คำตอบ
ภาคการศึกษาพิเศษ เป็นช่วงเวลาที่มหาวิทยาลัยเปิดโอกาสให้นักศึกษาที่สอบซ่อมไม่ผ่านในภาค-การศึกษาที่ 1 หรือลงทะเบียนเรียนไม่เต็มตามโปรแกรมการศึกษาที่มหาวิทยาลัยจัดให้ เช่น อาจลงทะเบียน 1 ชุดวิชา หรือ 2 ชุดวิชาจาก 3 ชุดวิชาต่อภาคการศึกษาที่มหาวิทยาลัยจัดให้ นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาพิเศษได้ 1 ชุดวิชา เพื่อให้สามารถติดตามโปรแกรมการศึกษาของตนเองได้อย่างต่อเนื่องและไม่ล่าช้า ตลอดจนช่วยให้นักศึกษาที่ยังคงเหลือชุดวิชาที่จะต้องศึกษาตามโครงสร้างหลักสูตรอีก 1 ชุดวิชาก็จะสำเร็จการศึกษา มีโอกาสที่จะสำเร็จการศึกษาได้ในปีการศึกษานั้นนการศึกษา 4 ปี และมีระยะเวลาการศึกษาทั้งหมดไม่เกิน 3 เท่าของระยะเวลาของหลักสูตร แต่จะต้องลงทะเบียนเรียนไม่น้อยกว่า 6 ภาคการศึกษาปกติ จึงจะยื่นคำขอสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
ช่วงระยะเวลาเรียนของภาคการศึกษาพิเศษ อยู่ระหว่างการสอบไล่ประจำภาคการศึกษาที่ 2 (พฤษภาคม-กรกฎาคม) วันและเวลาในการสอบของภาคการศึกษาพิเศษจะเป็นวันและเวลาเดียวกันกับการสอบซ่อมของภาคการศึกษาที่ 2 (ต้นเดือนสิงหาคม) แต่เนื่องจากภาคการศึกษาพิเศษมีช่วงเวลาที่สั้นกว่าภาคการศึกษาปกติ จึงมีการสอบเพียงครั้งเดียว คือ การสอบไล่ เท่านั้น ไม่มีการสอบซ่อม
รายละเอียดเกี่ยวกับการเปิดสอนชุดวิชาต่าง ๆ ในภาคการศึกษาพิเศษจะอยู่ในเอกสาร คำชี้แจงการลงทะเบียนเรียนภาคการศึกษาพิเศษ ซึ่งมหาวิทยาลัยจะจัดส่งให้ในช่วงเวลาตามที่ระบุไว้ในปฎิทินการศึกษา (ประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ ถึงต้นเดือนมีนาคม)
ในภาคการศึกษาพิเศษ นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนได้ 1 ชุดวิชาเท่านั้น และไม่เป็นการบังคับ หากนักศึกษาไม่ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาพิเศษ ก็ไม่ต้องลาพักการศึกษา
* ข้อควรระวัง :
วันสอบภาคการศึกษาพิเศษเป็นวันเดียวกันกับการสอบซ่อมภาคการศึกษาที่ 2 หากนักศึกษาไม่ได้เข้าสอบไล่ในภาคการศึกษาที่ 2 หรือ กังวลใจว่าอาจสอบไม่ผ่านในภาคการศึกษาที่ 2 ควรวางแผนการเลือกชุดวิชาในการลงทะเบียนเรียนภาคการศึกษาพิเศษไม่ให้ทับซ้อนเวลาสอบกับตาราง สอบซ่อมภาคการศึกษาที่ 2 (ตารางสอบซ่อมภาคการศึกษาที่ 2 และตารางสอบภาคการศึกษาพิเศษมีความคล้ายคลึงกัน แตกต่างกันเฉพาะตารางสอบซ่อมภาคการศึกษาที่ 2 ไม่มีส่วนคาบที่ 3เวลา 15.00 - 17.30 น.)
|