เว็บไซต์การจัดการความรู้ของ มสธ. ยินดีต้อนรับ | Log in | สมัครสมาชิก

ความรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้

 

แนวทางการจัดการความรู้ของมสธ.

11/10/2014อ่าน 2631  

 

แนวทางการจัดการความรู้ของมสธ.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อาจจัดการความรู้ได้ 2 แนวทาง

  1. หน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวกับงานด้านวิชาการ อาจจะจัดการความรู้ในลักษณะ คลังความรู้ โดยการสร้าง จัดหา และนำความรู้ขององค์กรมาจัดเก็บให้เป็นระบบสะดวกแก่การสืบค้น และนำไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน เพื่อยกระดับ ปรับปรุง และพัฒนาการดำเนินงานของ
    องค์กรให้สามารถอยู่รอดและแข่งขันได้

2.       หน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวกับงานด้านปฏิบัติการ หน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการให้บริการงานต่างๆ
อาจจะจัดการความรู้ที่จำเป็นแก่หน่วยงาน โดยวิเคราะห์กระบวนการทำงานตามภารกิจแล้วร่วมมือกันดำเนินการ
จัดการความรู้ เพื่อให้ได้มาซึ่งวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ หรือได้ฐานข้อมูลที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน นำไปสู่การปรับใช้ในองค์กร
เพื่อช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 

การพัฒนาความรู้

1. ขั้นแลกเปลี่ยนความรู้ Knowledge Sharing Stage data
    ความรู้มีอยู่ในแต่ละบุคคล     นำมาแลกเปลี่ยนกัน

2. ขั้นการจัดการความรู้ Knowledge Management system Stage
    องค์เห็นว่าควรมีการพัฒนาความรู้    เพื่อให้เข้าถึงได้ง่าย
      นำความรู้นั้นมาใช้ในการปฏิบัติเป็น information ประจำ
      กลืนเป็นเนื้อเดียวกับงาน

3. ขั้นการสร้างองค์ความรู้ Knowledge Creation Stage
    องค์ใช้ประโยชน์ต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่ สร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าต่อองค์กร
(Value) เพื่อรักษาความ สามารถหลักให้ยั่งยืน


องค์ประกอบสำคัญในการสร้างระบบ KM
คน แหล่งความรู้ และเป็นผู้นำความรู้ไปใช้เทคโนโลยี มีเครื่องมือ ช่วยเก็บ ช่วยในการค้นหา แลกเปลี่ยน นำความรู้ไปใช้ได้โดยง่ายกระบวนการความรู้ เป็นการนำความรู้จากแหล่งความรู้ต่างๆ จากผู้ใช้ เพื่อปรับปรุง เชื่อมโยง ต่อยอดเปลี่ยนแปลง หรือเกิดความรู้ใหม่

ความสำเร็จในการทำ KM
Small Start, Success then Expansion

เริ่มจากเล็กๆ เมื่อประสบความสำเร็จแล้วขยายผล * ที่สุดของที่สุด *
ทำงานเป็นทีม (Teamwork) ทีม หมายถึง ทุกคนในที่ทำงานมิได้หมายถึง คณะกรรมการ * ถ้าเข้าใจตรงกัน รับรองผลได้แน่นอน *

……….. Knowledge is Power ………….

KM ทำให้เกิด ?

แนวทางการกำหนด ขอบเขต และ เป้าหมาย KM

 

ข้อเสนอแนะขั้นตอนของการจัดการ

ความรู้ ( KM )

1. ระดมสมอง ระบุอุปสรรคการทำงาน/ความผิดพลาดในงาน/ความไม่คล่องตัวของกระบวนการทำงานแล้วทำการวิเคราะห์สาเหตุร่วมกัน
* ต้องเป็นเรื่องที่เราสามารถแก้ปัญหาได้ มองเห็นความสำเร็จ ถ้าได้ทำร่วมกัน ทำแล้วส่งผลต่อการพัฒนางานในหน่วยงาน*

2.กำหนดเป็นขอบเขต KM ที่จะทำ ( กระบวนการทำงานใดที่ควรทำ KM )

  1. กำหนดเป้าหมายในการทำ KM ( โดยเริ่มจากจุดเล็กๆ )
  2. จัดทำแผน ( กำหนดว่าใคร ต้องทำอะไร เสร็จเมื่อไร ผลที่ได้คืออะไร )
  3. ดำเนินการตามแผน
  4. ทดลองใช้ แก้ไขปรับปรุง
  5. ตกลงร่วมกันนำสิ่งที่คิดค้นมาใช้ในงานตามปกติ
  6. ประเมินผล
  7. ปรับปรุง

10.   อาจจัดทำเป็นคู่มือ หรือ ฐานความรู้

องค์กรแห่งการเรียนรู้ ( Learning Organization)
เป็นรูปแบบการบริหารในการพัฒนาองค์กร ให้มีความคิดริเริ่ม (Creative Organization) ความเป็นผู้นำ (Leadership)
ความคิดเข้าใจเชิงระบบ (Systems Thinking) การเรียนรู้เป็นทีม (Team Learning) ในการขับเคลื่อนภารกิจให้สำเร็จตามเป้าหมาย
การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ องค์กรจะต้องมีการปรับเปลี่ยนและค้นหาวิธีการใหม่ๆ ในการดำเนินกิจการ เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการดำเนินงานขององค์กร การที่องค์กรจะสามารถเรียนรู้เพื่อพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิผลนั้น ต้องมีการจัดการความรู้ควบคู่ไปด้วยเสมอ
การจัดการความรู้ที่หน่วยงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัย เริ่มทำกันในปี 2549 นี้ ไม่มีผิดมีถูกเพียงแต่ในระยะเริ่มต้นองค์กร
ุมุ่งหวังผลทางตรง ตรงกับภารกิจตรงตามเป้าหมายขององค์กร เมื่อได้มีการจัดการความรู้ไปได้ระยะหนึ่ง สิ่งที่ควรจะเกิดขึ้นก็คือ
หน่วยงานมีทักษะในการจัดการความรู้เพื่อให้การทำงานมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทุกอย่างถูกกลืนไปในเนื้องานตามปกติ
ไม่เป็นการเพิ่มภาระการทำงาน แต่จะเป็นส่วนหนึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งในการทำงาน เมื่อถึงตอนนั้นคงไม่ต้องมาพูดเน้นถึง KM อีกแล้ว
KM เป็นเครื่องมือหนึ่งเท่านั้นที่สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาการทำงานในองค์กร เพื่อก้าวไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

แบบฟอร์มที่ 1 กระบวนงาน
แบบฟอร์มที่ 2 การกำหนดขอบเขต
แบบฟอร์มที่ 3 แผนการทำ KM

แนวทางการจัดการความรู้ของหน่วยงาน

  1. หน่วยงานกำหนดสิ่งสำคัญ ที่หน่วยงานต้องทำให้สำเร็จตามวิสัยทัศน์ของหน่วยงาน แล้วจัดลำดับ
  2. สำรวจและวิเคราะห์ความชำนาญของบุคลากรในหน่วยงานเพื่อสร้างความรู้ โดยมุ่งเน้นความรู้ที่มีความสำคัญต่อการดำเนินงาน
    ของหน่วยงานตามวิสัยทัศน์
  3. การนำความรู้มาถ่ายทอดเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน จนเกิดเป็นทักษะ ความชำนาญของตนเองส่งผลให้งานมีประสิทธิภาพและ
    ประสิทธิผล
  4. การวัดประเมินผล เป็นการวัดความคืบหน้าการดำเนินงานเป็นไปตามที่คาดไว้หรือไม่ ส่งผลกระทบต่อวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย
    อย่างไรบ้าง

    ขบวนการจัดการความรู้ของหน่วยงาน

    1. ค้นหาความรู้ ความรู้มีอยู่ที่ใครบ้าง ความรู้อะไรที่มีความจำเป็นต้องใช้
    2. รวบรวมและจัดทำเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้ใช้ ถ้าไม่มีต้องสร้าง และควรกำจัดความรู้ที่ล้าสมัย ไม่จำเป็น เพื่อลดความสิ้นเปลือง
      ในการจัดเก็บ
    3. วางระบบการจัดเก็บ ให้สามารถค้นคว้าได้ง่าย รวดเร็ว เหมาะสมกับกลุ่มผู้ใช้งาน
    4. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เช่น จัดตั้งชุมนุมนักปฏิบัติ จัดเวทีแลกเปลี่ยน
    5. หน่วยงานดำเนินการกระตุ้น การเรียนรู้ของบุคลากรในการนำความรู้ไปใช้ในการทำงานเพื่อปรับปรุงหน่วยงาน โดยจากการ
      แสดงผลงานที่ได้นำความรู้ไปใช้

         6. การวัดประเมินผล

    แนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการจัดการความรู้ระดับมหาวิทยาลัย

    1. จัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ ให้บุคลากรของมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ครั้ง
    2. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ หน่วยงานนำร่อง จำนวน 11 หน่วยงาน
    3. เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้ ใน Web KM
    4. รณรงค์ให้บุคลากรสมัครเป็นสมาชิกเครือข่ายการจัดการความรู้ผ่าน Web KM
    5. จัดทำช่องทางแสดงความคิดเห็นผ่าน Web KM
    6. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้บุคลากรภายใน
    7. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงานภายนอกเกี่ยวกับการจัดการความรู้
    8. จัดประกวด Logo และคำขวัญการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัย
    9. จัดทำตัวชี้วัด ความคืบหน้าในการดำเนินงาน (ความสำเร็จโครงการโดยรวม)
    10. จัดวางระบบการยกย่อง ชมเชย
    11. จัดวางระบบติดตามประเมินผล การจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัย
    12. ดำเนินการวางรูปแบบการจัดทำแผนการจัดการความรู้ ปี 2550
    13. จัดประชุมคณะกรรมการนโยบาย การจัดการความรู้ ระดับมหาวิทยาลัย
    14. จัดประชุมคณะกรรมการ จัดการความรู้ ระดับมหาวิทยาลัย
       15. ดำเนินการทบทวนยุทธศาสตร์ การจัดการความรู้
     
    ย้อนกลับ