริมสุขภาพที่ดี 5. ทำให้เกิดสมาธิ ท่าของฤาษีดัดตนถ้าปฏิบัติร่วมกับการกำหนดลมหายใจตามหลักของพระพุทธศาสนา นอกจากจะได้ร่างกายที่สุขภาพดีแล้ว จะได้การปฏิบัติสมาธิควบคู่ไปด้วย ถือว่าเป็นการปฏิบัติธรรม ทำให้จิตใจเข็มแข็งมีสมาธิเป็นการยกระดับจิตใจให้พ้นจากอารมณ์ขุ่นมัวทั้งหลาย ท่าฤาษีดัดตน วิธีการดัด : นอนหงายราบ ลำตัวและขาตรง แขนวางแนบลำตัว การเคลื่อนไหว: หายใจเข้าช้า ๆ พร้อมทั้งยกแขนทั้งสองข้างขึ้นชิดแนบหู จากนั้นยกแขนลง พร้อมหายใจออก กลับสู่ท่าเดิม ผลการดัด : แก้อาการเจ็บหน้าอก 2. ฤาษีดัดตนท่าดัดคู่ โคลงสี่สุภาพ: สวามิตคุกเข่าแล้ว เหลียวพักตร์ผินแฮ วสิทธิเหยียบยันสลัก เพชรเคล้น (พระญาณปริญัติ) กรขวาจับบาทชัก เฉวียงฉุดแขนแฮ โรคตะคริวกล่อนเส้น หย่อนได้หลายเดือน วิธีการดัด : ผู้ถูกดัดนอนตะแคงทับซ้าย ขาซ้ายงอ ขาขวาเหยียดตรงไปด้านหลังผู้ดัดยืนด้านหลังของผู้ดัด ใช้ส้นเท้าขวาเหยียบบริเวณสะโพกขวาของผู้ถูกดัดไว้ มือขวาของผู้ดัดจับที่ข้อเท้าของผู้ถูกดัด มือซ้ายของผู้ดัดจับที่ข้อมือขวาของผู้ถูกดัด การเคลื่อนไหว: ให้ผู้ดัดหายใจเข้าเต็มที่ แล้วหายใจออก ใช้ส้นเท้าขวาของผู้ดัดออกแรงกดสะโพกขวาของผู้ถูกดัดไว้ พร้อมทั้งใช้มือทั้งสองข้างของผู้ดัดดึงที่ข้อเท้าและข้อมือข้างขวาของผู้ถูกดัดในทิศทางขึ้นด้านบนค้างไว้ท่านี้ กลับสู่ท่าเดิม ผลการดัด : แก้อาการเป็นตะคริว 2.2 ดัดตนแก้กล่อน การเคลื่อนไหว: เมื่อผู้ถูกดัดหายใจออก ให้ผู้ดัดออกแรงเท้ากดตะโพกของผู้ถูกดัดไว้ พร้อมทั้งใช้มือทั้งสองข้างดึงขาของผู้ถูกดัดให้ขายกขึ้นในทิศทางขึ้นด้านบน ผลการดัด : แก้โรคกล่อน ......................................... บรรณานุกรม กระทรวงสาธารณสุข, สถาบันการแพทย์แผนไทย (2537). กายบริหารแบบไทยฤาษีดัดตน. โครงการประสานงานพัฒนาเครือข่ายสมุนไพร (ปพส.). (2505). ตำรายาศิลาจารึกใน (วัดโพธิ์) พระนคร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าให้จารึกไว้เมื่อ พ.ศ. 2375 ฉบับสมบูรณ์ กรุงเทพมหานคร. โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ วัดพระเชตุพน. ตำราฤาษีดัดตนวัดโพธิ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นำอักษรการพิมพ์ ม.ป.ป.
|
||
![]() |