ทัศนาสังคมอีสานผ่าน
ผญา ปรัชญาแห่งดินแดนที่ราบสูง
โดย...นายชัยณรงค์ อกอุ่น
ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
โรงเรียนโพธิ์ไทรพิทยาคาร
อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี
อีเมล์ : makkaaot@gmail.com
(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)
|
ดินแดนที่ราบสูงแถบตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยทั้ง
19 จังหวัด หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ภาคอีสาน ซึ่งเป็นดินแดนแห่งอารยธรรมที่มีขนบธรรมเนียมประเพณี
วัฒนธรรมอันเก่าแก่มาแต่บรรพกาลแห่งหนึ่งของประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีภาษาที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง
เรียกว่า ภาษาอีสานเป็นภาษาที่สืบเชื้อสายมาจากอาณาจักร
ล้านช้าง
ผญาคืออะไร
ผญา เป็นคำพูดที่ชาวไทยอีสาน
ใช้พูดกันเพื่อแสดงถึงภูมิปัญญาของผู้พูด นักวิชาการและผู้รู้ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับความหมายของ
ผญา ไว้ดังนี้
ปรีชา พิณทอง
(2532 : 528) ได้ให้ความหมายว่า ผญา (น.) หมายถึง ปัญญา, ความรู้, ความฉลาด
คำภาษิตที่มีความหมายลึกซึ้งเรียกว่า ผญา ส่วน นงลักษณ์ ขุนทวี (มปป.) ให้ความหมายเกี่ยวกับคำว่าผญา
ไว้ดังนี้ ผญา เป็นคำภาษาถิ่นอีสาน ตรงกับภาษาไทยกลางว่า ปัญญาหรือปรัชญา
เพราะในภาษาถิ่นอีสาน จะใช้เสียง ผ แทนเสียง ป หรือ
ปร ในภาษาไทยกลาง เช่น เผด เป็น เปรต, โผด เป็น โปรด, ผาบ เป็น ปราบ, ผาสาด
เป็น ปราสาท
สำนักงานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
มหาวิทยาลัยขอนแก่น (2540 : 45) ได้สรุปความหมายของ ผญา ไว้ดังนี้ ผญา (น)
เป็นคำพูดของนักปราชญ์ถิ่นอีสานโบราณและเป็น
ภาษาที่มีอายุมากพอสมควร ผญาเป็นคำที่ถ่ายทอดมาจากคำว่า ปัญญา และปรัชญา
ซึ่งอพยพมาตามหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนา นักปราชญ์โบราณอีสานท่านเปลี่ยน
จากคำเดิมคือ ปัญญา เป็น ผญา เพื่อความสะดวกหรือเพื่อความเหมาะสมกับภาษาถิ่นก็อาจเป็นได้
ปัญญา แปลว่า ความรอบรู้ ดังนั้น คำว่า ผญา ก็คงมีความหมายเช่นเดียวกัน
หรือใกล้เคียงกัน
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์
(มปป.) ให้ความหมายว่า คำผญา หรือ ผะหยา เป็นกาพย์กลอนพื้นเมืองอย่างหนึ่ง
ที่แสดงความคิด ปัญญา ความฉลาดหลักแหลมของ
ชาวบ้าน พร้อมกันนั้นก็เป็นคำพูดที่แสดงถึงความมีไหวพรับปฏิภาณอันหนักแน่นระหว่างหนุ่มสาว
หญิงชาย ที่ยกขึ้นมาเพื่อถามไถ่เกี่ยวกับความรู้รอบตัว ทัศนคติคุณสมบัติที่มี
ความรักต่อกัน
จากทัศนะดังกล่าวเห็นว่า
คำว่า ผญา ปัญญา ปรัชญา เป็นกลุ่มภาษาเดียวกัน มีความหมายคล้ายคลึงและใกล้เคียงกัน
ซึ่งอาจใช้แทนกันได้ ดังนั้น สรุปได้ว่า ผญา, ปัญญา,
ปรัชญา (wisdom, philosophy, maxim, aphorism) หมายถึง ปัญญา ความรอบรู้
ไหวพริบ สติปัญญา คำคม สุภาษิต หรือคำที่พูดเป็นปริศนาฟังแล้วได้นำมาคิดมาวิเคราะห์
เพื่อค้นหาคำตอบจากปัญหาว่าความจริงเป็นอย่างไร มีความหมายว่าอย่างไร
ภาพจาก
Web Site
http://www.kaweeclub.com/b22/t8453/
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 27-8-57 |
|
ผญา
มีความเป็นมาอย่างไร
วรรณกรรมมุขปาฐะประเภทผญาหรือ
คำคม ภาษิตท้องถิ่นอีสานนี้ มีความเป็นมาอย่างไรหรือใครเป็นผู้ให้กำเนิด
ยากที่จะตัดสินได้ว่ามาจากไหน ใครเป็นผู้ให้กำเนิดหรือ
ริเริ่ม แต่อย่างไรก็ตาม มีผู้รู้และนักวิชาการ ที่ทำการศึกษาค้นคว้า วิจัย
เกี่ยวกับเรื่องผญา หรือภาษิตอีสาน ได้สันนิษฐานหรือให้ทัศนะเกี่ยวกับที่มาของผญาพอสรุปได้ดังนี้
1. ผญาเกิดจาก
คำสั่งสอนและศาสนา โดยหมายเอา คำสอนของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็ก ครูบาอาจารย์ที่มีต่อศิษย์
พ่อแม่ที่มีต่อลูกหลาน ทั้งนี้ก็สืบเนื่องจากคำสอนของศาสนาโดย
เฉพาะพระพุทธศาสนา
2. ผญาเกิดจากขนบธรรมเนียมประเพณี
โดยหมายเอา ข้อปฏิบัติที่คนในสังคมอีสานปฏิบัติต่อกันในวิถีชีวิต
3. ผญาเกิดจากการเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาว
อาจหมายเอาแรงบันดาลใจหรือความรู้สึกภายใจที่อยากจะบอกต่อกันและกัน จึงกล่าวออกมาด้วยคำคมเชิงโวหารภาพพจน์
ต่าง ๆ แล้วเกิดการโต้ตอบถ้อยคำแก่กันและกัน
4. ผญาเกิดจากการเล่นของเด็ก
โดยหมายเอา การเล่นกันระหว่างเด็กแล้วมีการตั้งคำถามอย่างเช่น ปริศนาคำทาย
แต่แทนที่จะถามโดยตรงกับสร้างเป็นถ้อยคำที่คล้อง
จองกัน
5. ผญาเกิดจากสภาพแวดล้อมหรือเหตุการณ์อื่น
ๆ ในวิถีชีวิต โดยหมายเอา สภาพการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตแล้วเกิดแรงบันดาลใจให้เกิดถ้อยคำในใจและมีการกล่าวถ้อยคำ
ที่คล้องจองแก่กันและกัน ในโอกาศที่เดินทางไปมาค้าขาย หรือกิจกรรมอื่น ๆ
(อดิศร เพียงเกษ, ๒๕๔๔: ๙๖)
จากการสันนิษฐานที่มาของการเกิดขึ้นของผญา
จะเห็นว่าผญานั้นมีความหมายต่อชาวอีสาน ไม่ว่าชาวอีสานอาศัยอยู่สถานที่ใด
เมื่อมีกิจกรรมใด ๆ ร่วมกัน หรือสนทนากัน
ในกลุ่ม จะมีการกล่าว ผญาสอดแทรกขึ้นมาเสมอ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทำให้ผญามีบทบาทหน้าที่และมีความสำคัญต่อสังคมไทยอีสานตั้งแต่อตีดจนถึงปัจจุบัน
อาจแบ่งเป็น
ประเภทต่าง ๆ แล้วแต่โอกาสที่จะนำไปใช้ในกิจกรรมนั้น ๆ
ภาพจาก
Web Site
http://www.punsook.org/2013/03/03/photo-contest-2013/
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 27-8-57 |
|
ประเภทของผญา
สามารถแบ่งเป็น 3 ลักษณะคือ
1 . หมวดที่ว่าด้วยผญาภาษิต
ได้แก่ คติสอนใจ ปริศนา เช่น ครันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพญา อย่าสิลืมชาวนาผู้ขี่ควายคอนกล้า
2 . หมวดที่ว่าด้วยผญาอวยพร
เช่น นอนหลับให้เจ้าได้เงินหมื่น นอนตื่นให้เจ้าได้เงินแสน แปนมือไปให้ได้แก้วมณีโชติ
โทษฮ้ายอย่าพาล มารฮ้ายอย่ามาเบียด
3 . หมวดที่ว่าด้วยผญาเกี้ยว
ได้แก่ การเกี้ยวพาราสีกันระหว่างหญิงชาย เช่น ครันอ้ายคึดฮอดน้องให้เหลียวเบิ่งเดือนดาว
สายตาเฮาสิก่ายกันอยู่เทิงฟ้า
ความสำคัญของผญาที่มีต่อสังคมชาวอีสาน
เมื่อพิจารณาจากตัวอย่างผญาอันเป็นวรรณกรรมมุขปาฐะชาวอีสานแล้ว
นับว่าผญามีบทบาทต่อสังคมอีสานที่สืบทอดมาแต่อดีตจนถึงปัจจุบันอยู่ไม่น้อย
ซึ่งมักจะแสดงออก
มาในลักษณะต่อไปนี้
1. ผญามีบทบาทต่อการสั่งสอน
การถ่ายทอดความรู้และสั่งสอนแก่ลูกหลาน ลูกศิษย์ ประชาชน ของพ่อแม่ ครูบาอาจารย์
และพระสงฆ์ นอกจากการถ่ายทอดโดยตรงแล้วยัง
การถ่ายทอดทางอ้อมด้วยการสังเกตความประพฤติของบุคคลแวดล้อมด้วยการปฏิบัติในกิจกรรมต่าง
ๆ เช่น การบอกเล่า การประกอบพิธีกรรม การแสดงมหรสพ โดยใช้ถ้อยคำที่
เป็นภาษิตหรือผญาเป็นสื่อนำมาสอน เพราะผญาเป็นถ้อยคำที่แฝงไว้ด้วยคติธรรมและมีความไพเราะสละสลวยรัดกุม
ทำให้ผู้ฟังสามารถนำไปประพฤติปฏิบัติในทางที่ดีงามที่ถูก
ที่ควรได้
2. ผญามีบทบาทต่อความบันเทิง
คนอีสานมักจะกิจกรรมการเล่นและมหรสพประจำ ท้องถิ่นอีสานชนิดหนึ่ง คือ หมอลำ
เมื่อคนอีสานมีงานประจำปีหรืองานบุญงานกุศล
ต่าง ๆ มักจะมีหมอลำซึ่งถือว่าเป็นศิลปะการแสดงที่เป็นภูมิปัญญาคู่มากับคนอีสาน
และในคำร้องของหมอลำที่แสดงนั้น ล้วนแต่เป็นถ้อยคำที่เป็นผญาแทบทั้งสิ้น
นอกจากผญา
ที่เป็นคำร้อง(หมอลำ)แล้ว ก็ยังมีการกล่าวผญาโต้ตอบระหว่างกันและกัน เรียกว่า
การจ่ายผญา หรือแก้ผญา พูดผญา หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ลำผญาญ่อย ลักษณะของการจ่าย
ผญาคือ หมอลำหรือผู้เล่นจะนั่งเป็นวง ส่วนผู้ฟังอื่น ๆ ก็จะนั่งเป็นวงล้อมรอบ
แล้วมีการจ่ายผญากันและกัน และจะมีหมอแคนเป่าให้จังหวะไปด้วย บางครั้งการจ่ายผญาก็มีใน
กิจกรรมอื่น ๆ เช่น เข็นฝ้ายหรือปั่นฝ้าย ฝ่ายชายก็จะลำเกี้ยวฝ่ายหญิง ส่วนฝ่ายหญิงก็จะเข็นฝ้ายไปด้วยจ่ายผญาไปด้วย
นับว่าเป็นการสร้างความสนุกสนานให้กับคนอีสานเป็น
อย่างมากโดยเฉพาะหนุ่มสาวอีสาน
3. มีบทบาทต่อการอนุรักษ์วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน
คนอีสานเมื่อไปอยู่ในที่ใด ๆ ถ้าได้มีการจัดกิจกรรมร่วมกันหรือแม้กระทั่งคุยกันในกลุ่มของคนอีสานแล้ว
สิ่งที่จะขาด
ไม่ได้ก็คือการพูดผญา สอดแทรกขึ้นมาในระหว่างการสนทนาเสมอ จึงเป็นการอนุรักษ์วรรณกรรมประเภทมุขปาฐะของท้องถิ่นอีสานโดยทางอ้อม
ทั้งเพราะผญา เป็นวรรณกรรม
ประเภทมุขปาฐะหนึ่งใน ๖ ของวรรณกรรมมุขปาฐะถิ่นอีสาน ได้แก่
3.1
การเล่าเรื่องตำนานและนิทาน
3.2
การสวดสรภัญญ์
3.3
การอ่านหนังสือผูก
3.4
การแสดงหมอลำ
3.5
เพลงเด็ก
3.6
ผญา
ดังนั้น ผญา
จึงเป็นวรรณกรรมมุขปาฐะที่มีบทบาทต่อสังคมคนอีสานมาก ทั้งยังเป็นเครื่องมือให้การศึกษาแก่คนในกลุ่มและสถาบันพื้นฐานทางสังคมมี
ครอบครัว เป็นต้น
นอกจากนี้ยังสร้างความเพลิดเพลิน กระตุ้นความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและคงความเป็นอีกลักษณ์ทางภาษาแก่คนอีสานไว้ไม่ให้เสื่อมสูญไป
เรียกได้ว่า ผญาหรือคำคม ภาษิต
อีสาน เป็นวรรณกรรมท้องถิ่นที่มีบทบาทหน้าที่ (functionalism) ที่สำคัญต่อคนอีสานตั้งแต่อดีตจนตราบเท่าปัจจุบันทุกวันนี้
ภาพจาก
Web Site
http://lovenakhonphanom.blogspot.com/p/blog-page_2502.html
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 27-8-57 |
|
เอกสารอ้างอิง
...........................................................................................................................
กรมศิลปากร.
พื้นอีสาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรมการศาสนา, ๒๕๓๑.
นงลักษณ์ ขุนทวี. ผญาวรรณกรรมเพื่อปัญหาและชีวิตอีสาน. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์.
ปรีชา พิณทอง. ไขภาษิตโบราณอีสาน. อุบลราชธานี : โรงพิมพ์ศิริธรรม, ๒๕๒๘.
ศูนย์รวมสงฆ์ชาวอีสาน. ผะญาหย่อยอายสาวโคลงสุภาษิตอีสาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พิทักษ์
อักษร, ๒๕๓๖.
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์. ผญาภาษิตโบราณอีสาน. (มปป.)
สำนักงานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. พิมพ์กวีศรีอีสาน
ดร. พิมพ์ รัตนคุณสาส์น. ขอนแก่น, ๒๕๔๐.
อดิศร เพียงเกษ. หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเรื่องบาป-บุญ ที่ปรากฏในผญอีสาน.
วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
๒๕๔๔.
http://lovenakhonphanom.blogspot.com/p/blog-page_2502.html
สืบค้นเมื่อ 27 ส.ค. 2557
http://www.punsook.org/2013/03/03/photo-contest-2013/ สืบค้นเมื่อ 27 ส.ค.
2557
http://www.kaweeclub.com/b22/t8453/ สืบค้นเมื่อ 27 ส.ค. 2557
|