1.    ชื่อโครงการ :   มสธ. รักษ์โลก

2.            แผนงบประมาณ : ขยายโอกาสและพัฒนาการศึกษา

3.            เป้าหมายการให้บริการของกระทรวง  :  ประชาชนได้รับการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่มีมาตรฐาน คุณภาพ

4.            เป้าหมายการให้บริการของมหาวิทยาลัย :  เพื่อบริการวิชาการแก่หน่วยงาน/ประชาชนในชุมชนและสังคมให้มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาตนเอง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ

5.            ผู้รับผิดชอบโครงการ

หัวหน้าโครงการ ดร.แววบุญ แย้มแสงสังข์ สาขา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

6.            หลักการและเหตุผล

ป่าชายเลนมีความสำคัญต่อการดำรงชีพของมนุษย์เป็นอย่างมาก ป่าชายเลนเป็นแหล่งรวมพันธุ์สัตว์ชนิดต่างๆ ทั้งสัตว์บก สัตว์ปีกและสัตว์น้ำ โดยเฉพาะกุ้ง หอย ปู ปลา ที่ชาวบ้านสามารถนำมารับประทานและขายเป็นรายได้ตลอดทั้งปี ป่าชายเลนยังคอยเกื้อหนุนต่อทรัพยากรทางทะเล เช่น เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน เป็นแหล่งอาหารของสัตว์น้ำ ช่วยป้องกันการพังทลายชายฝั่งจากคลื่นลม และทำหน้าที่รักษาสมดุลของระบบนิเวศชายฝั่ง ที่เกื้อกูลต่อสัตว์และพืช รวมถึงลดมลภาวะทางอากาศและสิ่งปฏิกูลต่างๆ

 

ในอดีตป่าชายเลนในประเทศไทยมีปริมาณเนื้อที่มากและมีความอุดมสมบูรณ์สูง แต่ปัจจุบันกลับมีเนื้อที่ลดลงอย่างรวดเร็ว สาเหตุของการลดลงเกิดจาก การบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลนเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ทำนาเกลือ ทำการเกษตร ทำเหมืองแร่ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ รวมทั้งการให้สัมปทานทำถ่านของรัฐบาลในอดีต อาจกล่าวได้ว่าการใช้พื้นที่ป่าชายเลนสำหรับการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และการเข้าครอบครองในรูปแบบต่างๆ       ถือเป็นปัจจัยหลักในการทำลายป่าชายเลน ประกอบกับการเกิดเหตุการณ์สึนามิที่ผ่านมา ปัจจัยเหล่านี้เป็นสาเหตุให้พื้นที่ป่าชายเลนและความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลนลดลง

 

จะเห็นได้ว่าการฟื้นฟูป่าชายเลนมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช ซึ่งมีบทบาทในการศึกษาพัฒนาและขับเคลื่อนงานด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งทางด้านการเรียนการสอนและการพัฒนา ร่วมกับ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก   (บางปู) จึงได้จัดทำโครงการ “มสธ.รักษ์โลก” ขึ้น เพื่อพัฒนาความรู้เกี่ยวกับป่าชายเลนให้กับ บุคลากรของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช บุคคลในท้องถิ่นบางปู และผู้สนใจทั่วไป ในเรื่องของการปลูกและการอนุรักษ์ป่าชายเลน อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้ใช้เวลาว่างในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ให้เป็นประโยชน์รวมถึงเป็นการปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติต่อไป

 

 

7.            วัตถุประสงค์ 

7.1 เพื่อเพิ่มแหล่งดูดซับก๊าซเรือนกระจก บรรเทาปัญหาสภาวะโลกร้อนและสามารถใช้เป็นคาร์บอนเครดิตในตลาดคาร์บอนตามมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้พิธีสารเกียวโต
7.2 เพื่อเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมประเภทป่าชายเลนแก่บุคลากร มสธ.และบุคลากรในท้องถิ่น
7.3 เพื่ออนุรักษ์แหล่งเพาะพันธุ์และที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำและป้องกันภัยจากคลื่นลมในฤดูมรสุม

7.4 เพื่อให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

7.5 เพื่อเป็นการบริการความรู้สู่สังคม

 

8.            ตอบสนองหลักเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555

- เป็นโครงการที่สาขาวิชาให้ความเห็นชอบ

- เป็นโครงการที่มีลักษณะตรงกับศาสตร์หรือลักษณะงานการปฏิบัติงานของหน่วยงานนั้น ๆ

- เป็นโครงการอบรมแบบเผชิญหน้า เป้าหมายผู้เข้ารับการอบรมไม่เกิน 150 คน

- เป็นโครงการที่ไม่เป็นภาระผูกพันงบประมาณในระยะยาว

 

9.            กลุ่มเป้าหมาย และผู้ที่มีส่วนได้เสีย

 กลุ่มเป้าหมาย : เยาวชน นิสิตนักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการปลูกป่า

 ปริมาณกลุ่มเป้าหมาย : บุคลากร มสธ. 30 คน ชาวบ้านในท้องถิ่นบางปู 40 คน รวม 70 คน

 พื้นที่กลุ่มเป้าหมาย : จังหวัดสมุทรปราการ ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู)

 ผู้มีส่วนได้เสีย

 ภาคท้องถิ่น: หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

 ภาคประชาชน: ชาวบ้านในท้องถิ่นบางปู เยาวชน นิสิตนักศึกษา บุคคลทั่วไปที่สนใจการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

 ภาคเอกชน: องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (World Wide Fund For Nature) หรือ WWF

 ภาครัฐ:กองทัพบก

 อื่นๆ: บุคคลทั่วไปที่สนใจการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

 

10.    สถานที่ ให้บริการวิชาการ จังหวัดสมุทรปราการ ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู)

 

 

 

 

 

 

 

กำหนดการโครงการ

“มสธ.รักษ์โลก”

โดย สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) จังหวัดสมุทรปราการ

วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน 2555

 

เวลา

กิจกรรม

8.30.

ผู้ร่วมโครงการพร้อมกันที่ อาคารบริการ มสธ.

8.30-9.30.

ออกเดินทางจาก มสธ. ไปยัง ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) จ.สมุทรปราการ

9.30-10.00 น.

รับประทานอาหารว่าง เตรียมความพร้อมก่อนอบรม

10.00-12.00.

ประธานกล่าวเปิดงาน เริ่มการอบรมการอนุรักษ์ป่าชายเลน (ภาคบรรยาย)

12.00-13.00.

รับประทานอาหารกลางวัน

13.00-15.00.

เริ่มการอบรมภาคปฏิบัติ ต่อด้วยกิจกรรมการปลูกป่าชายเลน

15.00-16.30 น.

เดินทางจาก ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) ถึง มสธ. ด้วยความปลอดภัย