อย่างไรก็ตามการตัดสินใจของผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามขั้นตอนต่าง ๆ ครบทั้ง 5 ขั้นตอนเสมอไป ทั้งนี้ขึ้น อยู่กับ รูปแบบของสถานการณ์ในการซื้อ (Buying Situation) ในขณะนั้น ๆ ของผู้บริโภคว่าจะเป็นการซื้อใน สถานการณ์ใดต่อไปนี้
ที่สินค้าราคาต่ำและมีการซื้อบ่อย ๆ ผู้บริโภคสามารถที่จะซื้อตรายี่ห้อเดิมที่พอใจ หรือเปลี่ยนไปทดลองตราใหม่ได้ โดยไม่ต้องตัดสินใจมากมาย เพราะมีความเสี่ยงในการซื้อไม่มากนัก งานของนักการตลาดมี 2 ประการคือ ในกรณีที่ลูกค้าเป็นลูกค้าเดิมที่เคยใช้อยู่แล้วควรจะมีการโฆษณาช่วยเพื่อย้ำความมั่นในและเตรียมความจำให้ ผู้บริโภค รวมถึงการต้องรักษาระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์และความสะดวกในด้านสถานที่จัดจำหน่ายให้ สม่ำเสมอ สำหรับลูกค้าใหม่ต้องพยายามเรียกร้องให้เกิดความสนใจในตรา และพยายามเสนอผลิตภัณฑ์ ในลักษณะใหม่ รวมทั้งการจัดแสดง ณ จุดซื้อ การลดราคา การแจกแถม และการชิงรางวัลเพื่อกระตุ้นให้เกิดการ ทดลองใช้
ตรายี่ห้อเกิดขึ้นกับสินค้าที่ผู้บริโภครู้จัก แต่ไม่ได้ซื้อบ่อยและเป็นสินค้าที่มีราคาสูงพอสมควร หรือเป็นสินค้าที่ จะมีผลต่อบุคลิกของผู้ใช้ เช่น ไม้เทนนิส นาฬิกา กางเกงยีนส์ โทรทัศน์ และกล้องถ่ายรูป เป็นต้น นักการตลาด จะต้องออกแบบแผนของการติดต่อสื่อสารที่จะเพิ่มความเข้าใจและสามารถสร้างความเชื่อมั่นในตรายี่ห้อให้ ผู้บริโภค และอาจมีการให้การรับประกัน การรับคืนสินค้า เพื่อสร้างความมั่นใจและลดความเสี่ยงให้แก่ผู้บริโภคด้วย
กับการซื้อสินค้าที่ไม่รู้จัก ไม่คุ้นเคย ไม่ทราบขอบเขตของการใช้งาน ตัวอย่างเช่น แม่บ้านที่ไม่เคยใช้เครื่องซักผ้าเลย แต่ต้องการที่จะซื้อเครื่องซักผ้าไว้แบ่งเบาภาระในบ้าน จะต้องมีการเสาะแสวงหาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับความคุ้นเคย ของการใช้เครื่องซักผ้า ข้อดีข้อเสีย ของการซักด้วยเครื่อง นอกจากนี้จะต้องเสาะหาข้อมูลเฉพาะของเครื่องซักผ้าแต่ละ ยี่ห้ออีกด้วย ดังนั้นนักการตลาดจะต้องให้ข้อมูลทั้งทางด้านการโฆษณาและการส่งเสริมการขาย นอกจากนี้ในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค บางครั้งยังมีความซับซ้อนที่นักการตลาดจะต้องทำความเข้าใจ เนื่องจากการซื้อของครอบครัวนั้น อาจจะมีบุคคลต่าง ๆ ในครอบครัวเข้ามาเกี่ยวข้องกับการซื้อมากมาย โดยจะมี บทบาทที่แตกต่างกันไป พบว่าในสินค้าที่มีสถานการณ์การซื้อแบบพฤติกรรมการตอบสนองแบบประจำและเป็นสินค้า ที่ใช้ส่วนตัว เช่น บุหรี่ หรือถุงน่อง การตัดสินใจจะทำได้อย่างง่าย ๆ โดยบุคคลคนเดียวคือผู้ใช้ แต่ในสินค้าบางอย่าง ที่ต้องใช้ร่วมกันในครอบครัวหรือเป็นสินค้าที่มีราคาสูง การตัดสินใจมักจะมีหน่วยตัดสินใจ (Decision Making Unit) ที่จะประกอบไปด้วยบุคคลต่าง ๆ ในครอบครัวมากกว่าหนึ่งคนขึ้นไป เช่นในการตัดสินใจเกี่ยวกับสถานที่ที่ จะไปพักร้อนของครอบครัว สามี ภรรยา และลูก ล้วนแล้วแต่จะมีบทบาทในการตัดสินใจที่แตกต่างกันไป
บทบาทที่เกี่ยวข้องกับการซื้อ
(Buying Roles)
จะประกอบไปด้วยบทบาทต่าง ๆ
ได้แก่ ผู้ริเริ่ม (Initiator)
คือ |