เรื่องที่
6.2.1
การจัดการการค้าปลีก |
ความหมายและประเภทของร้านค้าปลีก
การค้าปลีกเป็นการขายสินค้าและบริการให้กับผู้บริโภคคนสุดท้าย
(Final Consumers)
โดยมี
"ร้านค้าปลีก" เป็นองค์กรสำคัญ
รูปแบบการค้าปลีก
แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
การค้าปลีกที่ต้องอาศัยหน้าร้าน
(Store Retailing)
และที่ไม่ต้องอาศัยหน้าร้าน
(Non-store Retailing)
ประเภทของร้านค้าปลีก
ธุรกิจร้านค้าปลีกในประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากรูปแบบร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมเป็นร้านค้า
ปลีกสมัยใหม่
(Modern Trade) จากร้านค้าปลีกขนาดเล็กเป็นร้านค้าปลีกขนาดใหญ่
จากร้านค้าปลีกร้าน
เดียว เป็นร้านค้าปลีกเครือข่าย
(Chain Store Retailing)
และจากร้านค้าปลีกที่เป็นของคนไทยบริหารโดย
คนไทย เป็นร้านค้าปลีกที่มีเจ้าของและผู้บริหารเป็นชาวต่างชาติเกือบทั้งสิ้น
ถ้าแบ่งประเภทร้านค้าปลีกที่ปรากฏอยู่ในประเทศไทย
ปัจจุบันจะพบร้านค้าปลีกหลายประเภททั้งแบบ
ดั้งเดิมและแบบทันสมัย
1. Small Retailer (ร้านค้าปลีกขนาดเล็ก)
หรือเรียกกันติดปากว่า "ร้านโชห่วย"
เป็นรูปแบบร้านค้าปลีก
แบบดั้งเดิมที่บริหารงานโดยเจ้าของคนเดียว
ใช้พื้นที่น้อย ขายสินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน
ไม่มีการ
พัฒนารูปแบบการจัดการ จัดหาสินค้ามาโดยการซื้อจากหน่วยรถเงินสดหรือจากร้านค้าส่ง
ถึงแม้ความนิยม
ของผู้บริโภคต่อร้านค้าประเภทนี้จะลดน้อยลง
แต่ก็ยังปรากฏมีร้านค้ากระจายอยู่ตามพื้นที่ต่าง
ๆ ของประเทศ
อีกเป็นจำนวนมาก
2. Specialty Store (ร้านค้าปลีกเฉพาะอย่าง)
เป็นร้านค้าปลีกที่เน้นขายสินค้าเฉพาะอย่าง
เช่น ร้าน
ดอกไม้ ร้านเครื่องเขียน
ร้านค้าวัสดุก่อสร้าง ร้านขายปืน
ร้านขายอุปกรณ์กีฬา
ร้านค้าเหล่านี้พยายาม
พัฒนารูปแบบให้ทันสมัยขึ้นเพื่อแข่งขันกับร้านค้าปลีกสมัยใหม่ได้
แต่ด้วยข้อจำกัดและพฤติกรรมผู้บริโภคที่
เปลี่ยนไปซื้อสินค้าในศูนย์การค้าขนาดใหญ่
ทำให้ปริมาณลดน้อยลงไปเช่นกัน
3. Department Store (ห้างสรรพสินค้า)
เป็นร้านค้าปลีกขนาดใหญ่
ตกแต่งหรูหราให้บริการครบครัน
ขายสินค้าครบทุกประเภทโดยจัดแบ่งเป็นแผนกและหมวดหมู่ของสินค้าอย่างชัดเจน
ทำให้ลูกค้าสนุกสนาน
และเพลินเพลินในการซื้อสินค้าในลักษณะ
One-Stop Shopping
นอกจากนี้ในบริเวณศูนย์การค้าขนาดใหญ่
ซึ่งเป็นที่ตั้งของห้างสรรพสินค้ายังมีสิ่งอำนวยความสะดวก
และกิจกรรมมากมายที่จะสามารถทำให้สมาชิก
ทั้งครอบครัวสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างครบวงจร
จึงเป็นประเภทร้านค้าปลีกที่ได้รับความนิยมจากคนไทย
ยุคหนึ่งเป็นอย่างสูง
มีการขยายสาขาออกไปเป็นจำนวนมาก
เช่น ห้างเซ็นทรัล
โรบินสัน เดอะมอลล์
4. Supermarket (ซุปเปอร์มาร์เก็ต)
จ ำหน่ายสินค้าที่จำเป็น
ประกอบด้วย สินค้าประเภทอาหารและ
ของใช้จำเป็นในครัวเรือน
ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่มีกำไรต่ำ
จึงต้องบริหารอย่างรัดกุม
ลดความสูญเสีย ใช้พื้นที่
ไม่มาก มักจะเลือกทำเลที่ใกล้เคียงกับที่อยู่อาศัย
หรืออยู่ในเส้นทางจราจรที่อำนวยความสะดวกในเส้นทาง
กลับบ้าน เดิมซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่เป็นแผนกหนึ่งในห้างสรรพสินค้า
ปัจจุบันมีการแยกตัวเปิดเป็นอิสระ
หรือแบบ
Stand-alone เช่น ท็อปส์ซุปเปอร์มาร์เก็ต
เคยเป็นแผนกซุปเปอร์มาร์เก็ตในห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล
และโรบินสัน ปัจจุบันแยกการบริหารโดยมีบริษัท
รอแยล เอ โฮล ของเนเธอร์แลนด์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
เน้นขยาย
สาขาเป็นแบบ Stand-alone
ทั้งกรุงเทพฯ
และต่างจังหวัด
5. Convenience Store (ร้านค้าสะดวกซื้อ)
เป็นร้านค้าปลีกขนาดเล็กที่พัฒนารูปแบบการจัดการให้เป็น
ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ เน้นความสะดวกทั้งด้านทำเลที่ตั้ง
มีสาขาจำนวนมาก และเปิดบริการตลอด 24
ชั่วโมง
สินค้าที่ขายเน้นประเภทอาหาร
เครื่องดื่ม สินค้าอุปโภคบริโภค
สนองความต้องการซื้อแบบเร่งด่วน
ร้านค้า
ประเภทนี้ได้ขยายตัวเข้ามาทดแทนร้านค้าปลีกขนาดเล็กทั้งนี้โดยอาศัยรูปแบบที่สะอาด
สะดวก มีการจัดการดี
ภาพพจน์เหมาะสมกับคนรุ่นใหม่
เช่น ร้าน 7-ELEVEN
สามารถขยายสาขาได้ถึง 1,500
สาขา ในเวลาประมาณ
10 ปี ร้าน
Am-Pm ร้าน Family Mart นอกจากนี้ยังพบเห็นร้านสะดวกซื้อตามสถานบริการน้ำมันทุกยี่ห้อ
เช่น
ร้าน Jiffy Sho, Select, Tiger Mart, Star Mart เป็นต้น
แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการซื้อสินค้า
ของผู้บริโภครุ่นใหม่อย่างชัดเจน
6. Discount Store (ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่)
ขายสินค้าครบทุกประเภท
ใช้นโยบายราคาถูกทุกวัน
(Everday
Low Price) หวังยอดขายในปริมาณสูง
กำไรต่อหน่วยต่ำ ไม่เน้นบริการและความหรูหรา
ถึงแม้การ
ลงทุนสูง
แต่เป็นประเภทร้านค้าปลีกที่กำลังได้รับความนิยมและมีอัตราการเติบโตสูงสุดในปัจจุบัน
เช่น Tesco
Lotus, Carrefour, Big-C, Makro
ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นร้านค้าปลีกที่ถือหุ้นใหญ่โดยต่างประเทศที่มีกำลังเงินสูง
กำลังกล่าวขวัญกันว่าจะทำลายระบบการค้าปลีกเดิม
และทำให้ร้านค้าปลีกของคนไทยได้รับความเสียหาย
7. Category Killer (ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ที่เน้นขายสินค้าเฉพาะกลุ่ม)
เช่น
เครื่องใช้สำนักงาน
วัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับบ้านตกแต่งและสวน
และเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์กีฬา
อาศัยความชำนาญและความ
ได้เปรียบในการจัดหาสินค้าเฉพาะกลุ่ม
จึงทำให้สามารถนำเสนอสินค้าได้ครบถ้วน
ราคาถูก
และยังมีบริการหลังการขายอีกด้วย
เช่น Home Pro ร้านค้าปลีกที่ชำนาญด้านอุปกรณ์แต่งบ้าน
และสินค้า
DIY (Do in Yourself) Power Buy ร้านค้าปลีกสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า
Makro Office Center จำหน่าย
เฉพาะสายผลิตภัณฑ์อุปกรณ์สำนักงาน
นอกจากร้านค้าปลีกดังกล่าวยังมีการค้าปลีกที่ไม่ต้องมีหน้าร้าน
(Non-Store Retailing) เป็นรูปแบบการ
ค้าใหม่ที่ไม่จำเป็นต้องลงทุนสร้างร้านค้า
รูปแบบดังกล่าว ได้แก่
การขายตรง (Direct Sales)
การตลาด
ทางตรง (Direct Marketing) การขายผ่านสื่อ
(Media Retailing) เครื่องจำหน่วยสินค้าอัตโนมัติ
(Automatic
Vending Machine), การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
(E-Commerce) แบบ BZC (Business to consumer)
|