หน้าแรก
จิตสังคมผู้สูงอายุ
สิทธิผู้สูงอาย
ปกิณกะ-สาระ-บันเทิง
สุขภาพผู้สูงอายุ
การจัดการการเงินสำหรับผู้สูงอายุ
ธรรมสร้างสุข
 
 
 

การรับมือของผู้สูงอายุเมื่อเผชิญกับภาวะสูญเสีย
รองศาสตราจารย์อำไพรัตน์  อักษรพรหม
สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์   มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

   ผู้สูงอายุเป็นวัยที่ผ่านชีวิตมามาก และมีประสบการณ์ต่างๆ ในชีวิต รวมทั้งประสบการณ์การสูญเสีย กระนั้นก็ตามการสูญเสียก็เป็นภาวะที่ผู้สูงอายุทุกท่านไม่พึงประสงค์ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียที่เป็นไปตามธรรมชาติที่คาดการณ์ได้ เช่นการเสียชีวิตของคู่สมรส เป็นต้น หรือการสูญเสียอย่างเฉียบพลันโดยไม่คาดคิด เช่น การประสบภัยต่างๆที่ทำให้สูญเสียทรัพย์สิน เป็นต้น

  ________________________________________________
 

การนอนหลับอย่างมีคุณภาพของผู้สูงอายุ
อาจารย์นิภาภัทร อยู่พุ่ม
สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

   การนอนหลับ  หมายถึง  สภาวะที่ไม่รับรู้ต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมเป็นกระบวนการทางสรีรวิทยาที่ซับซ้อนสอดคล้องกับจังหวะการทำงานและการทำหน้าที่ของร่างกายที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติมีประโยชน์ต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต มนุษย์ใช้เวลาหนึ่งในสามของเวลาทั้งหมดในชีวิตไปกับการนอนหลับ

  ________________________________________________
 

การครองตนในครอบครัวอย่างมีความสุขของผู้สูงอายุ
รองศาสตราจารย์ ดร.เจียรนัย  ทรงชัยกุล
สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

   ผู้สูงอายุโดยทั่วไปจะดำรงชีวิตอย่างมีความสุขตามอัตภาพได้นั้น  มีสาเหตุพื้นฐานที่สำคัญบางประการมาจากการที่ผู้สูงอายุมีสุขภาพแข็งแรง  พึ่งพาตนเองได้ทางเศรษฐกิจ และจัดการด้าน  ที่อยู่อาศัยของตนเองได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ การที่ผู้สูงอายุจะดำเนินชีวิตร่วมกันกับสมาชิกในครอบครัวอย่างมีความสุขทางใจได้นั้น  ผู้สูงอายุจำเป็นต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีอย่างต่อเนื่องกับสมาชิกในครอบครัวทุกคน  ซึ่งอาจจะประกอบไปด้วย  คู่สมรส ลูก หลาน ญาติ มิตร และผู้ดูแล   เป็นต้น

  ________________________________________________
 

การดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าของของผู้อายุ
รองศาสตราจารย์ ดร.เจียรนัย  ทรงชัยกุล
สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

   ประเทศไทยมีประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปเป็นจำนวนมาก และผู้สูงอายุเป็นกลุ่มประชากรที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องเรื่อยมา จากจำนวนประชากรไทยทั้งหมด มีผู้สูงอายุจำนวน 2.8 ล้านคนหรือร้อยละ 5.6 ในปี 2528 มาเป็นจำนวนประมาณ 3.4 ล้านคน หรือร้อยละ 6.1 ในปี 2533   จำนวน 5.5 ล้านคน หรือร้อยละ 9.0 ในปี 2543  จำนวน 6.3 ล้านคน หรือร้อยละ 9.8 ในปี 2548  และยังมีการคาดประมาณด้วยว่าในปี 2568 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุมากเป็นลำดับที่ 5 ในทวีปเอเซีย  ซึ่งมีจำนวนประมาณ 13.9 ล้านคน

  ________________________________________________
 

การผ่อนคลายความเครียดสำหรับผู้สูงอายุ
อ.ดร.นิธิพัฒน์  เมฆขจร
สาขาวิชาศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

   ความเครียด คือ การหดตัวของกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนของร่างกาย ซึ่งทุกคนจำเป็นต้องมีอยู่เสมอในการดำรงชีวิต เช่น การทรงตัว เคลื่อนไหวทั่วๆ ไป ทุกครั้งที่เราคิดหรือมีอารมณ์บางอย่างเกิดขึ้นจะต้องมีการหดตัว เคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อแห่งใดแห่งหนึ่งในร่างกายเกิดขึ้นควบคู่เสมอ ความเครียดเกิดจาก สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดการปรับตัว และถ้าไม่สามารถปรับตัวได้จะทำให้เกิดความเครียด

  ________________________________________________
 

เพศสัมพันธ์ในผู้สูงอายุ
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรีนวล  สถิตวิทยานันท์
สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

   เมื่อกล่าวถึงเพศสัมพันธ์หลายคนอาจคิดว่า เป็นเรื่องที่ไม่น่านำมาพูดถึงโดยเฉพาะในวัยสูงอายุเรื่องเหล่านี้ควรหมดไปได้แล้ว  แต่โดยความเป็นจริงเรื่องเพศสัมพันธ์เป็นธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต

  ________________________________________________
 

การชะลอภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ
อาจารย์เรณุการ์  ทองคำรอด
สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

   สมองเสื่อมเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุโดยจำนวนอายุที่เพิ่มมากขึ้นจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้เพิ่มขึ้นด้วย โดยพบว่าผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 60-69 ปี จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคสมองเสื่อม 1% อายุ 70-79 ปี มีความเสี่ยง 3% อายุ 80-89 ปี มีความเสี่ยง 10% และผู้สูงอายุที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป

  ________________________________________________
 

ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
อาจารย์เรณุการ์  ทองคำรอด
สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

   บุคคลเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุจะมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้นมากมายทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสิ่งแวดล้อม ผู้ที่ไม่สามารถปรับตัว ปรับใจต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้ได้

  ________________________________________________
 

การสร้างความสุขในผู้สูงอายุ
รองศาสตราจารย์ ดร.พรทิพย์ เกยุรานนท์
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

   เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ผู้สูงอายุทุกคนจำเป็นต้องเอาใจใส่ดูแลตนเองให้มากขึ้น ไม่ใช่แต่ตัวผู้สูงอายุเองเท่านั้น ลูกหลานก็ต้องเอาใจใส่ในการดูแลผู้สูงอายุเป็นอย่างดีด้วยเช่นกัน

  ________________________________________________
 

นันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ
รองศาสตราจารย์ ดร. พรชุลีย์ นิลวิเศษ
สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

   นันทนาการสำหรับผู้สูงอายุเป็นการกระทำกิจกรรมยามว่าง เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจหรือเพื่อความบันเทิง โดยอาจกระทำคนเดียวหรือเป็นหมู่คณะก็ได้ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งร่างกายและจิตใจ

  ________________________________________________
 

สุขภาพจิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุ
รองศาสตราจารย์วารี  ระกิติ

   องค์การอนามัยโลกได้ให้นิยาม (WHO 1976) ไว้ว่า  สุขภาพจิตที่ดี หมายถึง  อารมณ์ และสังคมที่เป็นสุข  กล่าวคือ บุคคลที่มีสุขภาพจิตดีย่อมสามารถปรับตัวให้มีความสุขอยู่กับการดำรงชีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม

  ________________________________________________
 

การถ่ายทอดภูมิปัญญาของผู้สูงอายุ
รองศาสตราจารย์ธีรยุทธ   เสนีวงศ์ ณ อยุธยา
สาขาวิชาศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

   ผู้สูงอายุเป็นผู้ที่ได้เรียนรู้และมีประสบการณ์สั่งสมจนมีความรอบรู้ มีทักษะ ความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ที่มีคุณค่า และเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของตนเองและสังคม  จนเป็นที่ยอมรับของสังคมว่าเป็นภูมิปัญญาหรือปราชญ์ชาวบ้าน

   
  © Copyright 2007-2008. All Rights Reserved.