เรื่องที่
3.2.4 ลักษณะทางจิตวิทยา
(Psychological Characteristics) |
การเลือกซื้อของผู้บริโภคได้รับอิทธิพลจากกระบวนการทางจิตวิทยา
4 ประการ ได้แก่ การจูงใจ
การรับรู้
การเรียนรู้
และความเชื่อและทัศนคติ
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. การจูงใจ (Motivation)
ในทางจิตวิทยาเชื่อกันว่าการเกิดพฤติกรรมของมนุษย์ต้องมีสิ่งจูงใจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความต้องการและเกิด
พฤติกรรมต่าง ๆ
เพื่อตอบสนองความต้องการนั้น
ดังนั้นการตลาดจึงพยายามที่จูงใจผู้บริโภค
โดยมีวัตถุประสงค์
ให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการในผลิตภัณฑ์ของตน
โดยอาศัยสิ่งจูงใจทางการตลาด
แต่การที่นักการตลาดจะจัดสิ่ง
กระตุ้นอย่างไรนั้นจำเป็นต้องศึกษาถึงความต้องการของมนุษย์ให้เข้าใจก่อน
นักจิตวิทยาได้เสนอทฤษฎีการจูงใจ
ของมนุษย์ไว้มากมาย
แต่ทฤษฎีที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป
ได้แก่
ทฤษฎีการจูงใจของมาสโลว์
และทฤษฎี
การจูงใจของฟรอยด์
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
-
ทฤษฎีการจูงใจของมาสโลว์
(Maslows Theory of Motivation)
มาสโลว์กล่าวว่าบุคคลจะมีลำดับขั้นของความต้องการ
(Hierarchy of Needs)
ที่สามารถเรียงลำดับความสำคัญ
จากมากไปหาน้อยได้ดังนี้คือ
ความต้องการของร่างกาย
(Physiological Needs)
ความต้องการความปลอดภัย
(Safety Needs)
ความต้องการทางสังคมหรือความต้องการการยอมรับและความรัก
(Social Needs) ความต้องการ
การนับถือ (Esteen Needs)
และความต้องการประสบความสำเร็จสูงสุดในชีวิต
(Self-Actualization Needs)
ความต้องการของคนเราอาจจะเกิดขึ้นได้พร้อม
ๆ กันหลายขั้นตอน
แต่ละบุคคลจะพยายามตอบสนองความต้องการ
ที่สำคัญที่สุดหรือมากที่สุดก่อน
เมื่อบุคคลได้สิ่งที่มาบำบัดความต้องการแล้วความจำเป็นในสิ่งนั้นก็จะหมดไป
ดังนั้นนักการตลาดจะต้องพยายามศึกษาถึงความต้องการในแต่ละขั้นตอนของมนุษย์แล้วนำมาพิจารณาว่า
ผลิตภัณฑ์ของบริษัทสามารถตอบสนองความต้องการอะไรได้บ้าง
แล้วจึงได้ใช้เครื่องมือทางการตลาดเพื่อจูงใจ
ผู้บริโภคให้เกิดความต้องการในผลิตภัณฑ์ของบริษัท
เช่น
สำหรับบุคคลที่ต้องการความปลอดภัยในการเดินทาง
โดยรถยนต์ รถยนต์ยี่ห้อ ซี.
ได้ใช้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ (สิ่งกระตุ้นทางการตลาด)
ให้เพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่
โดยใช้เทคโนโลยีจากอากาศยาน
พร้อมกับการโฆษณา (สิ่งกระตุ้นทางการตลาด)
ให้ผู้บริโภคได้รับทราบโดยหวังว่า
ผู้บริโภคจะเกิดความต้องการและซื้อรถยี่ห้อนี้
-
ทฤษฎีการจูงใจของฟรอยด์
(Freuds Theory of Motivation)
ฟรอยด์ค้นพบว่าพฤติกรรมของมนุษย์จะถูกควบคุมโดยความคิดพื้นฐาน
3 ระดับ ที่เรียกว่า อิด (Id)
อีโก้หรืออัตตา
(Ego)
และซูเปอร์อิโก้หรือธิอัตตา
(Superego) แล้วแต่ว่าบุคคลนั้น ๆ
จะมีความคิดพื้นฐานในส่วนใดที่มีอิทธิพลมากที่สุด
และโดยปกติบุคคลจะไม่ทราบถึงความต้องการที่แท้จริงของตนเอง
การที่นางสาวสุดสวยเปลี่ยนรถยนต์คันใหม่ที่มี
รูปทรงปราดเปรียว
และราคาแพง
โดยให้เหตุผลว่าเพราะต้องการความปลอดภัยในการขับขี่
แต่ลึกลงไปเธออาจ
ต้องการแสดงให้เห็นถึงฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของเธอด้วย
และในส่วนลึกที่สุดนางสาวสุดสาวอาจซื้อรถคันนี้
เพราะให้ความรู้สึกว่าตัวเองยังเป็นวัยรุ่น
(อายุน้อยลง)
และสามารถดึงดูดความสนใจของเพศตรงข้ามได้ดี
ดังนั้นนักการตลาดจึงอาจจัดทำการวิจัยเพื่อวิเคราะห์ถึงสาเหตุหรือสิ่งจูงใจที่แท้จริงในการซื้อของผู้บริโภค
โดยทำ
การเก็บข้อมูลในส่วนความรู้สึกลึก
ๆ ของผู้บริโภคกลุ่มเล็ก
ๆ
โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า Projective
techniques
เพื่อที่จะดึงเอาอีโก้และซูเปอร์อิโก้ออกไป
และให้กลุ่มตัวอย่างตอบความต้องการที่แท้จริง
เพื่อนักการตลาด
จะได้เข้าใจถึงพฤติกรรมและสิ่งจูงใจที่แท้จริงของผู้บริโภค
ตัวอย่างผลของการวิจัยพบว่า
ผู้บริโภคไม่ชอบลูกพรุน
เพราะผิวเหี่ยวย่นของลูกพรุนทำให้คิดถึงความเจ็บป่วย
และความแก่
หรือการที่แม่บ้านให้ความสำคัญกับการ
อบขนมเค้กเพราะให้ความรู้สึกเหมือนการให้กำเนิดบุตร
เป็นต้น
2. การรับรู้ (Perception)
การรับรู้เป็นกระบวนการที่บุคคลเลือกจัดประเภท
ตีความ
และรับรู้ข้อมูลหรือสิ่งกระตุ้นต่าง
ๆ ที่ได้พบเห็นหรือได้รับ
เมื่อผู้บริโภคได้รับสิ่งกระตุ้นจากประสาทสัมผัสทั้ง
5 ไม่ว่าจะเป็นการได้เห็น
ได้ยิน ได้กลิ่น การสัมผัส
หรือได้ลิ้มรสก็ตาม
ผู้บริโภคแต่ละคนจะเกิดการรับรู้และตีความข้อมูลด้วยความรู้สึกส่วนตัวของคนที่มีต่อลักษณะทางกายภาพของสิ่งเร้า
ความสัมพันธ์ของสิ่งเร้ากับสิ่งแวดล้อม
และเงื่อนไขของแต่ละบุคคล (ประสบการณ์ในอดีต)
เช่น นางสาวสุดสวยเห็น
สิ่งเร้า xx อาจคิดว่าเป็น
ภาพรั้วบ้านหรืออักษร X
ในภาษาอังกฤษ
แต่หากพบเห็นในชั่วโมงคณิตศาสตร์จะเข้าใจว่า
เป็นตัวแปร X
ในวิชาคณิตศาสตร์
ในขณะที่เด็กชายอายุ 4 ขวบ
อาจคิดว่าเป็นเครื่องหมายผิด
(x) ก็ได้ ตามปกติผู้บริโภค
จะได้พบเห็นสิ่งกระตุ้นต่าง
ๆ มากมาย เช่น
ในการดูโทรทัศน์
รายการเกมส์เศรษฐี
นางสาวสุดสวยได้เห็นภาพยนตร์
โฆษณาสินค้าต่าง ๆ มากมาย
แต่จะรับรู้โฆษณาเพียงบางชิ้นเท่านั้น
ทั้งนี้เป็นกลไกทางธรรมชาติของมนุษย์ที่จะมีการ
เลือกรับสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ
เพื่อป้องกันการสับสน
ตามปกติผู้บริโภคมักจะเลือกรับรู้เฉพาะสิ่งกระตุ้นที่ตรงกับความเชื่อ
หรือทัศนคติและเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับความต้องการหรือการรับรู้ต่อตนเอง
(Self Perception) ตนเท่านั้น
และการรับรู้
ของบุคคลจะแตกต่างกันไปตามประสบการณ์ของแต่ละบุคคล
นักการตลาดจะต้องระลึกว่าบุคคลจะเลือกรับรู้เฉพาะ
สิ่งที่สอดคล้องกับความต้องการและตรงกับการรับรู้ต่อตนเอง
(Self Perception)
ซึ่งการรับรู้ต่อตนเอง
หมายถึงการที่
ผู้บริโภครับรู้ต่อตนเองว่าเป็นอย่างไร
เช่น
นางสาวสุดสวยรับรู้ว่าตนเองเป็นนักธุรกิจ
นางสมศรีรับรู้ตนเองว่าเป็น
แม่บ้านที่ดี
ทั้งสองจะเลือกรับรู้โฆษณาต่าง
ๆ ที่พบเห็นที่ต่างกัน เช่น
นางสาวสุดสวยจะเลือกรับรู้โฆษณารถยนต์
ยี่ห้อที่สวย ปราดเปรียว
เหมาะสมกับสาวนักธุรกิจ
ในขณะที่นางสมศรีอาจจะเลือกรับรู้โฆษณาเกี่ยวกับน้ำมันพืช
งานเฟอร์นิเจอร์โชว์ต่าง ๆ
เป็นต้น
ซึ่งในการเลือกรับรู้ของทั้งสองจะดูจากเนื้อหาของโฆษณาและลักษณะของตัว
ฟรีเซ็นเตอร์ (Presenter) ด้วย
ดังนั้นในการที่จะจัดสิ่งเร้าทางการตลาดเพื่อให้ผู้บริโภคเกิดการรับรู้ได้
หากเป็น
ชิ้นงานโฆษณาจะต้องคำนึงถึงลักษณะของฟรีเซ็นเตอร์
และหากเป็นสินค้าที่ใช้กันทั่ว
ๆ ไป อาจจะต้องเน้น
ที่บรรจุภัณฑ์ที่ดูสะดุดตาและตรงกับการรับรู้ของตนเองของกลุ่มเป้าหมาย
เช่น
แชมพูของสาววัยรุ่นจะมีสีสรร
ของบรรจุภัณฑ์แบบหนึ่ง
ขณะที่แชมพูของวัยรุ่นชายจะมีสีสรรของบรรจุภัณฑ์อีกแบบหนึ่ง
เป็นต้น
3. การเรียนรู้ (Learning)
การเรียนรู้เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือประพฤติซ้ำในพฤติกรรมของผู้บริโภค
และมีผลเป็นอย่างมาก
ต่อทัศนคติและความเชื่อของบุคคลนั้น
ผู้บริโภคอาจเกิดการเรียนรู้จากพฤติกรรมการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นต่าง
ๆ
ด้วยตนเอง เช่น
นางสาวทาท่าเคยใช้แชมพูยี่ห้อ
เอ. แล้วผมนุ่มสวย
ครั้งต่อไปจึงซื้อมาใช้อีกเพราะเกิดการเรียนรู้
ว่าแชมพูยี่ห้อนี้ดี
หรือผู้บริโภคอาจเกิดการเรียนรู้จากการบอกเล่าที่เป็นประสบการณ์ของบุคคลอื่น
เช่น คุณแม่
บอกว่าดีหรือดาราภาพยนตร์ที่ชื่นชอบบอกว่าใช้แล้วดี
เป็นต้น
ดังนั้นนักการตลาดอาจใช้วิธีการโฆษณาแบบซ้ำ
ๆ
เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดการเรียนรู้ในผลิตภัณฑ์ของตน
และทำให้เกิดพฤติกรรมการซื้อขึ้นได้
4. ความเชื่อ (Beliefs)
ความเชื่อเป็นความคิดของผู้บริโภคที่ยึดถือต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ซึ่งเป็นผลมาจากประสบการณ์ในอดีต
ซึ่งความเชื่อ
เรื่องนี้อาจไม่มีเหตุผลก็ได้
เช่น การที่คนเชื่อว่า
หากจะออกจากบ้านแล้วมีจิ้งจกร้องทักจะพบโชคร้ายจึงไม่ควร
ออกจากบ้านในวันนั้น
หรือเป็นความเชื่อที่เกิดจากประสบการณ์ในการใช้สินค้าของตนโดยตรง
เช่น เคยเชื่อมั่นว่า
ใช้มะกรูดสระผมแล้วดี
และมีแชมพูยี่ห้อหนึ่งโฆษณาว่าผสมมะกรูดก็เลยลองซื้อมาใช้
(เพราะตรงกับความเชื่อเดิม)
และปรากฏว่าใช้แล้วผมนุ่มและดกดำขึ้น
ผู้บริโภครายนี้ก็จะเกิดความเชื่อถือในแชมพูยี่ห้อนี้
และอาจจะเชื่อไปถึง
ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ
ที่มาจากผู้ผลิตรายเดียวกันนี้ด้วย
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าความเชื่อถือของผู้บริโภคจะมีผลเป็นอย่างมาก
ต่อพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค
ดังนั้นนักการตลาดจะต้องติดตามอยู่เสมอหากพบว่าผู้บริโภคมีความเชื่อถือใน
ด้านลบต่อบริษัท
หรือผลิตภัณฑ์ของบริษัท
จะต้องดำเนินการแก้ไขความเชื่อที่ผิดพลาดนั้น
5. ทัศนคติ (Attitude)
ทัศนคติเป็นการประเมินที่บุคคลมีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งในด้านบวกและลบ
เช่น
ผู้บริโภคอาจมีทัศนคติต่อการใช้
น้ำตาลทรายชงกาแฟว่าทำให้มีแคลอรี่สูง
เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
เพราะฉะนั้นน้ำตาลทรายไม่ดีจึงเลิกใช้
น้ำตาลทราย เป็นต้น
หรืออาจเกิดทัศนคติต่อผลิตภัณฑ์ในด้านความพอใจ
หรือความไม่พอใจ เช่น
เมื่อได้ทดลอง
สารสังเคราะห์ที่ให้ความหวานเหมือนน้ำตาลแต่ให้แคลอรี่ต่ำกว่าน้ำตาลยี่ห้อหนึ่ง
แล้วชอบรสชาติแต่รู้สึกว่า
ราคาแพงเกินไปจึงไม่ซื้อมาใช้
จะเห็นได้ว่าทัศนคติจะมีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค
นอกจากนี้ผู้บริโภค
จะมีทัศนคติต่อสิ่งต่าง ๆ
เสมอ เช่น ทัศนคติต่อศาสนา
การเมือง เสื้อผ้า ดนตรี
อาหาร และอื่น ๆ
ซึ่งทัศนคติต่อ
สิ่งต่าง ๆ
จะมีความเกี่ยวข้องกันเสมอ
นักการตลาดจะต้องพยายามเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในทัศนคติของบุคคล
แล้วมากกว่าจะพยายามเปลี่ยนทัศนคติของบุคคล
เช่น
การเสนอผลิตภัณฑ์ที่ไม่ขัดต่อกฎของวัฒนธรรมและสังคม
นักการตลาดจำเป็นที่จะต้องศึกษาหลักเกณฑ์การตัดสินใจซื้ออันเป็นผลมาจากปัจจัยทางวัฒนธรรม
สังคม ลักษณะ
ส่วนบุคคล
และลักษณะทางจิตวิทยา
ปัจจัยเหล่านั้นมีอิทธิพลต่อนักการตลาด
เนื่องจากมีประโยชน์ต่อการพิจารณา
ความสนใจของผู้ซื้อที่มีต่อผลิตภัณฑ์
เพื่อนำไปปรับปรุงผลิตภัณฑ์
ตัดสินใจด้านราคา
จัดช่องทางการจัดจำหน่าย
และส่งเสริมการตลาด
ทำให้ผู้บริโภคเกิดทัศนคติที่ดีต่อผลิตภัณฑ์และบริษัท
|