หน้าแรก
จิตสังคมผู้สูงอายุ
สิทธิผู้สูงอาย
ปกิณกะ-สาระ-บันเทิง
สุขภาพผู้สูงอายุ
การจัดการการเงินสำหรับผู้สูงอายุ
ธรรมสร้างสุข
 
 
  หน้าแรก จิตสังคมผู้สูงอายุ  
 
กดเล่น เพื่อฟังเสียง
 
 

การดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าของของผู้อายุ
รองศาสตราจารย์ ดร.เจียรนัย  ทรงชัยกุล
สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

   ประเทศไทยมีประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปเป็นจำนวนมาก และผู้สูงอายุเป็นกลุ่มประชากรที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องเรื่อยมา จากจำนวนประชากรไทยทั้งหมด มีผู้สูงอายุจำนวน 2.8 ล้านคน หรือร้อยละ 5.6 ในปี 2528 มาเป็นจำนวนประมาณ 3.4 ล้านคน หรือร้อยละ 6.1 ในปี 2533   จำนวน 5.5 ล้านคน หรือร้อยละ 9.0 ในปี 2543  จำนวน 6.3 ล้านคน หรือร้อยละ 9.8 ในปี 2548   และยังมีการคาดประมาณด้วยว่าในปี 2568 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุมากเป็นลำดับที่ 5 ในทวีปเอเซีย  ซึ่งมีจำนวนประมาณ 13.9 ล้านคน
   หากประชากรผู้สูงอายุไทยที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องเหล่านี้ สามารถพึ่งพาตนเองได้ดี และสามารถดำรงชีวิตด้วยตนเองได้อย่างมีคุณค่าแม้ว่าจะอยู่ในวัยสุดท้ายของช่วงชีวิตก็ตาม ผู้สูงอายุไทยก็ยังจัดได้ว่า เป็นกลุ่มประชากรที่เป็นพลังสำคัญ แทนที่จะเป็นภาระของครอบครัว ชุมชน และสังคมไทย บทความที่นี้จึงมุ่งหวังที่จะนำเสนอมุมมองใหม่ในการสร้างเสริมให้ผู้สูงอายุไทยดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ อีกทั้งยังนำพาชีวิตสุขสันต์ด้วยตัวของผู้สูงอายุเป็นหลัก

การดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าของผู้สูงอายุไทยโดยวิธีการ “จ-ห-ร”
   วิธีการ “จ-ห-ร” (ย่อมาจาก เจตคติ-ผู้ให้-ผู้รับ) จะช่วยสร้างเสริมให้ผู้สูงอายุไทยดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า และนำพาชีวิตสุขสันต์ ด้วยตัวของผู้สูงอายุเป็นหลัก ประกอบด้วยวิธีการที่สำคัญ 3 ข้อ ตามลำดับต่อไปนี้

1. การสร้างเสริมให้ตนเองมีเจตคติที่ดีต่อการมีชีวิตยืนยาว (“จ”)
ผู้สูงอายุควรดำเนินการสร้างเสริมให้ตนเองมีเจตคติที่ดีต่อการดำรงชีวิตยืนยาว ด้วยขั้นตอน 3 ประการ ตามลำดับดังนี้

ขั้นตอนที่ 1
แสวงหาความรู้ใหม่และข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเกี่ยวกับประโยชน์ของการมีชีวิตยืนยา

ผู้สูงอายุอาจแสวงหาความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ของการมีชีวิตยืนยาวได้จากบุคคลอื่น วิทยุ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ หนังสือพิมพ์ วารสาร หนังสือ และประสบการณ์ตรงของตนเอง เป็นต้น ประโยชน์ของการมีชีวิตยืนยาวซึ่งผู้สูงอายุจะได้เรียนรู้ มีตัวอย่าง เช่น

  • การมีเวลามากขึ้นที่จะเลือกทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามความสนใจและความต้องการ
  • การมีโอกาสใช้ชีวิตอย่างอิสระมากขึ้น ซึ่งปลอดโปร่งจากพันธนาการ และภารกิจ จำเป็นต่างๆ ซึ่งตนได้แบกรับภาระมาเนิ่นนาน
  • การมีโอกาสช่วยเหลือผู้อื่น ชุมชน และสังคมได้มากขึ้น และยาวนานขึ้น

ขั้นตอนที่ 2
ส่งเสริมให้เกิดความรู้สึกพึงพอใจต่อการมีชีวิตยืนยาว
  เมื่อผู้สูงอายุเห็นประโยชน์ของการมีชีวิตยืนยาวแล้ว ผู้สูงอายุควรได้รับการส่งเสริมจากผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ ให้มีโอกาสได้สังเกตและเรียนรู้จากผู้สูงอายุต้นแบบที่เป็นตัวอย่างที่ดี ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม เป็นต้น ความรู้สึกพึงพอใจต่อการมีชีวิตยืนยาว ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ มีตัวอย่าง เช่น

  • ความชื่นชอบการมีชีวิตยืนยาว ซึ่งเป็นช่วงเวลาได้ตักตวงกำไรของชีวิต
  • ความพอใจที่จะดูแลรักษาตนเองให้มีชีวิตยืนยาวอย่างมีความสุข
  • ความอยากเอาอย่างผู้สูงอายุต้นแบบที่มีชีวิตยืนยาวและมากด้วยคุณค่า

ขั้นตอนที่ 3
หมั่นกระทำพฤติกรรมซึ่งสนับสนุนเจตคติที่ดีต่อการมีชีวิตยืนยาว
  เมื่อผู้สูงอายุเกิดความรู้สึกพึงพอใจต่อการมีชีวิตยืนยาวแล้ว ผู้สูงอายุน่าจะมีแนวโน้มที่จะหมั่นกระทำพฤติกรรมซึ่งสนับสนุนเจตคติที่ดีต่อการมีชีวิตยืนยาว ตัวอย่างเช่น

  • การกำหนดเป้าหมายเพื่อการมีชีวิตยืนยาวอย่างมีความสุข ทั้งเป้าหมายระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ควรกำหนดครั้งละ1เป้าหมาย และควรเป็นเป้าหมายที่สามารถทำให้สำเร็จได้
  • การวางแผนสู่เป้าหมายเพื่อการมีชีวิตยืนยาวอย่างมีความสุข
  • ความมุ่งมั่นลงมือทำให้เกิดผลสำเร็จตามแผน เช่น การดูแลตนเองให้พร้อมเสมอ

ที่จะพึ่งพาตนเองได้ดี ทั้งด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมเพื่อการมีชีวิตยืนยาวอย่างมีความสุข  

  • การให้กำลังใจ/รางวัลแก่ตนเองทุกครั้งเมื่อเกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
  • การกำหนดเป้าหมายลำดับต่อไป แล้วดำเนินการอย่างต่อเนื่องเรื่อยไปไม่หยุดยั้ง

ดังแผนภาพต่อไปนี้
แผนภาพวงจรส่งเสริมการมีชีวิตยืนยาวอย่างมีความสุข


2. การมุ่งมั่นเป็นผู้ให้ที่ดีอย่างต่อเนื่อง (“ห”)
ผู้สูงอายุควรมุ่งมั่นเป็นผู้ให้ที่ดีอย่างต่อเนื่องได้ ตัวอย่างเช่น

  • การให้ความรู้ ความคิด ให้แนวทาง ให้คำแนะนำ ให้การปรึกษา ให้ข้อคิดจากการ มีชีวิตยืนยาว ตลอดจนแบ่งปันประสบการณ์ให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง และผู้ที่ขอร้อง
  • การให้ความรัก ความอบอุ่น  ให้ความเมตตา  ให้ความเห็นอกเห็นใจ ให้ความเอาใจใส่  ให้กำลังใจแก่สมาชิกในครอบครัว ผู้ร่วมงาน และผู้ที่ด้อยโอกาสในสังคม
  • การให้สิ่งที่มีมากเกินพอแก่ผู้อื่นที่มีความจำเป็นต้องใช้ประโยชน์ตามความ เหมาะส

3. การปฏิบัติตนเป็นผู้รับที่ดีอยู่เสมอ (“ร”)
ผู้สูงอายุควรปฏิบัติตนเป็นผู้รับที่ดีอยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น

  • การน้อมรับคำแนะนำ ความช่วยเหลือจากผู้อื่นได้ด้วยดี เมื่อประสบปัญหาที่เกิน กำลัง และสติปัญญาของตนเพียงลำพังที่จะแก้ไขได้ โดยไม่อวดดี อวดรู้ อวดหยิ่ง
  • การยอมรับความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆเพื่อช่วยให้ตนสามารถปรับตัวได้อย่างเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก
  • การรับความไม่แน่นอนและความไม่สมหวังที่เกิดขึ้นได้อย่างมีสติ และสงบ
  • การยินดีรับเพื่อนใหม่ได้ ผูกมิตรเป็น ทั้งกับบุคคลวัยเดียวกันและต่างวัยกันที่จะช่วยให้ตนมีชีวิตชีวาขึ้น และช่วยเพิ่มความหมายในการดำรงชีวิต
  • การรับธรรมะเข้ามาหล่อเลี้ยงใจได้อย่างถูกต้อง เพียงพอ และเหมาะสมกับโอกาส เพื่อให้จิตมีคุณภาพสูง และมีพลั

สรุปได้ว่า
การดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าของผู้สูงอายุจะนำพาความสุข ความมีชีวิตชีวา ความหวัง ความหมายการเห็นคุณค่าและความภาคภูมิใจในตนเองมาสู่ตัวผู้สูงอายุเองทุกขณะในช่วงวัยสุดท้ายของชีวิต อีกทั้งยังก่อให้เกิดประโยชน์แก่บุคคลใกล้ชิด ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ  ตลอดจนชุมชน และสังคมของผู้สูงอายุอีกด้วย  ดังนั้นผู้สูงอายุจึงไม่ควรปล่อยให้วันเวลาล่วงผ่านเป็นเพียงการเพิ่มความชราให้แก่ชีวิต แต่ควรเพิ่มความงดงามและคุณค่าให้แก่ชีวิตทุกขณะเมื่อวันเวลาล่วงผ่าน

เอกสารอ้างอิง
เจียรนัย  ทรงชัยกุล  (2546)  รายงานการวิจัยเรื่อง การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในสังคมไทยด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

นงลักษณ์  บุญไทย  (2539)  “ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุและความสัมพันธ์กับปัจจัยอื่นๆ”  วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาอนามัยครอบครัวบัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยมหิดล

บรรลุ  ศิริพานิช  (2544)  คู่มือผู้สูงอายุ ฉบับสมบูรณ์  พิมพ์ครั้งที่ 16  กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน

บังอร  ธรรมศิริ  (2549)  “ผู้สูงอายุในสังคมไทย”  การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาคหกรรมศาสตร-มหาบัณฑิต  วิชาเอกพัฒนาครอบครัวและสังคม  สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ปราโมทย์  ประสาทกุล  (2542)  โครงสร้างอายุและประชากรสูงอายุในประเทศไทย  สถาบันวิจัยประชากรและสังคม  มหาวิทยาลัยมหิดล


 
 
  © Copyright 2007-2008. All Rights Reserved.