ความรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้
ที่มาของการจัดการความรู้
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2549
มาตรา 11 ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ ข้อมูลข่าวสาร และสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมาะสมต่อสถานที่ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัด ให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ และมีการเรียนรู้ร่วมกัน
กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ
หน่วยงานต้องได้รับการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อรับสิ่งจูงใจตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ
น้ำหนัก : ร้อยละ | มิติ | ประเด็นการประเมิน |
50 | 1. ด้านประสิทธิผลตามยุทธศาสตร์ | - ผลสำเร็จตามแผนยุทธศาสตร์ |
10 | 2. ด้านคุณภาพการให้บริการ | - คุณภาพการให้บริการ |
10 | 3. ด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ | - การลดค่าใช้จ่าย |
30 | 4. ด้านการพัฒนาองค์กร | - การบริหารความรู้ในองค์กร |
ความหมาย ของคำว่า
"ความรู้ "
ความรู้ คือ
สิ่งที่สะสมมาจากการศึกษาเล่าเรียนการค้นคว้าหรือประสบการณ์
รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติ
และทักษะ ความเข้าใจหรือสารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์
สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือการปฏิบัติองค์วิชาในแต่ละสาขา
ความรู้ … ในรูปปิรามิด…
….มุมมอง…ของ Dave Snowden
ระดับความรู้
1. ความรู้เฉพาะคน Individual Knowledge
2. ความรู้องค์กร Organizational Knowledge
3. ความรู้ที่เป็นระบบ Structural Knowledge
ประเภทของความรู้
Tacit Knowledge ความรู้ในตัวคน
เกิดจากประสบการณ์ การเรียนรู้ พรสวรรค์ต่างๆ ซึ่งสื่อสารหรือถ่ายทอดในรูป |
Explicit Knowledge
ความรู้เป็นเหตุเป็นผล สามารถรวบรวม
และถ่ายทอดในรูปแบบต่างๆ ได้ เช่น หนังสือ คู่มือ เอกสาร |
ความรู้ประเภท Tacit และประเภท Explicit มีอัตราส่วนเป็น 80 : 20 สามารถเปลี่ยนสถานะได้ตลอดเวลา |
กระบวนการทำให้เกิดความรู้ใหม่ Knowledge Spiral หรือ SECI Model
เป็นกระบวนการปรับเปลี่ยนและสร้างความรู้ มี 4 รูปแบบ |
รูปแบบที่ 1 Socialization |
รูปแบบที่ 2 Externalization |
รูปแบบที่ 3 Combination |
รูปแบบที่ 4 Internalization |
คิดค้นโดย Ikujiro Nonaka และ Takeuchi |
นิยามของการจัดการความรู้ : ข้อเสนอแนะสำหรับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
การจัดการความรู้ (KM)
คือ การจัดการในเรื่องที่สำคัญ
จำเป็นต่อการดำเนินงานขององค์กรโดยใช้มิติกระบวนการความรู้ เพื่อให้เกิดความรู้ใหม่แล้วนำมาใช้ในการปฏิบัติงานจนเกิดประสิทธิภาพ
บรรลุเป้าหมายทำให้องค์กรสามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ในสภาวะที่เปลี่ยนแปลงไป