เรื่องที่
3.2.1 ปัจจัยด้านวัฒนธรรม |
วัฒนธรรมเป็นเครื่องผูกพันบุคคลในกลุ่มไว้ด้วยกัน
บุคคลจะเรียนรู้วัฒนธรรมของตนเองภายใต้กระบวนการ
ทางสังคม
วัฒนธรรมเป็นสิ่งกำหนดความต้องการและพฤติกรรมของบุคคล
นอกจากนี้ในแต่ละวัฒนธรรม
ยังประกอบไปด้วยวัฒนธรรมกลุ่มย่อยหรือขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นที่ยึดถือปฏิบัติกันในคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
และยังเกี่ยวข้องไปถึงชั้นทางสังคมภายในสังคมนั้น
ๆ อีกด้วย
1. วัฒนธรรมพื้นฐาน (Culture)
วัฒนธรรมพื้นฐานเป็นสิ่งกำหนดความต้องการและพฤติกรรมของบุคคล
บุคคลจะได้รับการถ่ายทอดทางวัฒนธรรม
จากสังคมรอบข้างตั้งแต่ยังเป็นเด็ก
และจะมีส่วนทำให้เกิดค่านิยมต่าง
ๆ
ตลอดจนความต้องการในสินค้าต่าง
ๆ
แตกต่างกันไปในแต่ละวัฒนธรรม
ตัวอย่าง
เช่นของลุงสมชาวไทยต้องการกระเบื้องไปใช้ในการมุงหลังคมบ้าน
ที่สร้างใหม่
ในขณะที่นายนิเชาชาวอาฟริกาเห็นกระเบื้องมุงหลังคาแล้วไม่รู้จักว่าจะนำไปใช้ประโยชน์อย่างไร
เป็นต้น
2.
วัฒนธรรมกลุ่มย่อยหรือขนบธรรมเนียมประเพณี
(Subculture)
วัฒนธรรม
มีรากฐานมาจากเชื้อชาติ
(Nationality Groups) เช่น
คนไทยเชื้อชาติไทย
และคนไทยเชื้อชาติจีน
ย่อมมี
วัฒนธรรมกลุ่มย่อยที่ต่างกัน
ศาสนา (Religious Group) เช่น
กลุ่มคนไทยเชื้อชาติไทย
ที่นับถือพุทธศาสนาและ
นับถือศาสนาคริสต์
ต่างก็มีวัฒนธรรมกลุ่มย่อยที่ต่างกัน
สีผิว (Racial Group) เช่น
คนอเมริกันผิวขาวและคนอเมริกัน
ผิวดำ
และพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน
(Geographical Areas) เช่น
คนทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย
ซึ่งอยู่ที่ราบส่วนมากในการลอยกระทงจะลอยตามแม่น้ำต่างๆ
ในขณะที่คนในจังหวัดแม่ฮ่องสอนที่อยู่บนเขาจะ
ลอยกระทงโดยปล่อยขึ้นบนฟ้า
เป็นต้น
วัฒนธรรมกลุ่มย่อยจะมีผลทำให้พฤติกรรมของคนในกลุ่มต่างมีข้อปลีกย่อย
ที่แตกต่างไปจากวัฒนธรรมพื้นฐานมีผลกระทบถึงการที่บุคคลจะมีพฤติกรรมการซื้อและการบริโภคสินค้าที่แตกต่างกัน
ดังนั้นการที่นักการตลาดจะเสนอขายผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นต้องคำนึงว่าเป็นที่ต้องการของคนในท้องถิ่นนั้น
ๆ หรือไม่
3. ชั้นทางสังคม (Social Class)
ชั้นทางสังคมหมายถึงการที่มีการจัดลำดับของบุคคลต่างๆ
ในสังคมออกเป็นกลุ่ม
โดยอาศัยเกณฑ์หลาย ๆ อย่าง
รวมกัน ได้แก่ อาชีพ ฐานะ
รายได้
ตระกูลหรือชาติกำเนิด
ตำแหน่งหน้าที่
และการศึกษา เป็นต้น
ซึ่งชั้นทางสังคมนี้
จะมีการเรียงลำดับจากสูงไปต่ำ
และบุคคลที่ถูกจัดให้อยู่ในชั้นต่าง
ๆ
ในสังคมมักจะมีลักษณะ
พฤติกรรม
และการบริโภคที่คล้ายคลึงกัน
และจะมีการเปลี่ยนแปลงชั้นทางสังคมขึ้นหรือลงได้ตลอดเวลาดังนั้นนักการตลาด
อาจนำเกณฑ์การแบ่งชั้นทางสังคมมาเป็นแนวทางในการแบ่งส่วนตลาดและการกำหนดตลาดเป้าหมายได้เช่นกัน
ลักษณะของชั้นทางสังคมสามารถแบ่งได้เป็น
3 ระดับ
และแบ่งระดับย่อยได้อีก 6
ระดับ ได้แก่
1. ระดับสูง (Upper Class)
แบ่งเป็น
1.1
ระดับสูงอย่างสูง (Upper Upper Class)
ได้แก่ผู้ดีเก่าและได้รับมรดกจำนวนมาก
สินค้าที่ต้องการ ได้แก่
พวกสินค้าฟุ่มเฟือยต่าง ๆ
1.2
ระดับสูงอย่างต่ำ (Lower Upper Class)
ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูง
เจ้าของกิจการขนาดใหญ่เศรษฐีต่าง
ๆ
สินค้าที่ต้องการ ได้แก่
สินค้าฟุ่มเฟือยตามอย่างกลุ่มแรก
2. ระดับกลาง (Middle Class) แบ่งเป็น
2.1
ระดับกลางอย่างสูง (Upper Middle Class)
ได้แก่
ผู้ที่ได้รับความสำเร็จทางอาชีพพอสมควร
สินค้าที่
ต้องการได้แก่ พวกบ้าน
เสื้อผ้า
รถยนต์ที่ประหยัดน้ำมัน
เฟอร์นิเจอร์
และของใช้ในครัวเรือน
2.2
ระดับกลางอย่างต่ำ (Lower Middle Class)
ได้แก่
พนักงานบริษัทและข้าราชการระดับปฏิบัติงาน
สินค้าที่ต้องการ ได้แก่
สินค้าที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันที่มีราคาปานกลาง
3.
ระดับล่าง (Lower Class)
3.1
ระดับล่างอย่างสูง (Upper Lower Class)
ได้แก่
กลุ่มผู้ใช้แรงงานที่มีทักษะเช่นช่างฝีมือต่าง
ๆ สินค้า
ที่ต้องการ ได้แก่
สินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพและราคาประหยัด
3.2
ระดับล่างอย่างต่ำ (Lower Lower Class)
ได้แก่
กรรมกรที่มีรายได้ต่ำ
ต้องการสินค้าที่จำเป็นต่อการ
ครองชีพเน้นที่ราคาถูก
นักการตลาดพบว่าชั้นทางสังคมมีประโยชน์มากต่อการแบ่งส่วนตลาดสินค้า
การกำหนดการโฆษณา
การให้บริการ
และกิจกรรมทางการตลาดต่าง
ๆ
เพราะแต่ละชั้นทางสังคมจะแสดงถึงความแตกต่างกันในด้าน
ความต้องการ
การตัดสินใจซื้อ
และการบริโภคผลิตภัณฑ์
|