![]() |
||
แหล่งที่มาของปัญหาการวิจัยโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรางคณา ผลประเสริฐ การทำงานต่าง ๆ นั้น อาจจะต้องการข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจและการวางแผนงานต่างๆ ดังนั้น แหล่งที่มาของปัญหาการวิจัยอาจหาได้จากแหล่งต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1. ตัวผู้วิจัยเองหรือหน่วยงานของผู้วิจัย บางครั้งหัวข้อของการวิจัยอาจจะได้มาจากการที่หน่วยงานของผู้วิจัย หรือตัวผู้วิจัยเองกำลังประสบปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการทำงาน และต้องการที่จะทำการศึกษาค้นคว้าวิจัยหาคำตอบออกมาให้ได้ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการวางแผนแก้ปัญหานั้น เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลมีหน้าที่หลักในการให้บริการระดับปฐมภูมิแก่ประชาชนในเขตความรับผิดชอบ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีข้อมูลด้านภาวะสุขภาพของคนในชุมชน ข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ วัฒนธรรมสุขภาพ และข้อมูลอื่นๆ ที่มีผลต่อสุขภาพของคนในชุมชน เพื่อนำข้อมูลมาเป็นแนวทางในการพัฒนาการปฏิบัติงาน/ การให้บริการและดูแลสุขภาพของคนในชุมชน เป็นต้น 2. จากเอกสารงานวิจัยหรือการค้นคว้าจากหนังสือ การอ่านหรือค้นคว้าเอกสารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือหรือวารสารเกี่ยวกับแนวคิดทฤษฎี ตลอดจนผลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง จะช่วยให้ผู้วิจัยเกิดแนวความคิดในการทำวิจัยในประเด็นใหม่ๆ ขึ้นมา เช่น อาจเกิดความสงสัยหรือมีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกับข้อค้นพบเดิมหรือแนวความคิดทฤษฎีที่มีอยู่เดิม ทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาหาข้อเท็จจริงหรือต้องการตรวจสอบทฤษฎีหรือแนวความคิดเดิมในอดีต ว่ายังคงใช้กับสถานการณ์ในปัจจุบันได้หรือไม่ นอกจากนี้ การอ่านทบทวนผลงานวิจัยในอดีตจะทำให้ผู้วิจัยมองเห็นจุดอ่อนหรือประเด็นที่ควรศึกษาเพิ่มเติมต่อไป และการอ่านเอกสารหรือนโยบายและแผนพัฒนาต่างๆ เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ แผนปฏิบัติการชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ แผนปฏิบัติการประจำปี ฯลฯ ก็มีส่วนช่วยให้ผู้วิจัยมองเห็นประเด็นที่เป็นปัญหาที่จะนำมาทำการวิจัยได้เช่นกัน 3. การเข้าร่วมสัมมนาประชุมในเรื่องต่างๆ อาจมีปัญหาหรือข้อสงสัยต่างๆ ที่ต้องการคำตอบโดยการทำวิจัย ซึ่งยังหาคำตอบไม่ได้ หรือมีประเด็นต่างๆ ที่กำลังเป็นปัญหาและต้องการหาคำตอบ เช่น การเปลี่ยนโครงสร้างของหน่วยงานด้านสุขภาพ การบริหารงบประมาณในการดูแลสุขภาพของประชาชน ฯลฯ 4. ผู้นำหรือนักวิชาการ การปรึกษาหารือหรือพูดคุยกับผู้นำหรือนักวิชาการต่างๆ เช่น อาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย หรือนักวางแผน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทำให้ผู้วิจัยเกิดมุมมองบางประการเกี่ยวกับประเด็นที่ควรทำวิจัย ทั้งนี้เนื่องจากบุคคลเหล่านี้ มักจะเป็นผู้ที่คลุกคลีอยู่กับความรู้ ประสบการณ์และปัญหาต่างๆ นั้นมาเป็นเวลาช้านาน พอที่จะทราบรายละเอียดหรือประเด็นปัญหาที่สมควรแก่การศึกษาค้นคว้าด้วยการทำวิจัย 5. แหล่งอุดหนุนทุนการวิจัย โดยปกติแหล่งสนับสนุนทุนการวิจัย มักจะกำหนดหัวข้อการวิจัยมาให้ ซึ่งการกำหนดหัวข้อนั้นอาจเป็นการกำหนดหัวข้ออย่างกว้างๆ หรือเฉพาะเจาะจงลงไป ทำให้ผู้วิจัยมีแนวคิดในการกำหนดหัวข้อที่จะทำการวิจัย เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จะให้ทุนการวิจัยในส่วนที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศหรือยุทธศาสตร์ของจังหวัด สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จะให้ทุนการวิจัยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ เป็นต้น
หลักเกณฑ์ในการเลือกหัวข้อปัญหา
2. ด้านปัญหาที่จะทำการวิจัย
ดังนั้น ในการที่จะทำวิจัยผู้วิจัยต้องทราบถึงปัญหาที่จะทำการวิจัย ตลอดจนวิเคราะห์ว่าปัญหาที่ทำการวิจัยนั้นมีความสำคัญ และผู้วิจัยมีศักยภาพในการทำวิจัยได้สำเร็จ ....................................... เอกสารอ้างอิง ปาจรีย์ ผลประเสริฐ และคณะ. (2551). “เอกสารศึกษาการวิจัยและการเขียนบทความ.” เอกสารประกอบการบรรยายหลักสูตรการบริหารงานตำรวจชั้นสูง. พิมพ์ครั้งที่ 3, ม.ป.ท.
............................................. |
||
![]() |