มาเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน
โดย...นางสุดารัตน์ บัวศรี
นักวิชาการศึกษา ชำนาญการ
หน่วยบรรณาธิการ ฝ่ายวิชาการ
สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
อีเมล์ : upacbsud@yahoo.co.th
(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)
|
ประชาคมอาเซียน
คือ อะไร ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง
10 ประเทศ รวมตัว
กันเพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ เพิ่มอำนาจต่อรองกับคู่ค้า และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจระดับโลก
รวมถึงมีการยกเว้นภาษีสินค้าบางชนิดให้
กับประเทศสมาชิก ส่งเสริมให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง มั่นคง ประชาชนอยู่ดีกินดี
มุ่งหวังจัดตั้งให้ได้ภายในปี 2558
สมาชิกประชาคมอาเซียนทั้ง
10 ประเทศ
ภาพจาก Web Site
http://www.thaibond.com
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 11-8-57 |
|
จุดเริ่มต้นการร่วมกลุ่มจัดตั้งประชาคมอาเซียน
วันที่
8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 เป็นวันที่อาเซียนถือกำเนิดขึ้นโดยมีพิธีลงนามปฏิญญาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หรือปริญญากรุงเทพฯ แต่เดิมผู้ก่อ
ตั้งมีเพียง 5 ประเทศ ต่อมาเพิ่มขึ้นอีก 5 ประเทศ รวมกลุ่มกัน 10 ประเทศ ได้แก่
อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ไทย พม่า มาเลเซีย กัมพูชา ลาว สิงคโปร์ บูไนดารุสซาลาม
ธงชาติประชาคมอาเซียน
ภาพจาก Web Site
http://aec.kapook.com
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 11-8-57 |
|
อาเซียนมีคำขวัญว่า หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์
หนึ่งประชาคม (One Vision, One Identity, One Community) นอกจากนี้ยังใช้ธงอาเซียน
สัญลักษณ์บน
ธงคือ ร่วงข้าว 10 ต้นมัดรวมกันไว้ มีความหมายว่า ประเทศทั้ง 10 ประเทศรวมกันเพื่อมิตรภาพ
ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และสีของธงยังแสดงความหมายดังนี้
สีน้ำเงิน
หมายถึง สันติภาพและความมั่งคง
สีแดง
หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
สีขาว
หมายถึง ความบริสุทธิ์
สีเหลือง
หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
นอกจากธงยังมีเพลงประจำอาเซียน
ใช้ชื่อว่า The ASEAN Way เป็นผลงานการแต่งเพลงของคนไทยที่ชนะเลิศการแข่งขันประกวดแต่งเพลง
คือ นายกิตติคุณ
สดประเสริฐ มีเนื้อร้องภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
เนื้อร้องภาษาอังกฤษ
|
เนื้อร้องภาษาไทย |
Raise
our flag high, sky high |
พลิ้วลู่ลม
โบกสะบัด ใต้หมู่ธงปลิวไสว |
Embrace
the pride in our heart |
สัญญาณแห่งสัญญาทางใจ |
ASEAN
we are bonded as one |
วันที่เรามาพบกัน |
Lookin
out to the world |
อาเซียนเป็นหนึ่ง
ดังที่เราปรารถนา |
For
peace, our goal from the very start |
เราพร้อมเดินหน้าไปตรงนั้น |
And
prosperity to last |
หล่อหลอมจิตใจ
ให้เป็นหนึ่งเดียว |
We
dare to dream we care to share |
อาเซียนยึดเหนี่ยวสัมพันธ์ |
Together
for ASEAN |
ให้สังคมนี้
มีแต่แบ่งปัน |
We
dare to dream |
เศรษฐกิจ
มั่นคง ก้าวไกล |
We
care to share for its the way of ASEAN. |
|
วัตถุประสงค์หลักของอาเซียนและประโยชน์ในการรวมตัวกัน
การก่อตัวของประชาคมอาเซียนก็เพื่อวัตถุประสงค์
7 ประการ คือ
1. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ
สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริการ
2. เพื่อส่งเสริมความมีเสถียรภาพ
สันติภาพ และความมั่งคงส่วนภูมิภาค
3. เพื่อเสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ
และพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมในภูมิภาค
4. เพื่อเสริมสร้างให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
5. เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปแบบของการฝึกอบรมและการวิจัย
รวมทั้งการส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
6. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม
การขยายการค้า ตลอดจนปรับปรุงการขนส่ง การสื่อสาร และการคมนาคม
7. เพื่อส่งเสริมความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก
องค์กรความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ และองค์การระหว่างประเทศ
มีความมุ่งเน้นประโยชน์ 3 ด้าน คือ
1.
ด้านการเมืองและความมั่งคง (ASEAN Political-Security Community: APSC)
เพื่อสร้างให้ประชาคมอาเซียนร่วมมือกันทางการเมือง สร้างเสถียรภาพ สันติภาพ
ปลอดอาวุธนิวเคลียร์ เน้นการแก้ไขโดยสันติวิธี แก้ปัญหาภัยคุกคามรูปแบบใหม่
เช่น การก่อ
การร้าย การลักลอบค้ายาเสพติด และอาชญากรรมข้ามชาติ
2.
ด้านเศรษฐกิจ (ASEAN Economic Community: AEC)
เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน มีการค้าขายระหว่างกันมากขึ้น มีการสร้างโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงไปมาหาสู่กันอย่างสะดวก
มีศักยภาพในการแข่งขันกับโลกภายนอกได้
โดยมีกรอบข้อตกลงการค้าระหว่างกัน เน้นให้เปิดเสรีการค้า ตลาดสินค้า บริการ
การลงทุน อุตสาหกรรมต่างๆ และแรงงานฝีมือโดยเสรี
3.
ด้านสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community: ASCC)
เพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ มีสิ่งแวดล้อมที่ดี เสริมความรู้
ความเข้าใจระหว่างประเทศสมาชิกในด้านความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์ มรดกทาง
วัฒนธรรม และอัตลักษณ์ระดับภูมิภาค มีควมรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกัน โดยเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
การคุ้มครอง และสวัสดิการสังคม สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม ความ
ยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม สร้างอัตลักษณ์อาเซียน และสร้างความเท่าเทียมกัน
ประชาคมอาเซียนกับความหลากหลายอาชีพ
ภาพจาก Web Site
http://aec.kapook.com
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 11-8-57 |
|
แนวทางการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยเข้าสู่อาเซียน
1. การเตรียมความพร้อมของภาครัฐ
โดยแต่ละหน่วยงานต้องพัฒนาศักยภาพข้าราชการทั้งด้านการทำงานในเวทีระหว่างประเทศ
ทักษะภาษาอังกฤษ และภาษาเพื่อนบ้าน
นอกจากนี้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกำลังเร่งรัดการแก้ไขและปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับพันธกรณีของไทยภายใต้กรอบอาเซียน
2. การเตรียมความพร้อมของประชาชน
โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างประชาคมอาเซียน การจัดทำสื่อเผยแพร่ สื่อสิ่งพิมพ์
เว็บไซต์ รายการโทรทัศน์ ฯลฯ นอก
จากนี้ยังมีการเตรียมในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการด้านหลักสูตรอาเซียนศึกษา
3. การเตรียมความพร้อมของภาคเอกชน
ได้แก่ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย
พัฒนาศักยภาพของภาคเอกชน
ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันจากการเปิดตลาดเสรีอาเซียนได้อย่างเต็มที่
และจัดทำยุทธศาสตร์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้กับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม
4. เรื่องภาษา
ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางของอาเซียน และมีแนวโน้มว่าอนาคตอาจใช้ภาษาจีนเพิ่มเป็นภาษาอีกหนึ่งภาษาได้
5. เรื่องสกุลเงิน
ใช้การแลกเปลี่ยนการค้าขาย และชำระค่าบริการ จะใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
และสกุลยูโรของยุโรป และเป็นไปได้ว่าในอนาคตอาจใช้เงินหยวนของจีน
เป็นเงินสกุลกลางได้
การรวมเป็นหนึ่งเดียวกันของประชาคมอาเซียน
ภาพจาก Web Site
http://manager.co.th
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 11-8-57 |
|
การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนทั้งหมดหมายถึงการนำพา
10 ประเทศสมาชิกที่มีความแตกต่างและหลากหลายไปสู่ความเป็น ประชาคมเดียว
ทั้งที่ยังคงรักษา
อัตลักษณ์ของแต่ละชาติไว้ด้วย แต่ให้สร้างความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกัน สร้างสำนึกความเป็นประชาคมเดียวกันให้เกิดขึ้นกับประเทศสมาชิก
ทำให้ต่อยอดไปสู่ความสำเร็จได้ และ
คาดว่าเป็นไปได้อย่างแน่นอน
เอกสารอ้างอิง
...........................................................................................................................
-จักรพงษ์ จีนนะวงษ์ (2556) พวกเราต้องรู้เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
นักรบ พิมพ์ขาว (บก.) นนทบุรี: บริษัท ธิงค์ บียอนด์ บุ๊ค จำกัด
-พิภพ อุดร และอรรถยุทธ์ ศรีสมุทร (2556) 50 คำ กุญแจไขอาเซียน ใน ASEAN
DNA Series ความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศกับสถาบันทรัพยากรมนุษย์
กรุงเทพมหานคร
|