เรื่องที่
3.3.3 การตัดสินใจรับเอาผลิตภัณฑ์ใหม่มาใช้ของผู้ซื้อ |
การตัดสินใจรับเอาผลิตภัณฑ์ใหม่มาใช้ของผู้ซื้อ(Buyer-Decision
Process for New Products)
นักวิจัยชาวอเมริกันชื่อ
Everett M.Rogers
ทำการวิจัยเกี่ยวกับการตัดสินใจรับเอาผลิตภัณฑ์ใหม่มาใช้ของผู้ซื้อ
(Buyer-Decision Process for New Products)
และได้ตั้งเป็นทฤษฎีเอาไว้ว่าก่อนที่ผู้ซื้อหรือผู้บริโภคจะตัดสินใจซื้อ
ผลิตภัณฑ์ใหม่ชนิดใดชนิดหนึ่งหรือไม่นั้น
ผู้บริโภคจะมีกระบวนการตัดสินใจโดยมีกระบวนการตัดสินใจแบ่งเป็น
5 ขั้นตอน ดังนี้
(1) การรู้จัก
(Awareness)
ในขั้นนี้ผู้บริโภคเพียงแต่รับรู้ว่ามีผลิตภัณฑ์ใหม่จำหน่ายในตลาด
แต่มีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่นี้น้อยมาก
- ความสนใจ (Interest)
ผู้บริโภคได้รับสิ่งกระตุ้นบางอย่างจึงเกิดความสนใจ
และทำการเสาะหาข้อมูลเกี่ยวกับ
ผลิตภัณฑ์นั้น
- การชั่งใจ (Evaluation)
ในขั้นนี้ผู้บริโภคจะทำการพิจารณาว่า
ควรจะซื้อผลิตภัณฑ์นี้มาทดลองหรือไม่
- การทดลอง (Trial)
ผู้บริโภคจะทดลองซื้อมาใช้
โดยจะซื้อในจำนวนน้อยก่อน
เพื่อดูว่าผลิตภัณฑ์ใหม่มีประโยชน์คุ้มค่าหรือไม่
-
การยอมรับเอาผลิตภัณฑ์ใหม่มาใช้
(Adoption)
ในขั้นนี้ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าในจำนวนมาก
ๆ และเป็นลูกค้าประจำต่อไป
หรือเลิกซื้อผลิตภัณฑ์ใหม่บางชนิด
ลำดับขั้นตอนการตัดสินใจยอมรับเอาผลิตภัณฑ์นั้น
ๆ
มาใช้จะดำเนินผ่านขั้นตอนต่าง
ๆ อย่างรวดเร็วไม่มีปัญหา
ยุ่งยากนัก
แต่ผลิตภัณฑ์บางอย่างขั้นตอนอาจใช้เวลานาน
เช่น
การจะยอมรับเครื่องล้างจานไฟฟ้าของแม่บ้าน
พบว่ามีแม่บ้านจำนวนมากที่สนใจอยากซื้อไปใช้
แต่ไม่อาจตัดสินใจซื้อไปใช้ได้
เพราะยังไม่เชื่อมั่นว่าจะมีประโยชน์
และราคาแพง
ดังนั้นทำให้ผลิตภัณฑ์จำนวนมากในปัจจุบันมีนโยบายที่จะให้ลูกค้าทดลองใช้ดูก่อน
เช่น เครื่องซักผ้า
รถยนต์ จักรเย็บผ้า
เป็นต้น
ในการรับเอาผลิตภัณฑ์ใหม่มาใช้นั้นจะแตกต่างกันในผู้บริโภคแต่ละคน
จะเห็นได้ว่าผู้บริโภคบางคนจะรับเอา
ผลิตภัณฑ์ใหม่มาใช้อย่างรวดเร็ว
ในขณะที่บางคนอาจจะรี ๆ รอ
ๆ อยู่ชั่วระยะหนึ่งก่อน
Everett M.Rogers
จึงได้ทำการวิจัยในเรื่องนี้และสรุปผลการวิจัยว่า
ผู้บริโภคจะยอมรับเอาผลิตภัณฑ์มาใช้สามารถแบ่งออกเป็น
5
จำพวกที่แตกต่างกันได้แก่
1. กลุ่มแนวหน้า (Innovators)
เป็นพวกแรกที่จะรับเอาผลิตภัณฑ์ใหม่ไปใช้
โดยไม่ต้องการโฆษณามาก
จะมีอยู่ประมาณร้อยละ 2.5
ของผู้บริโภค
ในตลาด
มักจะเป็นคนกลุ่มที่ชอบเสี่ยงภัย
อยู่ในวัยหนุ่มสาว
ฐานะทางสังคมค่อนข้างสูง
ฐานะทางการเงินดี ใจกว้าง
และเข้าสังคมได้ดี
2. กลุ่มนำสมัย (Early Adopters)
มีประมาณร้อยละ 13.5
ของผู้บริโภคในตลาด
มักจะเป็นผู้ที่ต้องการเป็นผู้นำทางความคิดและชอบมีส่วนร่วมม
ในกิจกรรมต่าง ๆ
ของชุมชน
โดยจะได้รับตำแหน่งผู้นำในกิจกรรมนั้น
ๆ ด้วย
ต้องการให้สังคมในท้องถิ่นนั้น
นับหน้าถือตา
จะอายุน้อยกว่า
แต่การศึกษาและความคิดริเริ่มดีกว่ากลุ่มหลัง
ๆ
3. กลุ่มทันสมัย (Majority)
มีประมาณร้อยละ 34
ของผู้บริโภคในตลาด
มีความคิดสุขุม รอบคอบ
แต่ชอบซื้อก่อนคนส่วนใหญ่ในสังคม
ตามปกติจะมีฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจดีกว่าผู้บริโภคโดยทั่วไป
4. กลุ่มตามสมัย (Late Majority)
มีประมาณร้อยละ 34
ของผู้บริโภคในตลาด
ชอบสงสัยไม่เชื่ออะไรง่าย
ๆ
จะไม่ยอมซื้อจนกว่าคนส่วนใหญ่ในสังคม
จะซื้อแล้ว
พวกนี้จะมีอายุมากกว่าพวกแรก
ๆ และมีการศึกษา
และฐานะทางเศรษฐกิจต่ำกว่า
5. กลุ่มล้าสมัย (Laggards)
มีประมาณร้อยละ 16
ของผู้บริโภคในตลาด
เป็นพวกหัวโบราณ
ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงใหม่
ๆ จะซื้อเมื่อคนอื่น ๆ
ซื้อกันจนเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว
มักเป็นพวกมาอายุและฐานะทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับต่ำ
ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการจำแนกประเภทของผู้รับผลิตภัณฑ์ใหม่ไปใช้มีประโยชน์ต่อการวางแผน
ทางการตลาดมาก
เพราะทำให้เรารู้ถึงลักษณะและความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่มเป็นอย่างดี
ทำให้การ
ดำเนินการทางการตลาดเป็นไปอย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น
เช่นทำให้ทราบว่าการโฆษณาและการส่งเสริมการขาย
ควรมุ่งตรงไปที่ผู้บริโภคที่นิยมใช้ผลิตภัณฑ์ใหม่กลุ่มแรก
ๆ เท่านั้น
ส่วนผู้บริโภคในกลุ่มตามสมัย
และล้าสมัย
การโฆษณาและการส่งเสริมการขายจะเป็นการสิ้นเปลืองโดยไร้ประโยชน์
และในระหว่างกลุ่มของกลุ่มแนวหน้า
และกลุ่มนำสมัยนั้น
กลุ่มนำสมัยนับว่ามีความสำคัญมากกว่าเพราะกลุ่มแนวหน้าจะต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ใหม่
มาทดลองโดยไม่ต้องกมีการโฆษณามากนัก
ในขณะที่กลุ่มนำสมัยต้องการข้อมูลต่าง
ๆ มากกว่า และกลุ่มนำสมัย
มีจำนวนมากกว่า
อย่างไรก็ตามนักการตลาดจะต้องคำนึงว่าจะทราบได้อย่างไรว่าผู้บริโภคพวกใดที่จัดอยู่ในกลุ่ม
นำสมัยและจะเข้าถึงผู้บริโภคเหล่านี้ได้อย่างไร
|
|