ข่าวสารการจัดการความรู้
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง e - Learning วันที่ 18 กันยายน 2555 เวลา 9.30-12.00 น. ณ ห้องประชุม 2604 ชมภาพกิจกรรม
บันทึกความรู้
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง e-Learning
เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2555 ณ ห้องประชุม 1608/1 อาคารบริหาร ชั้น 6
………………………………………………………………………………………………………………………………..
§ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเปลี่ยนจากการใช้ระบบ
A-Tutor มาเป็น Moodle ในการผลิต e-Learning แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้1. มุมมองของศูนย์ e-Learning สำนักเทคโนโลยีการศึกษา ในบทบาทผู้ให้การสนับสนุนให้มีการผลิตสื่อ e-Learning และผู้ดูแลระบบ ได้แสดงความคิดเห็น ดังนี้
1.1 การเปลี่ยนระบบจาก A-Tutor มาเป็น Moodle ไม่ส่งผลต่อผู้ผลิต
1.2 ปัญหาที่พบส่วนใหญ่เป็นเรื่องการสนับสนุนการทำ e-Learning ให้กับอาจารย์ ได้แก่
1) การเตรียมเนื้อหาของอาจารย์
2) การออกแบบเพื่อนำเสนอผ่านระบบ Moodle ซึ่งมีอาจารย์หลายท่านไม่ได้ดูรูปแบบของโปรแกรมที่กำหนดให้ใช้ แต่ได้มีการนำรูปแบบอื่นมาใช้ แต่โปรแกรมในระบบ Moodle ไม่ได้รองรับรูปแบบอื่น
3) การเปลี่ยนแปลงโปรแกรมจาก A-Tutor มาเป็น Moodle ทำให้อาจารย์ไม่ค่อยเต็มใจที่จะผลิต e-Learning
4) การผลิต e-Learning อาจารย์หลายท่านมีความประสงค์จะนำรูปภาพ มาใช้ประกอบการนำเสนอแต่มีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ /อาจารย์บางท่านมีการนำเสนอแต่ตัวหนังสือ โดยไม่มีรูปภาพประกอบทำให้ขาดความน่าสนใจ
5) เรื่องระบบรักษาความปลอดภัย เนื่องจากระบบที่ใช้เป็นแบบ Single sign on หากอุปสรรค/ปัญหาในการเข้าระบบของนักศึกษา เจ้าหน้าที่ไม่สามารถให้การช่วยเหลือได้
6) มีการเปิดชุดวิชาซ้ำ ทำให้ต้องมีการปรับปรุง/พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลทำให้ปริมาณงานเพิ่มมากขึ้นในการให้คำปรึกษา / ดูแลตลอดภาคการศึกษา
2. มุมมองของคณาจารย์
2.1 อาจารย์ให้ความสนใจในการเปลี่ยนมาใช้ Moodle ยังมีน้อย เนื่องจากภาระงานมาก อาจจัดให้มีค่าตอบแทนเป็นแรงจูงใจ
2.2 การเปลี่ยนระบบการผลิต e-Learning อย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้สอนสับสน : ที่จากเดิมเริ่มต้นจากการใช้ A-Tutor ซึ่งอาจารย์บางท่านอยู่ระหว่างการเรียนรู้การใช้ A-Tutor บางท่านเรียนรู้จนเกิดความชำนาญแล้ว แต่มีการพัฒนาต่อเป็น Moodle ทำให้ต้องเรียนรู้ใหม่เป็นการใช้ Moodle
2.3 อาจารย์ยังขาดความรู้/ความชำนาญในการจัดทำบาง Module เช่น การสร้างแบบทดสอบ การสนทนาแบบ Real Time เป็นต้น
2.4 ปัญหาลิขสิทธิ์ เช่น รูปภาพ เอกสารความรู้อื่นๆ เป็นต้น
2.5 การอำนวยความสะดวก การติดต่อสื่อสาร และการประสานงาน ระหว่างสำนักคอมพิวเตอร์ สำนักเทคโนโลยีการศึกษา และอาจารย์ ควรมีการปรับปรุงให้มีความคล่องตัวยิ่งขึ้น
2.6 การเชื่อมต่อระบบผ่าน internet ของมหาวิทยาลัยมีการตัดสัญญาณ ทำให้ไม่สามารถ Chat แบบ real time กับนักศึกษาได้อย่างต่อเนื่อง
3. มุมมองของการให้การสนับสนุนนักศึกษา
3.1 สำหรับนักศึกษาในการใช้ e-Learning ที่เปลี่ยนมาใช้ Moodle นักศึกษามีความไม่พร้อมหลายปัจจัย ได้แก่
1) นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาบางส่วนไม่ความรู้พื้นฐานในการใช้คอมพิวเตอร์
2) นักศึกษาไม่มีความรู้ คำศัพท์ภาษาอังกฤษ เช่น ปุ่มรับคำสั่ง Add, Continue
3) นักศึกษาเข้าระบบไม่ทันเวลาที่ได้นัดหมายไว้
3.2 ข้อมูลมีการ Upload อยู่ในระบบ แต่นักศึกษาไม่สามารถ Download ข้อมูลได้
3.3 ข้อมูลมุ่งเน้นเนื้อหาที่เป็นตัวอักษรเป็นหลัก ทำให้ขาดความน่าสนใจ จึงควรเพิ่มรูปแบบอื่นๆ เช่น รูปภาพ VDO เป็นต้น
§ ข้อควรปรับปรุงในการผลิต e-Learning
1. ในการผลิต e-Learning มีบางชุดวิชานักเทคโนโลยีการศึกษาไม่ได้เข้าร่วมประชุมตลอดจนจบการประชุม
2. ควรปรับปรุงรูปแบบ e-Learning โดยใช้รูปอาจารย์เปลี่ยน acting บ้าง ไม่ใช่ใช้รูปอาจารย์เพียงเสี้ยววินาที แล้วที่เหลือเป็นตัวอักษรทั้งหมด ควรใช้รูปอาจารย์ที่มีการ acting สอนเป็นระยะๆ
§ ข้อควรปรับปรุงเกี่ยวกับการใช้ e-Learning
1. การเข้าถึง e-Learning บางครั้งเข้ายากมาก ดังนั้น ควรมีการบอก space ให้นักศึกษาทราบว่าในการเปิด e-Learning ต้องใช้ option อะไรบ้าง อาทิ ต้องใช้ internet ความเร็วเท่าไหร่
2. เมื่อนักศึกษาเข้ามาใช้จำนวนมากระบบก็จะมีการ log out อาจารย์ออกไป ทำให้นักศึกษารู้สึกว่าอาจารย์ไม่อยู่แล้ว และ log in เข้ามาใหม่ได้ยากมาก ซึ่งปัญหานี้พบทั้งอาจารย์และนักศึกษา
3. ในบาง paper นักศึกษาไม่สามารถ download ได้
§ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การผลิต และการสอนด้วย e-Learning ของอาจารย์แต่ละท่าน
{ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มณฑิชา พุทซาคำ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ ได้กล่าวถึงประสบการณ์ในการจัดทำ e-Learning ของสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ ว่าไม่ได้มีการทำ e-Learning ในทุกชุดวิชา เมื่อมีการเปลี่ยนมาใช้ระบบ Moodle มีความยุ่งยากกว่าการใช้ A-Tutor ทำให้อาจารย์รู้สึกไม่ค่อยชอบที่จะใช้ระบบ Moodle เพราะต้องมีขั้นตอนมากกว่า A-Tutor ข้อเสียของระบบ Moodle ทำให้ไม่เห็นว่าใครคุยอะไรกันบ้าง อาจารย์ comment นักศึกษาแต่ละคนอย่างไรบ้าง ต้อง click ดูทีละคน ซึ่งในระบบ A-Tutor จะแสดงให้เห็นทั้งหมด และมีปัญหากับนักศึกษารุ่นเก่าที่ไม่ได้รับการปฐมนิเทศการใช้ Moodle เหมือนนักศึกษารุ่นใหม่ จึงทำให้มีความรู้สึกว่าใช้ยาก นักศึกษาของสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการใช้ Microsoft ทำให้ไม่เข้าใจในการใช้ Moodle การแก้ปัญหาของอาจารย์ คือ ให้นักศึกษาทำงานส่งอาจารย์ผ่านทาง e-mail
{ อาจารย์ ดร.ขจิตพรรณ มกระธัช สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้กล่าวถึงการทำ
e-Learning ว่านอกจากทำตามที่สำนักเทคโนโลยีการศึกษาให้การฝึกอบรมแล้ว ได้มีการทำ Moodle เพิ่มเติมในส่วนของการเผยแพร่ความรู้ เผยแพร่ข่าวสารในภาพรวมของสาขาวิชาให้กับนักศึกษา ซึ่งเป็นช่องทางผ่าน D4L
{ รองศาสตราจารย์ ดร.เทพศักดิ์ บุญยรัตพันธุ์ จากสาขาวิชาวิทยาการจัดการ ได้กล่าวถึงประสบการณ์ ในการผลิต e-Learning ว่าได้มีการ design ด้วยตนเอง เพิ่มเติมจากที่ได้รับการฝึกอบรมโดยมีการนำ option ต่างๆ เข้ามาเสริม อาทิ การพยามออกแบบให้ e-Learning มีความน่าสนใจ โดยใช้รูปภาพ
จะพบว่าศักยภาพของระบบ Moodle มีน้อยกว่า Facebook ซึ่ง Facebook สามารถใช้เป็นช่องทางสื่อสารกับนักศึกษาได้ดีกว่า และได้รับการตอบรับจากนักศึกษาที่ดีกว่าด้วย ปัญหาที่พบจากการใช้ระบบ Moodle คือ นักศึกษาไม่ทราบว่าจะส่งการบ้านทางไหน
การใช้ e-Learning ของ รศ.ดร.เทพศักดิ์ บุญยรัตพันธุ์ ในปัจจุบัน มีดังนี้
1. จึงใช้สำหรับบอก link ต่างๆ ให้นักศึกษาทราบ เช่น link ไปยัง Facebook ของอาจารย์ซึ่งสามารถเข้าไปถามตอบกับอาจารย์และนักศึกษาท่านอื่นๆได้ ใช้สำหรับให้นักศึกษา download เอกสารการสอน เนื่องจากบางชุดวิชานักศึกษายังไม่ได้รับเอกสารการสอน เป็นต้น
2. ใช้สำหรับเผยแพร่เรื่องราวความรู้ต่างๆ ที่นอกเหนือจากบทเรียน เช่น เรื่องพระพุทธศาสนา เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น
3. ใช้สำหรับ download ข้อมูลต่างๆ เช่น YouTube (สำหรับแสดง case study) MP3, MP4, study guide, file audio, pdf file, URL และตัวอย่างการเขียนตอบข้อสอบ เป็นต้น
จากปัญหาที่พบเกี่ยวกับข้อจำกัดของนักศึกษาใช้ IT ไม่ได้ (มีอยู่ประมาณร้อยละ 5) แต่ก็จะมีเพื่อนๆ และอาจารย์ช่วยสอนและดึงให้เข้ามาใช้ e-Learning
ข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนางานของศูนย์ e-Learning คือ
1. อยากให้ศูนย์ e-Learning มองอาจารย์เป็นลูกค้า คือ ดูแลตั้งแต่ต้นจนจบการผลิต e-Learning
2. อยากเห็นการประกาศข่าวสาร (announcement) ไปถึงตัวผู้สอน
3. ควรจัดทำหน้า web สำหรับแลกเปลี่ยนความรู้ (tip and trick) ในการจัดทำ
e-Learning ของคณาจารย์และเจ้าหน้าที่
4. ควรเผยแพร่ผลการประเมินของนักศึกษาให้คณาจารย์ทราบว่านักศึกษาคิดอย่างไรกับ e-Learning เพื่อคณาจารย์จะได้นำผลการประเมินไปปรับปรุงการผลิต e-Learning ครั้งต่อไป
จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พบจุดเด่น ดังนี้
§ สรุปจุดเด่น e-Learning ของอาจารย์แต่ละท่าน
{ อาจารย์ ดร.ขจิตพรรณ มกระธัช สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1. มี module เพิ่มเติมที่เป็น content สำหรับเผยแพร่ความรู้ ข่าวสารต่างๆ ให้นักศึกษาทราบ
{ รองศาสตราจารย์ ดร.เทพศักดิ์ บุญยรัตพันธุ์ สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
2. มีการดึง social network อาทิ Facebook, YouTube และ Wikipedia มาเสริมศักยภาพให้กับนักศึกษาในการเรียนการสอนผ่าน e-Learning
3. มีการนำรูปภาพต่างๆ เข้ามาเสริม ทำให้ e-Learning น่าสนใจ
สรุปข้อเสนอแนะที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1. ควรชี้แจง/จัดฝึกอบรมการใช้ระบบในการปฐมนิเทศนักศึกษา เพื่อเป็นการจูงใจและให้ความรู้แก่นักศึกษาในการใช้ระบบ
2. ควรมีรูปแบบอื่นๆ เพิ่มเติมในแต่ละชุดวิชานอกเหนือจากเนื้อหาที่เป็นตัวอักษรอย่างเดียว เช่น รูปภาพ MP3 VDO เป็นต้น
3. ให้ศูนย์ e-Learning ทำงานแบบ OSM เพื่อให้คำปรึกษาแก่ผู้สอนแบบเบ็ดเสร็จ ลดการประสานงานหลายขั้นตอน ในกรณีที่ปรึกษาหลายกรณี
4. ให้จัดทำป้ายประกาศ (Announcement) บน Website เพื่อเอื้อประโยชน์แก่ผู้สอน เช่น แนวทางการแก้ปัญหา การให้คำแนะนำในการจัดทำรูปแบบต่างๆ (เช่น จัดทำเป็น Tip & Trick เรื่อง การนำ You Tube มาใช้)
5. ควรจัดทำแบบประเมินรายวิชา เพื่อสอบถามความเห็น และนำข้อมูลไปปรับปรุง/พัฒนาระบบต่อไป
6. การใช้โปรแกรมอื่นๆ เสริม จะช่วยสนับสนุนความน่าสนใจ/การใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น เช่น การใช้ Facebook สามารถส่งข่าวสารให้แก่นักศึกษาได้ดีกว่า เนื่องจากนักศึกษาส่วนใหญ่ใช้ Facebook ในการติดต่อสื่อสารในปัจจุบันมากกว่า หรือการใช้ Skype ในการประชุม เป็นต้น
***********************************************