5.2.2 การเปรียบเทียบคำกริยาวิเศษณ์
การเปรียบเทียบคำกริยาวิเศษณ์มีอยู่ 3 ขั้น เช่นเดียวกับการเปรียบเทียบคำคุณศัพท์1) ขั้นธรรมดา (Positive Degree)
2) ขั้นกว่า (Comparative Degree)
3) ขั้นสุด (Superlative Degree)
การเปรียบเทียบคำกริยาวิเศษณ์ต่างจากการเปรียบเทียบคำคุณศัพท์คือ การเปรียบเทียบคำกริยาวิเศษณ์เป็นการเปรียบเทียบลักษณะการกระทำกริยาอาการ
1) การเปรียบเทียบขั้นธรรมดา (Positive Degree)
การเปรียบเทียบขั้นธรรมดา เป็นการเปรียบเทียบการกระทำกริยาของคนหรือสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ จำนวน 2 เช่น ถ้าเป็นคน อาจจะเป็นการเปรียบเทียบการกระทำกริยาของ
คน คนเดียวกันแต่ต่างวาระ
คน 2 คน
คน 1 คน กับ คน 1 กลุ่ม
คน 1 กลุ่ม กับ คนอีก 1 กลุ่ม
การเปรียบเทียบขั้นธรรมดานี้ เป็นการเปรียบเทียบความเหมือนกันหรือเท่าเทียมกัน
วิธีการเปรียบเทียบใช้โครงสร้าง ดังนี้
verb + as + adverb + as
like, alike, unlike, not alike เช่น
The boy swam like a fish.
John always works hard like his father.
Unlike his brother, Pete enjoys eating Chinese food.
จากตัวอย่าง การใช้ like, alike, unlike, not alike มีโครงสร้างดังนี้
กริยาที่ใช้ในประโยคเป็นกริยาที่บอกการกระทำ เช่น study, walk, work, eat, etc.
- ใช้ as เพื่อบอกว่า ‘เหมือนกับ’ หรือ‘ไม่เหมือนกันกับ’ เช่น
You should walk to school as most students do.
จากตัวอย่าง as + clause (= subject + verb)
- ใช้ the same as และ similar to ซึ่งมีความหมายว่า เหมือนกับ เช่นเดียวกับ เช่น
Please treat me the same as you treat those customers.
การใช้ the same as ที่ปรากฏนี้ the same as เป็นคำกริยาวิเศษณ์ ใช้ในโครงสร้างประโยคดังนี้ clause + the same as + clause
2) การเปรียบเทียบขั้นกว่า
การเปรียบเทียบขั้นกว่า เป็นการเปรียบเทียบความไม่เหมือนกันของการกระทำของคนหรือสิ่งมีชีวิต สิ่งของ หรือสถานที่ ฯลฯ จำนวน 2 คน 2 อย่าง หรือ 2 สถานที่ ฯลฯ ในทำนอง ‘มากกว่า/น้อยกว่า’ เช่น ถ้าเป็น คน/สิ่งมีชีวิต จะเป็นการเปรียบเทียบ
คน/สิ่งมีชีวิต 2 คน/สิ่งมีชีวิต
คน/สิ่งมีชีวิต 1 คน/สิ่งมีชีวิต กับ คน/สิ่งมีชีวิต 1 กลุ่ม
คน/สิ่งมีชีวิต 1 กลุ่ม กับ คน/สิ่งมีชีวิต อีก 1 กลุ่ม
Jan sang more beautifully than Malee.
Cars and motorcycles run faster than bicycles.
Cars and motorcycles run more quickly than bicycles.
การเปรียบเทียบคำกริยาวิเศษณ์ขั้นกว่า
ถ้าคำกริยาวิเศษณ์เป็นคำที่มีพยางค์เดียว ให้เติม -er ท้ายคำ
คำกริยาวิเศษณ์ที่มี 2 พยางค์ บางคำ ให้เติม -er ท้ายคำ บางคำต้องใช้ more นำหน้าคำกริยาวิเศษณ์
คำกริยาวิเศษณ์มีมากกว่า 2 พยางค์ ให้ใช้ more นำหน้า
การใช้ more นำหน้าคำกริยาวิเศษณ์เพื่อให้ความหมายว่า ‘มากกว่า’ และใช้ less นำหน้าคำกริยาวิเศษณ์ เมื่อต้องการความหมายว่า ‘น้อยกว่า’
ในการเปรียบเทียบขั้นกว่า จะต้องใช้ than หลังคำกริยาวิเศษณ์
3) การเปรียบเทียบขั้นสุด
การเปรียบเทียบขั้นสุด เป็นการเปรียบเทียบการกระทำของคนหรือสิ่งมีชีวิต สิ่งของ หรือสถานที่ ฯลฯ จำนวน 3 ขึ้นไป เพื่อแสดงความเป็นที่สุดหรือหนึ่งเดียวเท่านั้น เช่น Jill reads the fastest in our class.
สรุปได้ว่า การเปรียบเทียบคำกริยาวิเศษณ์ขั้นสุด
ถ้าคำกริยาวิเศษณ์เป็นคำที่มีพยางค์เดียว ให้เติม -est ท้ายคำ
คำกริยาวิเศษณ์ที่เป็นคำ 2 พยางค์บางคำ ให้เติม -est ท้ายคำ บางคำที่มี 2 พยางค์หรือมากกว่า 2 พยางค์ ให้ใช้ most นำหน้าเพื่อให้ความหมายว่า ‘มากที่สุด’ หรือใช้ least นำหน้าคำกริยาวิเศษณ์ เพื่อให้ความหมายว่า ‘น้อยที่สุด’
ในการเปรียบเทียบขั้นสุด จะต้องใช้ the นำหน้าคำกริยาวิเศษณ์ด้วย
ตารางแสดงการเปรียบเทียบคำกริยาวิเศษณ์
ตาราง 1
ขั้นธรรมดา |
ขั้นกว่า |
ขั้นสุด |
|
เติม -er และ -est |
fast hard |
faster harder |
fastest hardest |
Ex: Jim and Bill ran100 meters in 5 minutes. But Mike ran 110 meters in 4 minutes and Pete
could finish 110 meters in only 3 minutes.
= Jim ran as fast as Bill. Mike ran faster than Jim and Bill. And Pete ran the fastest.
ตาราง 2
ขั้นธรรมดา |
ขั้นกว่า |
ขั้นสุด |
|
ใช้ more และ most |
carefully beautifully boringly cleverly pleasantly |
more carefully more beautifully more boringly more cleverly more pleasantly |
most carefully most beautifully most boringly most cleverly most pleasantly |
Ex: Kelly made three mistakes in her typing. Helen did too. Sue made two, but Cindy didn’t
make any mistakes at all.
= Kelly typed as carefully as Helen. Sue typed more carefully than Kelly and Helen.
But Cindy typed the most carefully.
ตาราง 3
ขั้นธรรมดา |
ขั้นกว่า |
ขั้นสุด |
|
คำที่มีรูปเฉพาะ |
well badly much many |
better worse more more |
best worst most most |
Ex: Jay and Kim got a B+ for their work. But Nick got an A- and Tom got an A.
= Jay did his work as well as Kim. But Nick did better than the two students.
However, Tom did the best work.
4) การเปรียบเทียบโครงสร้าง the comparative + the comparative
มีความหมายในภาษาไทยว่า “ยิ่ง …ยิ่ง” ในโครงสร้างนี้ต้องมีคำเปรียบเทียบ 2 คำ ซึ่งอาจจะเป็นคำกริยาวิเศษณ์ 2 คำ หรือคำคุณศัพท์ 2 คำ หรือคำกริยาวิเศษณ์ 1 คำ และคำคุณศัพท์ 1 คำ คำกริยาวิเศษณ์หรือคำคุณศัพท์ในโครงสร้างนี้จะต้องมีรูปเป็น comparative degree และนำหน้าด้วย the ทั้ง 2 คำ รูปประโยคเป็นดังนี้
the comparative + subject + verb, the comparative + subject + verb
Ex: The sooner he sees the doctor, the sooner he will recover.
The more he eats, the thinner he becomes.
The more he read, the better he understood the lesson.