ฉบับที่ 2 ประจำเดือน มีนาคม 2548

 

การเขียนบทคัดย่อ

               นักวิจัยมือใหม่ส่วนมากมักจะประสบปัญหาในการเขียนบทคัดย่อในการวิจัย จึงทำให้เกิดข้อสงสัยว่า บทคัดย่อคืออะไร ? จะเขียนอย่างไร ? เขียนแค่ไหน ? เพราะรายงานการวิจัยบางฉบับก็สั้น บางฉบับก็ยาว แล้วเราจะเขียนอย่างไร

คำตอบก็คือ

บทคัดย่อ ( Abstract) เป็นข้อความที่เขียนสรุปย่อเนื้อหาในรายงานการวิจัยทั้งหมดอย่างสั้น ๆ กะทัดรัดได้ใจความมากที่สุด เพื่อที่จะให้ผู้อ่านทำความเข้าใจเนื้อหาในภาพรวมอย่างย่อ ๆ ก่อนที่จะตัดสินใจว่า จะศึกษารายละเอียดของรายงานการวิจัยฉบับนั้นต่อไปหรือไม่ โดยบทคัดย่อจะครอบคลุมเนื้อหาของรายงานการวิจัยตั้งแต่ปัญหาการวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย วิธีการดำเนินการวิจัย และผลการวิจัยที่สำคัญ ๆ โดยสังเขป นอกจากนี้ ควรมีข้อเสนอแนะจากการวิจัยด้วย

ทั้งนี้เนื้อหาจะต้องสมบูรณ์อยู่ในตัว โดยไม่มีการอ้างอิงเนื้อหา ตาราง หรือภาพใด ๆในส่วนต่าง ๆ ของรายงาน หรือไม่มีการวิจารณ์ประเด็นต่าง ๆ เพิ่มเติมอีก และจะไม่ระบุสิ่งที่ไม่ได้ปรากฏอยู่ในเนื้อหาของรายงานการวิจัย

การเขียนบทคัดย่อ อาจเขียนข้อความติดต่อกันไปตลอด หรือแยกออกเป็นแต่ละย่อหน้าก็ได้ โดยทั่วไปจะแยกออกเป็น 2-3 ย่อหน้าเป็นอย่างมาก (ดังรูปแบบการนำเสนอบทคัดย่อ ภาพที่ 1 และตัวอย่างที่ 1 ตัวอย่างบทคัดย่อ ) และความยาวของบทคัดย่อควรประมาณหนึ่งหน้าถึงหนึ่งหน้าครึ่งของหน้ากระดาษขนาด A4 แต่ไม่ควรเกินสองหน้ากระดาษ บทคัดย่อในรายงานการวิจัยที่เป็นภาษาไทย ควรเขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

 

จากตัวอย่างบทคัดย่อที่กล่าวไว้ข้างต้น จะเห็นว่าไม่ยากเลย คุณลองเขียนดูซิค่ะ ไว้พบกันฉบับหน้า ถ้าคุณมีบทความวิจัยที่จะนำเสนอ ก็รีบๆ ส่งมานะค่ะ

ส่วนการส่งบทความวิจัยนั้น ขอให้ท่านเขียนบทความที่มีความยาวไม่เกิน 2 หน้ากระดาษขนาด 4A โดยนำเสนอสิ่งที่เป็นสาระสำคัญเท่านั้นค่ะ เนื่องจากความจำกัดในเนื้อที่ ซึ่งหัวข้อของบทความที่นำเสนอ มีดังนี้

•  ชื่อเรื่อง (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)

•  ชื่อผู้วิจัย (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)

•  คุณวุฒิ ตำแหน่ง สถานที่ทำงานของผู้วิจัย

•  บทคัดย่อภาษาไทย

•  ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

•  วัตถุประสงค์ของการวิจัย

•  สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี)

•  วิธีดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล

•  ผลการวิจัย

•  สรุปผลการวิจัย การอภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

•  เอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม โดยยึดการเขียนเอกสารอ้างอิงตามรูปแบบของ APA

 

เอกสารอ้างอิง :

ธวัชชัย วรพงศธร หลักการวิจัยทั่วไปพร้อมตัวอย่างทางสาธารณสุข กทม. : สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2536

พรทิพย์ เกยุรานนท์ “ หน่วยที่ 14 รายงานการวิจัยและการเผยแพร่งานวิจัย ” ใน ชุดวิชาสถิติและการวิจัยสำหรับวิทยาศาสตร์สุขภาพ เล่มที่ 3 นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2547

สำลี คิมนารักษ์ “ การศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลว ิชาชีพ โรงพยาบาลนครปฐม ” วิทยานิพนธ์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต แขนงวิชาเอกสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2545