2.4 Introduction (ความนำ)
2.4.4 การเขียนข้อความที่กำหนดแก่นของบทความ (thesis statement)
(1) ความสำคัญของการเขียน thesis statement | |
(2) การเขียน thesis statement แบบต่าง ๆ | |
(3) การปรับปรุงแก้ไข thesis statement |
Thesis statement อยู่ที่ความนำในบทความซึ่งรวมจุดเน้นของบทความและบอกผู้อ่านว่าเนื้อหาของบทความจะเกี่ยวกับเรื่องอะไร เป็นการถอดความหมายของประเด็นที่จะอภิปรายในบทความ เป็นแนวทางให้ความคาดหวังแก่ผู้อ่าน เป็นการตอบคำถามจากคำถามวิจัยโดยตรง บอกจุดยืนของผู้เขียนในหัวข้อเรื่องที่เขียน และยังเป็นการจำกัดขอบข่าย (scope) ของบทความอีกด้วย หากไม่มี thesis statement บทความจะขาดทิศทางและไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ผู้อ่านไม่สามารถติดตามงานเขียนได้ดี
การเขียน thesis statement มักเขียนเป็นประโยคเดียวหรือสองประโยค ในงานเขียนบางประเภทเช่นการเล่าเรื่องจะมีแต่ thesis statement แบบที่เป็นนัยยะกล่าวคือไม่บอกตรง ๆ การเขียน thesis statement เป็นกระบวนการคิดระดมสมองอย่างซับซ้อนและยาวนาน ต้องรวบรวมข้อมูล ข้อโต้แย้ง ประเด็นปัญหาในเรื่องที่จะเขียน หาข้อมูลเชิงประจักษ์ หาและจัดความสัมพันธ์ของข้อมูล เช่นโดยการเปรียบเหมือนและเปรียบต่าง ประมวลออกมาเป็น thesis statement ที่ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดของบทความ ผู้เขียนบทความอาจเขียนร่าง (working thesis statement) สำหรับการกำหนดกรอบเนื้อหาของบทความก่อนแล้วปรับแก้ให้เหมาะสม ทั้งในระหว่างเขียนบทความและเมื่อเขียนบทความเสร็จให้เป็น thesis statement ที่สมบูรณ์
โครงสร้างของบทความ
การเขียนส่วนต่างๆ ของบทความ
- Title
- Author(s)
- Abstract
- Introduction
- Literature Review
- Methodology
- Results
- Discussions
- References
- Appendices