มะรุม พืชมหัศจรรย์แห่งสมุนไพร
โดย...คุณณัฐธิดา ชูมาลัยวงค์
อาชีพปัจจุบัน นักศึกษา
ต.หน้าไม้ อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี
อีเมล์ : nuanting27@gmail.com

(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)



ภาพจาก Web Site
http://www.healthyrich.info
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 11-8-58

          สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยผลงานการวิจัยพืชผักพื้นบ้านของไทยชนิดหนึ่งที่เรียกว่า มะรุม โดยพบว่าการกินมะรุมต้มสามารถช่วยป้องกันและบรรเทา
อาการของมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ หลังจากใช้เวลาศึกษานานกว่า 1 ปี
          มะรุม จัดเป็นพืชผักพื้นบ้านของไทย มีประโยชน์อเนกประสงค์ ทั้งทางด้านอาหาร ยาและอุตสาหกรรม เป็นไม้ยืนต้นที่โตเร็ว ทนแล้ง ปลูกง่าย ในเขตร้อน อาจจะเติบโต
มีความสูงถึง 4 เมตรและออกดอกภายในปีแรกที่ปลูก ใบมีรสหวานมัน ผลเป็นฝักยาว เปลือกสีเขียวมีส่วนคอดและส่วนมน เป็น ระยะๆมีรสหวาน เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม เส้นผ่า
ศูนย์กลางของเมล็ดประมาณ 1 ซม.
          มะรุมเป็นพืชที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์ได้ด้วยการเพาะเมล็ดและการปักชำ การปลูกการดูแลรักษาก็ง่ายไม่
ยุ่งยากซับซ้อน เกษตรกรจึงมักนิยมปลูกมะรุมไว้ริมรั้วบ้านหรือหลังบ้าน เพื่อให้เป็นผักคู่บ้านคู่ครัวแบบพอเพียงที่ไม่ต้องซื้อหา

ภาพจาก Web Site
siamharb.blogspot.com

ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 11-8-58

          คนไทยทุกภาคนิยมนำฝักมะรุมไปทำแกงส้ม ด้วยการปอกเปลือกหั่นฝักมะรุมเป็นชิ้นยาวพอคำ จะต่างกันก็ในรายละเอียดของแกงตามแบบอย่างของแต่ละท้องถิ่นเท่านั้น
          ผลการวิจัยมะรุมโดยมหาวิทยาลัยมหิดล ผลการวิจัยนี้มาจาก คณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งส่วนใหญ่จะทดลองระดับเซลล์
และสัตว์ พบว่า มะรุม(Moringa)นั้นมีฤทธิ์ ที่น่าสนใจซึ่งออกฤทธิ์ในทางบวกกับร่างกายของสิ่งมีชีวิต เช่น ลดความดันเลือด ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ลดคอเลสเตอ-
รอล ต้านการอักเสบ ป้องกันตับอักเสบ ลดระดับน้ำตาล ต้านออกซิเดชัน ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านการเกิดเนื้องอก และต้านมะเร็ง

          คุณค่าทางอาหารของมะรุม
มะรุมเป็นพืชมหัศจรรย์ มีคุณค่าทางโภชนาการสูงสุง ดังนี้

วิตามินเอ
วิตามินซี
โปรตีน
แคลเซียม
โพแทสเซียม
ใยอาหารและพลังงาน
น้ำมันสกัดจากเมล็ดมะรุม
บำรุงสายตามีมากกว่าแครอต 3 เท่า
ช่วยป้องกันหวัด 7 เท่าของส้ม
สูงกว่านมสด 2 เท่า
บำรุงกระดูกเกิน 3 เท่าของนมสด
บำรุงสมองและระบบประสาท 3 เท่าของกล้วย
ไม่สูงมากเหมาะกับผู้ที่ควบคุมน้ำหนักอีกด้วย
มีองค์ประกอบคล้ายน้ำมันมะกอกดีต่อสุขภาพอย่างยิ่ง

          ประโยชน์ของมะรุม
1. ใช้รักษาโรคขาดอาหารในเด็กแรกเกิดถึง 10 ขวบ และลดสถิติการเสียชีวิต พิการ และตาบอดได้เป็นอย่างดี
2. ใช้รักษาผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานให้อยู่ในภาวะควบคุมได้
3. รักษาโรคความดันโลหิตสูง
4. ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ทานผลิตผลจากมะรุมในระหว่างตั้งครรภ์ เด็กที่เกิดมาจะไม่ติดเชื้อHIV นอกจากนี้ถ้ารับประทานอย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 ครั้ง
     ช่วยให้คนทั่วๆไปสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง
5. ช่วยรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ให้อยู่ในภาวะควบคุมได้ การรักษาโรคเอดส์ที่ประสพผลสำเร็จในกลุ่มประเทศแอฟริกา
6. ถ้ารับประทานสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคมะเร็ง แต่ถ้าหากเป็นก็จะช่วยให้การรักษาพยาบาลง่ายขึ้น ในบางกรณีสามารถหยุดการเจริญเติบโตของโรคร้ายได้
     ถ้าใช้ควบคู่ไปกับยาแพทย์แผนปัจจุบัน หากผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งได้รับการรักษาด้วยรังสี การดื่มน้ำมะรุมจะช่วยให้การแพ้รังสีฟื้นตัวเร็วขึ้นและมีร่างกายที่แข็งแรง
7. ช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ โรคเก๊าท์ โรคกระดูกอักเสบ โรคมะเร็งในกระดูก โรครูมาติซั่ม
8. รักษาโรคตาเกือบทุกชนิด เช่น โรคตามืดตามัวเพราะขาดสารอาหารที่จำเป็น โรคตาต้อ เป็นต้น หากรับประทานสม่ำเสมอ จะทำให้ตามีสุขภาพที่สมบูรณ์
9. รักษาโรคลำไส้อักเสบ โรคเกี่ยวกับท้อง ท้องเสีย ท้องผูก โรคพยาธิในลำไส้
10. รักษาปอดให้แข็งแรง รักษาโรคทางเดินของลมหายใจ และโรคปอดอักเสบ

          ทั้งนี้การรับประทานมะรุม นอกจากจะได้ประโยชน์จากมะรุมแล้ว ยังต้องระวังเรื่องการแท้งลูกในสตรีที่มีครรภ์ด้วย จากการทดลองที่พบการแท้งลูกของหนูทดลอง
เมื่อต้องการกินอาหารให้เป็นยา ต้องไม่กินอาหารตามค่านิยมหรือความเชื่อ แต่ควรเลือกกินโดยใช้ความรู้ และรับข้อมูลจากหลาย ๆแหล่ง พร้อมศึกษาและชั่งน้ำหนักข้อมูล
ให้ดี ใช่ว่าเมื่อกินอาหารชนิดนั้นในปริมาณมากแล้วจะส่งผลในด้านดีทั้งหมด




เอกสารอ้างอิง
...........................................................................................................................

1."มะรุม". Wikipedia. 2557 (11สิงหาคม พ.ศ.2558)
2.นิตยสารหมอชาวบ้านปีที่ 29 ฉบับที่ 338 มิถุนายน 2550
3.สวทช http://www.nstda.or.th/news/5800-201106204-moringa-benefits (12สิงหาคม พ.ศ. 2558)