เรื่องที่
3.2.3 ปัจจัยส่วนบุคคล
(Personal Factors) |
การตัดสินใจของผู้ซื้อได้รับอิทธิพลจากลักษณะส่วนบุคคลด้านต่าง
ๆ ได้แก่ อายุ
ขั้นตอนวัฏจักรชีวิต
ครอบครัว อาชีพ
สถานการทางเศรษฐกิจ
การศึกษา
รูปแบบการดำรงชีวิต
และบุคลิกภาพ
1. อายุ (Age)
อายุที่แตกต่างกันจะมีความต้องการสินค้าและบริการที่ต่างกัน
ตัวอย่างเช่น ช่วงอายุ 0-5 ปี
จะต้องการสินค้า
ประเภทอาหารสำหรับเด็ก
ของเล่น
เสื้อผ้าสำหรับเด็ก
ช่วงอายุ 6-19 ปี
จะต้องการสินค้าประเภท
เสื้อผ้า
อุปกรณ์กีฬา
วิทยุเทป
อุปกรณ์การเรียน
เครื่องสำอาง ช่วงอายุ 20-34
ปี จะต้องการสินค้าประเภท
รถยนต์
เครื่องแต่งบ้าน
ซื้อของให้เด็ก ๆ ช่วงอายุ
35-49 ปี
จะต้องการสินค้าประเภทบ้านใหญ่ๆ
รถยี่ห้อดีกว่าเดิม
รถคันที่ 2
และช่วงอายุมากกว่า 60 ปี
จะต้องการสินค้าประเภทสินค้าบำรุงร่างกาย
บริการด้านการแพทย์
การท่องเที่ยว
อย่างสะดวกสบาย เป็นต้น
2.
ขั้นตอนวัฏจักรชีวิตครอบครัว
(Family Life Cycle)
เป็นขั้นตอนการดำรงชีวิตของบุคคลในลักษณะของการมีครอบครัว
ซึ่งในแต่ละขั้นตอนของครอบครัวจะมีสิ่งที่มี
อิทธิพลและความต้องการที่แตกต่างกัน
โดยทั่วไปมักทำการแบ่งขั้นวัฏจักรชีวิตครอบครัวเป็น
8 ลำดับ ในแต่ละ
ขั้นตอนจะมีลักษณะการบริโภคแตกต่างกันดังนี้
ได้แก่
-
เป็นโสดและอยู่ในวัยหนุ่มสาว
(The Bachelor Stage)
ใช้จ่ายเงินเต็มที่
และมักใช้จ่ายในด้านสินค้าอุปโภค
บริโภคส่วนตัว
เสื้อผ้า
การพักผ่อนหย่อยใจ
และเครื่องสำอางค์ เป็นต้น
-
คู่สมรสใหม่และยังไม่มีบุตร
(Newly Married Couples)
มักจะซื้อสินค้าถาวร เช่น
บ้าน รถยนต์
เครื่องใช้ไฟฟ้า
และเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
-
ครอบครัวที่มีบุตรคนเล็กอายุต่ำกว่า
6 ขวบ (Full Nest I)สินค้าถาวรภายในบ้าน
เครื่องแต่งบ้าน
สินค้าสำหรับเด็ก
และสนใจสิ่งใหม่ ๆ
ที่คิดว่าดีสำหรับลูก
-
ครอบครัวที่มีบุตรคนเล็กอายุมากกว่า
6 ขวบ (Full Nest II)มักจะซื้อสินค้าประเภทอาหาร
เครื่องเขียน แบบเรียน
รายการพักผ่อนสำหรับบุตร
- ครอบครัวที่บิดามารดามีอายุมาก
บุตรโตแล้วแต่ยังไม่ได้แต่งงาน
(Full Nest III) ฐานะทางการเงินดี
ซื้อเครื่องแต่งบ้านทดแทนของเก่า
บ้านขนาดใหญ่กว่าเดิม
รถยนต์คันใหม่หรือบริการพักผ่อนตากอากาศ
ที่หรูหรา
- ครอบครัวที่บิดามารดามีอายุมาก
บุตรแยกครอบครัวแล้ว
แต่ยังทำงานอยู่ (Empty Nest I)
ฐานะทางการ
เงินดี ชอบเดินทางพักผ่อน
มีการบริจาคเพื่อสังคม
- ครอบครัวที่บิดามารดามีอายุมาก
บุตรแยกครอบครัวแล้ว
ออกจากงานแล้ว (Empty Nest II)รายได้ลดลง
ซื้อผลิตภัณฑ์ผู้สูงอายุ
การรักษาพยาบาล
- อยู่คนเดียวเนื่องจากฝ่ายหนึ่งตายหรือหย่าขาด
และบุตรแยกครอบครัวแล้ว
(Solitary Survivors)
ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็นค่ารักษาพยาบาล
3. อาชีพ (Occupation)
อาชีพของแต่ละบุคคลจะนำไปสู่ความต้องการสินค้าและบริการที่แตกต่างกัน
เช่น
กลุ่มข้าราชการจะต้องการ
รถยนต์ของประเทศญี่ปุ่นที่ประหยัดน้ำมันและราคาพอสมควร
ในขณะที่นักธุรกิจจะต้องการรถยนต์จากประเทศ
แถบยุโรปที่ดูหรูหราราคาแพง
เป็นต้น
ดังนั้นนักการตลาดจะต้องศึกษาว่าผลิตภัณฑ์ของบริษัทเป็นที่ต้องการ
ของกลุ่มอาชีพใดเพื่อที่จะนำมาจัดกิจกรรมทางการตลาดให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป้าหมาย
ได้อย่างเหมาะสม
4. สถานะทางเศรษฐกิจ (Economic
Circumstances)
สถานะทางเศรษฐกิจที่จะมีผลกระทบต่อพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค
ได้แก่
รายได้จับจ่ายของผู้บริโภค
ซึ่งจะหมายถึงรายได้สุทธิของผู้บริโภคหลังจากที่เก็บจำนวนหนึ่งไว้เป็นเงินออมแล้วจะเป็นเงินที่ผู้บริโภคมีไว้
เพื่อการใช้จ่าย
อำนาจในการกู้ยืมเงินและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจขณะนั้น
ๆ ของประเทศ
5. การศึกษา (Education)
ผู้บริโภคที่มีระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีแนวโน้มที่จะต้องการข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
ประเภทของผลิตภัณฑ์
และคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ต่างกัน
6. รูปแบบการดำรงชีวิต (Life Style)
นักการตลาดเชื่อว่าการเลือกผลิตภัณฑ์ของบุคคลขึ้นอยู่กับแบบการดำรงชีวิต
และยังเชื่อว่าแบบของการดำรงชีวิต
ของผู้บริโภคเป็นผลรวมของกิจกรรมที่บุคคลทำ
(Activities) ความสนใจของบุคคล (Interest)
ความคิดเห็นของบุคคล
ต่อสิ่งต่างๆ (Opinions)
และลักษณะทางประชากรศาสตร์
(Demographics) ของบุคคลนั้น
อาจเขียนย่อ ๆ ได้ว่า
Life Style = AIO + Demo ตัวอย่างเช่น
-
กิจกรรมที่บุคคลทำ (Activities)
ได้แก่ การทำงาน
การพักผ่อนงานอดิเรก
กีฬาที่เล่น เป็นต้น
- ความสนใจของบุคคล
(Interest)ได้แก่ ครอบครัว อาชีพ
บ้านชุมชน แฟชั่น เป็นต้น
-
ความคิดเห็นของบุคคลต่อสิ่งต่าง
ๆ (Opinions) ได้แก่ ตัวเอง
- กิจกรรมที่บุคคลทำ
(Activities) ได้แก่ การทำงาน
การพักผ่อนงานอดิเรก
กีฬาที่เล่น เป็นต้น
- ความสนใจของบุคคล
(Interest)ได้แก่ ครอบครัว อาชีพ
บ้านชุมชน แฟชั่น เป็นต้น
-
ความคิดเห็นของบุคคลต่อสิ่งต่าง
ๆ (Opinions) ได้แก่ ตัวเอง สังคม
เศรษฐกิจ การศึกษา
ผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
-ลักษณะทางประชากรศาสตร์
(Demographics)ได้แก่ อาย
ุการศึกษา รายได้
อาชีพถิ่นที่อยู่อาศัย
เป็นต้น
ตัวอย่างของนางสาวสุดสวยที่มีกิจกรรมประจำวัน
คือ
การทำงานเป็นผู้จัดการฝ่ายการตลาด
สนใจใน
เรื่องอาชีพและแฟชั่น
และมีความคิดเห็นว่าการเข้าสังคมจะมีส่วนช่วยเสริมในเรื่องงานอาชีพได้ดี
ประกอบ
กับเป็นคนที่ยังโสดและรายได้ดี
จึงทำให้นางสาวสุดสวยมีแบบของการดำรงชีวิตที่มุ่งเน้นไปที่งาน
นอกเหนือ
จากเวลาทำงานจะแต่งตัวตามแฟชั่นเพื่อไปร่วมในงานสังคมต่าง
ๆ
7. บุคลิกลักษณะ (Personality)
บุคลิกลักษณะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อ
เพราะบุคลิกลักษณะเป็นผลรวมของทัศนคติและนิสัยของบุคคล
ผู้บริโภคแต่ละคนจะมีบุคลิกที่แตกต่างกันไป
เช่น เป็นคนละเอียดอ่อน
คนเปิดเผย คนมีความคิด
สร้างสรรค์
หรือเป็นคนมีระเบียบ
เป็นต้น
บุคคลที่มีบุคลิกต่างกันเหล่านี้จะมีพฤติกรรมการซื้อที่แตกต่างกัน
เช่น คนมี
ความคิดสร้างสรรค์มักจะชอบทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ใหม่
ๆ
ในขณะที่คนละเอียดถี่ถ้วนจะพอใจสินค้าที่รู้จักดี
อยู่แล้วว่ามีคุณภาพดีและมีราคาเหมาะสม
นักการตลาดจะต้องพยายามค้นหาบุคลิกของบุคคลกลุ่มต่าง
ๆ
เพื่อนำมาใช้ให้บรรลุเป้าหมายทางการตลาด
โดยเฉพาะกับสินค้าบางประเภทที่มีผลต่อบุคลิกของผู้ใช้ที่จะ
ปรากฎต่อคนอื่น ๆ ในสังคม
เช่น สินค้าประเภทเสื้อผ้า
น้ำหอม รถยนต์
และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เป็นต้น
ตัวอย่างของการนำบุคลิกของผู้บริโภคไปใช้
เช่น
บริษัทผลิตเบียร์พบว่านักดื่มเบียร์มีบุคลิกชอบเอาชนะ
ก้าวร้าว
และมีความเชื่อมั่นในตัวเอง
ดังนั้นนักการตลาดจึงต้องพยายาม
ให้ลักษณะเหล่านี้ปรากฏในตัวสินค้า
และปรากฏในชิ้นงานโฆษณาด้วย
|