ประดู่แดง 

        ประดู่แดง (ชื่อวิทยาศาสตร์ :Phyllocarpus septentrionalis Donn. Smith) เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง
ถึงขนาดใหญ่มีความสูงประมาณ 10-12 เมตร ผิวเปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลอ่อน เรือนยอดแผ่กว้างกิ่งลู่ลง ผลัดใบ
ใบเป็นรูปมนรีออกเป็นคู่ สลับกันตามลำต้นลักษณะของใบปลายแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ มีสีเขียว ออกดอกเป็นช่อ
ช่อดอกสีแดงสดดอกจะบานไม่พร้อมกัน จะทยอยกันบานไล่ขึ้นไปตั้งแต่โคนก้านช่อจนถึงปลายช่อ เวลาบานจะแดงสพรั่ง
ทั้งต้น เกสรยาวยื่นออกมากลางดอก ดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ผลเป็นฝักแบนรูปขอบขนาน
โค้งเล็กน้อยเมล็ดแบนมีถิ่นกำเนิดในประเทศกัวเตมาลา ทวีปอเมริกาใต้

ลักษณะ
         ไม้ต้น สูง 10-20 เมตร เรือนยอดแผ่กว้างกิ่งลู่ลง ผลัดใบ เปลือกสีน้ำตาลอ่อน เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีเรือน
ยอดแผ่กิ่งก้านสาขาออกไปกว้าง ออกดอกราวๆ เดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม แต่ดอกจะอยู่ไม่ทนนัก


ใบ
       ประกอบแบบขนนกปลายคู่เรียงสลับ ใบคู่ที่อยู่ตรงปลายกิ่งขนาดใหญ่ที่สุด แผ่นใบรูปหอก ขอบเรียบ
ผิวเกลี้ยงทั้งสองด้านสีเขียว ใบย่อย 3-5 ใบ รูปใบหอก รูปไข่รี กว้าง 2 ซม. ยาว 6 ซม.

 


ดอก
       ออกเป็นช่อตามกิ่งเป็นกระจุก 3-5 ช่อ กลีบเลี้ยงสีแดง ดอกสีแดงเข้ม ออกดอกเดือน มกราคม- กุมภาพันธุ์


ผล
     เป็นฝักแบนรูปขอบขนานโค้งเล็กน้อย เมล็ดแบน

 


การค้นพบ
     ถิ่นกำเนิด ประเทศกัวเตมาลา อเมริกาใต้ อเมริกากลาง


การขยายพันธุ์
     ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง ต้องการปริมาณน้ำและความชื้นน้อย
ชอบดินร่วนซุยระบายน้ำได้ดี

ประโยชน์

      เป็นไม้ประดับ เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ชอบแดดจัด แต่ต้องการน้ำและความชื้นน้อย ปลูกในดินร่วนซุย
และระบายน้ำได้ดี


เกร็ด
• ต้นไม้ประจำ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
• ต้นไม้ประจำสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
• ต้นไม้ประจำโรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช

      

 

 

 

รายการหลัก

 

 

แหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมออนไลน์ สำนักการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ข้อมูลสำนัก บทความทางวิชาการ ผลงานเผยแพร่ งานวิจัย นิทรรศการการศึกษาทางไกล คลังข้อมูล