![]() | ||||||||||||||
การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์
|
ASSESS |
1. Start with the patient -- a clinical problem or question arises from the care of the patient |
ASK |
2. Construct a well built clinical question derived from the case |
ACQUIRE |
3. Select the appropriate resource(s) and conduct a search |
APPRAISE |
4. Appraise that evidence for its validity (closeness to the truth) and applicability (usefulness in clinical practice) |
APPLY: |
5. Return to the patient -- integrate that evidence with clinical expertise, patient preferences and apply it to practice |
Self-evaluation |
6. Evaluate your performance with this patient |
ภาพที่ 2 ขั้นตอนในกระบวนการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์
ที่มา: Schardt, C. and Mayer, J. 2010
3.1 การประเมินผู้ป่วย/ผู้รับบริการ (Assess the patient) เริ่มจากการประเมินปัญหาของผู้ป่วย หรือกำหนดปัญหาจากการดูแลผู้ป่วยหรือการให้บริการที่ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง
3.2 การตั้งคำถาม (Ask the question) เป็นการตั้งคำถามเพื่อใช้ในการหาคำตอบต่อปัญหาในข้อ 2.1 ซึ่งอาจเป็นคำถามเกี่ยวกับวิธีการดูแลผู้ป่วยที่ดีที่สุด ในด้านการวินิจฉัยโรค วิธีการรักษา การพยากรณ์โรค ต้นเหตุของการเกิดโรคและการป้องกัน ผลลัพธ์ด้านสุขภาพ ค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ เป็นต้น
3.3 การสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ (Acquire the evidence) เป็นการเลือกแหล่งสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ เช่น ใช้เว็บไซต์ PubMed และทำการค้นคว้า/ศึกษาวิจัยด้วยวิธีที่เหมาะสม ซึ่งวิธีการศึกษาวิจัยมีหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบมีความแม่นตรงและความลำเอียงของหลักฐานเชิงประจักษ์นั้นแตกต่างกัน ดังภาพที่ 3 เป็นปิรามิดแสดงลำดับชั้นของวิธีการศึกษาวิจัย โดยด้านฐานของปิรามิดจะเป็นการศึกษาที่เริ่มจากความคิดหรือวิจัยในห้องปฏิบัติการที่ทำกับสัตว์ทดลอง และชั้นสูงขึ้นไปตามลำดับ เป็นการรายงานกรณีศึกษา การศึกษาแบบ Case Control การศึกษาแบบติดตามระยะยาว การทดลองโดยสุ่มตัวอย่างและมีกลุ่มควบคุม และการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ ส่วนที่ยอดปิรามิด คือ การสังเคราะห์งานวิจัย ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการศึกษาที่ให้ผลแม่นตรงมากที่สุด และมีความลำเอียงน้อยที่สุด
ภาพที่ 3 ปิรามิดของวิธีการศึกษาวิจัยเพื่อให้ได้หลักฐานเชิงประจักษ์
ที่มา: Schardt, C. and Mayer, J. 2010
3.4 การประเมินหลักฐานเชิงประจักษ์ (Appraise the evidence) เป็นการประเมินหลักฐานเชิงประจักษ์ ด้านความแม่นตรงและความสามารถในการประยุกต์ใช้ได้จริง
3.5 การนำไปใช้ (Apply: talk with the patient) เป็นขั้นตอนที่บุคลากรด้านสุขภาพนำหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ผ่านการพิจารณาว่าดีที่สุดไปใช้ในการดูแล/ให้บริการเพื่อแก้ไขปัญหา โดยสิ่งนั้นต้องตรงกับความต้องการของผู้ป่วย/ผู้รับบริการด้วย
3.6 การประเมินผล (Evaluation) เป็นขั้นตอนที่บุคลากรสุขภาพประเมินผลการดูแลผู้ป่วยหรือผู้รับบริการ เพื่อที่จะก่อให้เกิดการปรับปรุงพัฒนา หรือยึดเป็นแนวปฏิบัติหรือมาตรฐานการปฏิบัติต่อไป
บทสรุป
จากการกล่าวถึงความหมาย ความสำคัญ และกระบวนการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ จะเห็นได้ว่าแนวคิดและแนวปฏิบัติดังกล่าวเป็นสิ่งที่ดีและก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนผู้รับบริการ ตลอดจนการพัฒนาของแต่ละวิชาชีพในวงการด้านสุขภาพ ทั้งนี้จากการได้อ่านวารสารต่างประเทศจะพบว่าบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในปัจจุบันจะมีลักษณะที่เป็นการศึกษาแบบการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systematic Review) และการสังเคราะห์งานวิจัย (Meta-Analysis) จำนวนมาก ซึ่งจากการจัดลำดับตามปิรามิดจะถือว่าผลการศึกษาทั้งสองแบบดังกล่าวมีความแม่นตรงมาก และมีความลำเอียงน้อย เนื่องจากเป็นวิธีการศึกษาที่นำผลการวิจัยที่ตีพิมพ์หรือเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ทำการศึกษาในประเด็นคำถามที่สนใจในหลากหลายกลุ่ม และมีคุณภาพตามเกณฑ์มาวิเคราะห์หรือสังเคราะห์อย่างเป็นระบบ ทำให้ได้ข้อสรุปหรือหลักฐานเชิงประจักษ์ที่น่าเชื่อถือที่สามารถนำไปใช้ต่อยอดเป็นแนวปฏิบัติได้ เมื่อเปรียบเทียบกับงานตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารประเทศไทย พบว่าส่วนใหญ่ยังเป็นงานวิจัยในแต่ละกลุ่ม เป็นกรณีศึกษา หรือเป็นแบบ Case Control หรือแบบทดลองที่มีการสุ่มและมีกลุ่มควบคุมเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากงานวิจัยที่เน้นวิธีการวิจัยที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ยังมีไม่มาก อีกทั้งการตีพิมพ์เผยแพร่งานวิจัยยังมีน้อย การสืบค้นวรรณกรรมการวิจัยยังมีข้อจำกัด รวมทั้งยังขาดทีมที่มีความพร้อมด้านเวลา ทักษะ และทรัพยากรในการทำการศึกษาด้วยวิธีการวิเคราะห์หรือสังเคราะห์งานวิจัยอย่างเป็นระบบ แนวทางการพัฒนาในอนาคตสำหรับประเทศไทย ภายใต้ข้อจำกัด ควรเริ่มจากบุคลากรด้านสุขภาพควรอ่านทบทวนวรรณกรรมในการวิจัยให้มากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีหลักในการพิจารณาคุณภาพและความน่าเชื่อของผลการวิจัย เพื่อที่จะได้นำองค์ความรู้จากการทบทวนวรรณกรรมการวิจัยที่น่าเชื่อถือมาประยุกต์ในการทำงาน รวมทั้งทำการวิจัยต่อยอดจากงานวิจัยที่ผ่านมา หรือนำหลักฐานเชิงประจักษ์มาพัฒนาเป็นแนว/มาตรฐานการปฏิบัติ โดยมีการประเมินผลการใช้และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ก็ถือว่าเป็นการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ นอกจากนี้หน่วยงานต่างๆ ทั้งสถานบริการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข สถาบันการศึกษา ฯลฯ ควรมีระบบการส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรด้านสุขภาพยึดหลักการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ ด้วยการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดทีมวิจัย มีการพัฒนาทักษะการทำวิจัย มีทีมพี่เลี้ยงสนับสนุน มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่การวิจัย รวมถึงมีระบบการให้รางวัลและแรงจูงใจในการทำวิจัยและการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ อย่างเหมาะสม
....................................................................
เอกสารอ้างอิง
Guyatt, G. Rennie, D. Meade, MO, Cook, DJ. (2008). Users' Guide to Medical Literature: A Manual for Evidence-Based Clinical Practice, 2nd Edition.
Sackett, D. (19960. “Evidence-based Medicine - What it is and what it isn't”. BMJ.; 312:71-72. Retieved from http://www.bmj.com/cgi/content/full/312/7023/71
Schardt, C. and Mayer, J. (2010). “What is Evidence-Based Practice (EBP)?”. Retieved from http://www.hsl.unc.edu/Services/Tutorials/EBM/welcome.htm. Revised July 2010.