หน้าแรก
จิตสังคมผู้สูงอายุ
สิทธิผู้สูงอายุ
ปกิณกะ-สาระ-บันเทิง
สุขภาพผู้สูงอายุ
การจัดการการเงินสำหรับผู้สูงอายุ
ธรรมสร้างสุข
 
 
  หน้าแรก สิทธิผู้สูงอายุ  
 
   
กดเล่น เพื่อฟังเสียง
 
     
 

การจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุ
รศ.พาณี (รศ.ปาริฉัตร)


ประวัติและความเป็นมาการจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุ
   จากนโยบายรัฐบาลในสมัย พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายด้านสาธารณสุข ในปี พ.ศ.2523 ซึ่งมีทั้งหมด 11 ข้อ และข้อที่เกี่ยวข้องกับการบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุคือ ข้อ 1.ความว่า “จะเร่งรัดการดำเนินงานโครงการสาธารณสุขมูลฐานด้วยการจัดการบริการให้ประชาชนในระดับหมู่บ้าน และระดับตำบล ที่ยังไม่ได้รับกล่าวให้มีโอกาสใช้บริการ ป้องกันโรค ส่งเสริมสุขภาพการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ทั้งนี้จะหการสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อย และผู้สูงอายุ ด้านการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ทั้งนี้จะให้การสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อย และผู้สูงอายุด้านการรักษาพยาบาลเป็นพิเศษ โดยจะประสานความร่วมมือกับภาคเอกชนด้วย” และในปี 2523 – 2524 กระทรวงสาธารณสุข ได้แต่งตั้งงานและคณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ซึ่งได้ดำเนินการกิจกรรมต่าง ๆ ไว้หลายด้าน คือ กรมการแพทย์ พยาบาลสังคมสงเคราะห์ การประชุมวิชาการสนับสนุนการจัดตั้งคลินิกผู้สูงอายุ และชมรมผู้สูงอายุขึ้นตามโรงพยาบาลต่าง ๆ บริการสุขภาพผู้สูงอายุ ให้ความรู้แก่ประชาชน และริเริ่มการวิจัยที่เกี่ยวข้อง

   กรมการแพทย์ในฐานะเป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการผู้สูงอายุของกระทรวงสาธารณสุขร่วมกับองค์การอนามัยโลกจัดให้มีการสัมมนาระดับชาติ ครั้งที่ 1 เรื่อง บริการสุขภาพผู้สูงอายุ ณ โรงแรมอินทรารีเยนต์ มหานคร ระหว่างวันที่ 4 – 6 พฤศจิกายน 2524 ผลจากการสัมมนา ทำให้ทราบถึงข้อมูลและปัญหาของผู้สูงอายุในประเทศไทย การให้บริการสุขภาพผู้สูงอายุทั้งในและต่างประเทศ

   จากนโยบายรัฐบาลในสมัย พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายด้านสาธารณสุข ลงวันที่ 27... 2529 ทั้งหมด 12 ข้อ ขอที่เกี่ยวข้องกับบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุคือ ข้อ 2. ความว่า “สนับสนุนกิจกรรมการให้สาธารณสุขขั้นพื้นฐานแก่ประชาชน ทั้งที่ดำเนินการโดยรัฐและองค์กรเอกชนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ในสภาพที่ดำเนินการโดยรัฐ จะจัดบริการให้เปล่าสำหรับผู้สูงอายุ เด็กและผู้ที่มีรายได้ต่ำ” จากนั้นในแผนพัฒนาการสาธารณสุข ฉบับที่ 6 (2530-2534) มีนโยบายให้กรมการแพทย์ขยายงานด้านสาธารณสุขมูลฐานไปยังประชาชนทุกพื้นที่ ให้เข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรม ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคไม่ติดต่อ โดยบรรจุไว้ในแผนฯ 6 เพื่อสนองนโยบายให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด และได้กำหนดเป็นโครงการต่าง ๆ ได้ ทั้งหมด 15 โครงการ

  1. โครงการป้องกันและควบคุมโรคหัวใจ
  2. โครงการป้องกันความพิการจากอุบัติเหตุ
  3. โครงการควบคุมมะเร็ง
  4. โครงการควบคุมโรคเบาหวาน
  5. โครงการควบคุมโรคผู้สูงอายุ
  6. โครงการควบคุมโรคหูหนวก
  7. โครงการป้องกันและควบคุมความพิการแต่กำเนิด
  8. โครงการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการในชุมชน
  9. โครงการควบคุมโรคปวดข้อปวดเมื่อย
  10. โครงการควบคุมโรคนิ่ว
  11. โครงการควบคุมโรคผิวหนัง
  12. โครงการควบคุมโรคเลือด
  13. โครงการควบคุมโรคลมชัก
  14. โครงการควบคุมโรคผิวหนัง
  15. โครงการควบคุมโรคเลือด

   ซึ่งงานผู้สูงอายุเป็นหนึ่งใน 15 โครงการนี้ กรมการแพทย์ได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อวางหลักการและรูปแบบสำหรับดำเนินงาน เพื่อให้งานด้านผู้สูงอายุเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น และจากการสัมมนาระดับชาติครั้งที่ 2 เรื่อง บริการสุขภาพผู้สูงอายุ ณ โรงแรมรอยัล ริเวอร์ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 25-26 เมษายน 2533 ผลจากการสัมมนาได้กำหนดกลวิธีการบริการสุขภาพผู้สูงอายุ การลดภาษีรายได้ผู้ดูแลผู้สูงอายุ การจัดหน่วยงานรับผิดชอบงานผู้สูงอายุ และในเดือนมิถุนายน 2533 กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้แต่งตั้งคณะทำงานจัดตั้งสถาบันสุขภาพผู้สูงอายุ

   ในปี 2534 เริ่มมีการจัดงบประมาณสำหรับบริการทางการแพทย์ และสาธารณสุขแก่ผู้สูงอายุ และเริ่มมีการจัดทำบัตรประจำตัวผู้สูงอายุ ตลอดจนการจัดตั้งคลินิกผู้สูงอายุและชมรมผู้สูงอายุทั่วประเทศ ในช่วงแผนพัฒนาการสาธารณสุข ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2535 – 2539) กรมการแพทย์ได้แบ่งส่วนราชการขึ้นใหม่ ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2535 โดยจัดตั้งสถาบันพัฒนาสุขภาพและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุเป็นหน่วยงานระดับกองขึ้นเป็นการภายใน เพื่อเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา

  1. ในบทบาทอขงกระทรวงสาธารณสุขนั้น มีเป้าหมายในการดูแลสุขภาพผู้สูงวัย โดยเน้นที่ว่า ประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีการเตรียมความพร้อม และมีการตรวจสุขภาพเมื่อถึงวัยผู้สูงอายุ ได้รับการคัดกรองเพื่อการรักษาที่สถานบริการสาธารณสุข ตามขั้นตอน และมีหน่วยงานในกระทรวงสาธารณสุข ที่รับผิดชอบในเรื่องของผู้สูงอายุ
  2. เช่น กรมการแพทย์ โดยสถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ รับผิดชอบทางด้านวิชาการบำบัดรักษาผู้สูงอายุ ด้านกรมอนามัย โดยสำนักส่งเสริมสุขภาพดูแลในเรื่องของการส่งเสริมสุขภาพกาย กรมสุขภาพจิต ดูแลด้านของการส่งเสริมสุขภาพจิต กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย และแพทย์ทางเลือก ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยการแพทย์แผนไทย กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สนับสนุนการวิจัยและการบริการสุขภาพผู้สูงอายุทั่วประเทศ และทางด้านนโยบายและแผน มีส่วนกำหนดนโยบาย และประสานงานใน และนอกกระทรวงสาธารณสุข
  3. ประเด็นของผู้สูงอายุ เราได้มีการเตรียมตัวจากที่องค์การอนามัยโลก ได้มีการคาดประมาณ และชี้ให้เห็นถึงปัญหาของผู้สูงอายุ และได้มีการรณรงค์ต่าง ๆ ให้ประชาชนเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุ ซึ่งรัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญ ก็ได้ยึดแนวนโยบายตาม
  4. รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 มาตรา 54... เกี่ยวกับการช่วยเหลือแก่การยังชีพ และมาตรา 80 ที่ส่งเสริมในเรื่องการพึ่งพาตนเอง
  5. ปฏิญญาผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2540... ข้อที่ 5 ผู้สูงอายุควรได้เรียนรู้ในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ต้องมีหลักประกัน เข้าถึงหลักประกัน และบริการด้านสุขภาพอย่างครบวงจรโดยเท่าเทียมกัน รวมทั้งได้รับการดูแลจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต
  6. แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545 – 2564)
  7. พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ซึ่งเน้น 4 เรื่อง คือ ให้มีกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ กองทุนผู้สูงอายุ สิทธิผู้สูงอายุ ภาษีเงินได้
  8. การดูแลผู้สูงอายุนั้น เราจะแบ่งผู้สูงอายุเป็น 4 กลุ่ม คือ ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี มีโรคเรื้อรัง/ช่วยเหลือตัวเองได้ ภาวะทุพพลภาค/ช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง ภาวะทุพพลภาพ/ช่วยเหลือตนเองไม่ได้เลย
  9. ตามแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 – 2564 จะมียุทธศาสตร์ต่าง ๆ ที่กระทรวงสาธารณสุขได้เตรียมการดังนี้

    1. ยุทธศาสตร์ที่ 1 เป็นการเตรียมความพร้อมของประชากรเมื่อวัยสูงอายุที่มีคุณภาพ มีโครงการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ และมีโครงการครอบครัวอบอุ่น โดยกรมอนามัยเน้นการปลูกฝังจิตสำนึกให้สังคม ให้มีครอบครัวที่อบอุ่นแข็งแรง โดยมีเกณฑ์ข้อหนึ่งในนั้นว่า สมาชิกของครอบครัวอยู่รวมกันทั้ง 3 วัย ในบ้านเดียวกัน หรือในบริเวณเดียวกัน

    2. ยุทธศาสตร์ที่ 2 ทางด้านส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ จะมีการส่งเสริมการจัดตั้ง และการดำเนินงานผู้สูงอายุและเครือข่าย กรมอนามัยจัดทำคู่มือการดูแลส่งเสริมสุขภาพ ชุดนิทรรศการ 5 อ. และ CD ผู้สูงวัยออกกำลังกาย ด้วยภูมิปัญญา มีเวปไซต์ที่จะบอกข้อมูลผู้สูงอายุ มีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สมาคมแม่บ้านสาธารณสุข สมาคมผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย ที่ได้ร่วมส่งเสริมการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุในทุกจังหวัด ทุกตำบล และมีกิจกรรมร่วมกัน และมีตัวชี้วัดของกรมอนามัยว่า ผู้สูงอายุต้องมีการออกกำลังกายร่วมกันอย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง มีการประกาศเกียรติคุณดีเด่นแก่ชมรมผู้สูงอายุปีละ 1 ครั้ง มีการจัดตั้งคลินิกผู้สูงอายุในโรงพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ทุกโรงพยาบาล คือ รพท. และรพช. 818 แห่ง ในคลินิกจะมีการออกกฎกระทรวงที่จะทำ Green track หรือ Fast track เพื่อจัดบริการให้กับผู้สูงอายุใน รพ. และผู้สูงอายุก็จะได้รับการประเมินทั้งในด้านสุขภาพ ได้รับคำแนะนำ รักษา และฟื้นฟู มีอาสาสมัครช่วยบริการในโรงพยาบาล

    3. ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านระบบการคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ... ให้บริการผ่านโครงการบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่งเสริมให้วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน และจัดสถานที่ให้เอื้อต่อผู้สูงอายุ เช่น ห้องน้ำคนพิการ และผู้สูงอายุ มีสถานที่ให้ผู้สูงอายุ และชมรมออกกำลังกาย เป็นที่ถ่ายทอดภูมิปัญญา วัฒนธรรม หรือส่งเสริมอาชีพให้ชาวบ้าน ในโครงการนี้เราเรียกว่า โครงการวัดส่งเสริมสุขภาพ และมีการมอบโล่ให้กับวัดส่งเสริมอาชีพให้ชาวบ้าน ในโครงการนี้เราเรียกว่า โครงการวัดส่งเสริมสุขภาพ และมีการมอบโล่ให้กับวัดส่งเสริมสุขภาพทุกจังหวัด ทุกปี

  10. โครงการ Home health Care เป็นการบริการสาธารณสุขโดยทีมสหวิชาชีพ และอาสาสมัครในการช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ต่อเนื่องการดูแลสุขภาพจาก รพ.สู่บ้าน
  11. โครงการฟันเทียมพระราชทาน ให้ผู้สูงอายุได้รับการใส่ฟันเทียม ทำต่อเนื่อง 3 ปี 80,000 ราย ปีนี้เป็นปีสุดท้าย 25,000 ราย ได้รับการสนับสนุนจาก สปสช. ในเรื่องการใส่ฟันเทียม
  12. รูปแบบของการบริการสุขภาพผู้สูงอายุ เป็นการบริการตามขั้นตอน ถ้าอยู่ใกล้สถานีอนามัยก็มารับบริการที่ สอ. และถ้ามีปัญหา ต้องการได้รับบริการต่อเนื่อง ก็ส่งต่อมาที่ รพช. หรือ รพศ. เมื่อได้รับการรักษาแล้ว ก็จะส่งกลับไปที่นั้น ๆ และให้ดูแลโดย Home health Care

   ตัวอย่าง งานบริการของคลินิกผู้สูงอายุ ตั้งแต่สถานีอนามัย ศูนย์สุขภาพชุมชน หรือ ศูนย์บริการสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร ได้แก่

    • งานการพยาบาลผู้ป่วย การให้บริการรักษาพยาบาลคัดกรองผู้เข้ารักษาพยาบาลและการดูแลสุขภาพ บริการคลินิกผู้สูงอายุ อุบัติเหตุฉุกเฉินเบื้องต้น ให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยและญาติ รับและส่งต่อผู้ป่วย และมีความซับซ้อนของอาการ

    • งานการพยาบาลผู้ป่วยที่รับการพยาบาลและฟื้นฟูสมรรถภาพเบื้องต้น ตามแผนการรักษา กระบวนการพยาบาล ให้คำปรึกษา บริการผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

    • งานโภชนการและพฤติกรรมสุขภาพ ให้บริการและคำปรึกษาด้านโภชนาการ ประเมินภาวะโภชนาการ พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมสุขภาพ

    • งานจิตวิทยา ให้คำแนะนำ โดยใช้แบบจิตวิทยา ให้ควารู้ด้านการดูแลต่าง ๆ และการให้กำลังใจแก่ผู้สูงอายุ ตลอดจนคำแนะนำแก่ญาต


 
     
  © Copyright 2007-2008. All Rights Reserved.