ตุง
เป็นภาษาถิ่นประจำภาคเหนือซึ่งตรงกับคำว่า ธง ในภาษาไทยภาคกลางและตรงกับคำว่า
ธุง ในภาษาท้องถิ่นอีสาน
มีลักษณะเป็นแผ่นวัตถุ ส่วนปลายแขวนติดกับเสาห้อยเป็นแผ่นยาวลงมา ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ. 2525
ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า ธง ไว้ว่า ธง น. ผืนผ้าโดยมากเป็นสีและบางอย่างมีลวดลายเป็นรูปต่าง
ๆ ที่ทำด้วยกระดาษหรือ
สิ่งอื่น ๆ ก็มีสำหรับใช้เป็นเครื่องหมายบอกชาติ เครื่องหมายตามแบบสากลนิยม
เครื่องหมายเดินทะเล อาณัติสัญญาณ ตกแต่ง
สถานที่ในงานรื่นเริงหรือกระบวนแห่
การใช้ตุงทางภาคเหนือ ได้ปรากฏหลักฐานในตำนานพระธาตุดอยตุง
ซึ่งกล่าวถึง การสร้าง
พระธาตุไว้ว่า เมื่อพระมหากัสสปะเถระได้นำเอาพระบรมสารีลิกธาตุพระรากขวัญเบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้า
มาถวายแด่พระยา
อชุตราชกษัตริย์แห่งราชวงศ์สิงหนวัติ พระองค์ได้ทรงขอที่ดินของพญาลาวจก
(ราชวงศ์ลวจังคราช) ในหมู่เขาสามเส้าเป็นที่ก่อ
สร้างพระมหาสถูปนั้น ทำให้ทำตุงตะขาบยาวถึงพันวา ปักไว้บนยอดดอยปู่เจ้า
ถ้าหางตุงปลิวไปเพียงใดกำหนดให้เป็นรากฐานสถูป
ภาพ ตุงไชยและตุงไส้หมู ใช้ประดับ ตกแต่งในพิธีมงคลและงานบุญ
|
|
ตุงมีหลายชนิด หลายแบบ หลายลักษณะ หลากรูปทรง ต่างลวดลาย และมากชนิดของวัสดุในการทำ
รวมทั้งโอกาสต่าง ๆ
ในการใช้ตุง จึงพอที่จะจำแนกออกเป็นประเภทได้ดังนี้
1. แบ่งตามวัสดุในการทำ
ตุงที่ทำจากกระดาษ
ได้แก่ ตุงช้าง ตุงไส้หมู
ตุงที่ทำจากผืนผ้า
ได้แก่ ตุงตะขาบ ตุงจระเข้ ตุงแดง ตุงซาววา ตุงพระบฏ
ตุงที่ทำด้วยกระดาษหรือผ้า
ได้แก่ ตุงสามหาง ตุงที่ทอจากเส้นด้ายหรือเส้นไหม ได้แก่ ตุงไชย
ตุงที่ทำจากไม้หรือสังกะสี
ได้แก่ ตุงกระด้าง
ภาพ ตุงไชยใช้ในการร่วมเดินขบวนเฉลิมฉลอง
|
|
2.
ตุงที่ใช้ในงานประดับประดาหรือร่วมขบวน
ตุงซาววา
มีความหมายมงคลใช้งานเหมือนตุงไชยแต่มีลักษณะยาวกว่า ไม่มีเสาที่ปัก
ต้องใช้คนถือหลายคนนิยมให้ผู้ร่วม
ขบวนเดินถือชายตุงต่อ ๆ กัน
ตุงกระด้าง
มักนิยมทำด้วยไม้แกะสลักและประดับกระจก ลงรักปิดทองด้วยลวดลายดอกไม้ต่าง
ๆ ลายสัตว์ต่าง ๆ แบบถาวร
และมักจะทำไว้ในที่ที่มีความสำคัญในพื้นที่ต่าง ๆ
3. ตุงที่ใช้ในงานพิธีมงคล
ตุงไชย
เป็นเครื่องหมายบอกถึงความเป็นสิริมงคล ทำได้โดยการทอจากด้ายหรือสลับสีเป็นรูปเรือ
รูปปราสาทหรือลวดลาย
มงคล ใช้เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและเป็นเครื่องหมายบอกให้รู้ว่า ในบริเวณนั้นจะมีงานฉลองสมโภชโดยจะปักตุงไว้ห่างกัน
ประมาณ 8-10 เมตร เป็นแนวสองข้างถนนสู่บริเวณงาน และยังนิยมใช้ในการเดินขบวนเมื่อมีงานเฉลิมฉลองต่าง
ๆ
ตุงช้าง
ส่วนใหญ่ทำด้วยกระดาษมีลักษณะการนำไปใช้งานเช่นเดียวกับตุงไชย
ตุงพระบฏ
จะเขียนภาพเกี่ยวกับพุทธประวัติ จะประดับตุงไว้ด้านหลังของพระประธานในโบสถ์
โดยการแขวนไว้กับผนังด้าน
หลังพระประธานทั้งสองข้าง
ตุงตะขาบ
ตุงจระเข้ จะมีรูปตะขาบและจระเข้อยู่ตรงกลาง ปักไว้เป็นการแสดงว่าวัดนี้จะมีการทอดกฐิน
หรือแห่นำขบวนไป
ยังวัดที่จองกฐินไว้
ตุงไส้หมู
เป็นพวงประดิษฐ์รูปร่างคล้ายจอมแหหรือปรางค์ ใช้ประดับตกแต่งงานพิธีบุญต่าง
ๆ เพื่อความสวยงาม
ภาพ ตุงไชยรูปแบบและสีสันต่าง
ๆ ใช้ในการเดินขบวน
|
|
4.
ตุงที่ใช้ในงานพิธีอวมงคล
ตุงแดง
หรือเรียกว่า ตุงค้างแดง ตุงผีตายโหง จะปักตุงแดงไว้ตรงบริเวณที่ผู้ตายโหงแล้วก่อเจดีย์ทรายกองเล็ก
ๆ เท่ากับ
อายุของผู้ตายไว้ในกรอบสายสิญจน์โดยเชื่อว่าผู้ตายจะได้หมดทุกข์และเป็นการปักสัญลักษณ์เตือนว่าจุดนี้เกิดอุบัติเหตุ
ตุงสามหาง
มีความเชื่อตามคติของพระพุทธศาสนาว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือมีความเชื่อว่าคนเราตายแล้วต้องไปเกิด
ใหม่ในภพใดภพหนึ่ง หรือหมายถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ใช้ในการเดินนำขบวนศพ
ชาวเหนือมีจุดมุ่งหมายในการใช้ตุงเพื่อเป็นพุทธบูชามานาน
และยังเชื่อว่าการได้ถวายตุงเป็นการสร้างกุศลให้กับตนเอง
ใช้ในการสะเดาะเคราะห์ขจัดภัยพิบัติต่าง ๆ ให้หมดไป และยังเป็นการอุทิศให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
นอกจากนี้จุดมุ่งหมายในการใช้
ตุงที่สำคัญอีกอย่างคือการใช้เพื่อการเฉลิมฉลองศาสนสถาน ศาสนวัตถุ
หรือสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์อีกด้วย
แต่ในปัจจุบันอาจจะเห็นได้ว่าเมื่อความเจริญทางวัตถุเริ่มเข้ามาแทนที่
รูปแบบการผลิตของสังคมเปลี่ยนไป ก็ทำให้รูปแบบ
ของการใช้ตุงเริ่มเปลี่ยนแปลงจากการสนองตอบความต้องการทางด้านจิตใจเป็นส่วนใหญ่
กับเป็นการใช้ตุงเป็นเพียงสัญลักษณ์
ของชาวเหนือ และเน้นทางด้านธุรกิจมากขึ้นอย่างเช่น เราอาจเห็นตุงไปจัดอยู่ในโรงแรม
ตามเวทีประกวดนางงาม หรือการจัดงาน
อะไรก็ตามแต่จะต้องมีตุงเข้าไปเป็นองค์ประกอบด้วยเสมอจนไม่อยากคิดเลยว่าสาระความสำคัญและหน้าที่ของตุงมันเลอะเลือน
ไปแล้ว คนรุ่นนี้ควรอนุรักษ์เพื่อเป็นการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น อันเป็นศิลปวัฒนธรรมและคติความเชื่อของบรรพชนให้อยู่คู่กับ
คนภาคเหนือต่อไป
|