ก้านตาลนวดเท้าลดภาวะแทรกซ้อน
โดย...คุณศิริชัย  ชาติหนองทอน
เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
โรงพยาบาลส่งเสริมตำบลโคกคอน จังหวัดหนองคาย

(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2557)

          เนื่องจากว่าทุกวันนี้ โดยเฉพาะปี 2556 ที่ผ่านมาทั่วโลกก็มีผู้ป่วยเบาหวานมาก ถึง 377 ล้านคน ในประเทศไทยมี 3.5 ล้านคน จังหวัดหนองคายก็มีไม่น้อยประมาณ
16,851 คน ในจำนวนนี้มีภาวะแทรกซ้อนที่เท้าประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์ ของจังหวัดหนองคาย มีผู้ป่วยเบาหวาน 2,773 คน มีภาวะแทรกซ้อนทางเท้า 4.99 ก็คือประมาณ
5 เปอร์เซ็นต์ ผู้ป่วยโรคเบาหวานหลายคนจะต้องดูแลตนเองในหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอาหารการกิน การรับประทานยาให้ตรงตามเวลา และการดูแลสุขภาพร่างกาย
ไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ถ้าหากว่ามีบาดแผลที่เท้านั้น อาจจะเกิดอาการแทรกซ้อน จนทำให้เนื้อบริเวณนั้นตายแล้วก็ต้องตัดขา



          ปัจจุบันมีตัวช่วย คือมีงานวิจัยรองรับเรื่องของการใช้ก้านตาลนวดเท้าลดภาวะแทรกซ้อนสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานมีงานวิจัยรองรับโดยนายศิริชัย ชาติหนองทอน
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำ รพ.สต.โคกคอน เจ้าของผลงานประดิษฐ์ “การใช้ก้านตาลนวดเท้าลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2” ได้รับรางวัลผลงาน R2R ดีเด่น
กลุ่มสิ่งประดิษฐ์ มีผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 293 คน ทำให้ผู้ป่วยได้รับความยากลำบากในการดำเนินชีวิต โดยมีภาวะแทรกซ้อนที่เท้าและขา ส่วนหนึ่งเกิดจากปลาย
ประสาทเสื่อม(เส้นประสาทรับความรู้สึกเสื่อม,เส้นประสาทสั่งการเสื่อม,เส้นประสาทอัตโนมัติเสื่อม) รพ.สต.โคกคอน จึงได้คิดประดิษฐ์สิ่งของขึ้นมาเพื่อช่วยในการรักษาตาม
ภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีอยู่แล้วโดยได้ดัดแปลงและนำความรู้ทางวิชาการเข้าใส่เข้าไปเพื่อให้นำมาใช้กับผู้ป่วยได้ และเมื่อลงไปชุมชนก็เจอผู้สูงอายุเขาทำกระติบข้าว ซึ่งเอาวัสดุ
ในชุมชนมาทำส่วนหนึ่งก็คือก้านตาลมาทำเป็นฐาน ทีนี้มีมากในชุมชน เขาก็ทำวงกวดหลังแล้วก็พอดีมองเห็นลักษณะความโค้งของก้านตาลกวดหลังกวดขา ก็สังเกตเห็นก็ลอง
มาทดสอบดูแล้วก็ให้เขาทดลองใช้ก้านตาล


การเลือกก้านตานและอุปกรณ์อื่นๆ
          เทคนิคการเลือกก้านตาล ก็ใช้เลือกก้านตาลที่แก่หรือว่าพวกที่หล่นลงพื้นเลย ก็พวกนั้นจะแห้ง หล่นลงมาบนพื้นแห้งพวก อุปกรณ์ดังนี้
          1. ก้านตาลความยาวที่ใช้ประมาณ 60 – 80 เซนติเมตร ก้านตาลที่เลือกจะต้องมีปลายโค้ง เพราะว่าจะมาใช้ด้วย
          2. เชือกใช้เชือกยาว 60 – 80 เซ็นติเมตร โดยประมาณเชือกเส้นรอบวงก็ประมาณ 2 – 3 เซ็นติเมตร
          3. สายยางท่อน้ำสายฉีดน้ำ ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 4 – 6 หุน ยาวประมาณ 30 เซ็นติเมตรหรือถ้าไม่ใช้สายยางผ้าจะนุ่มๆทำเป็นกลมๆ เย็บให้เป็นกลมๆ เป็น
กลวงตรงกลางก็ใช้แทนสายยางได้ แล้วก็อีกจุดหนึ่งก็คือ
          4. วัสดุกลมๆซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 – 2 เซนติเมตร จะใช้กดเฉพาะจุดที่ชา ที่ใช้วัสดุกลม ต้องเป็นวัสดุที่แข็ง ที่เราใช้ก็ยางตัวกลมๆ ลูกกลิ้ง เม้าส์สมัยก่อนๆ
จะมีก้อนยางตัวกลม ๆ ลูกกลิ้งอยู่ข้างในเหมาะที่สุด ลูกแก้วก็จะมีปัญหาบางครั้งแตก



วิธีการประดิษฐ์ ก้านตาลนวดเท้าลดภาวะแทรกซ้อน
          1. นำก้านตาลมาปรับแต่งไม่ให้มีเหลี่ยมไม่ให้มีเสี้ยน แล้วก็ใช้สว่านเจาะสองรูรับที่วัดจากโคนมาประมาณ 6 -12 เซ็นติเมตร เจาะสองรูให้ห่างกันประมาณ
4 – 6 เซ็นติเมตร เจาะแล้วก็เชือกมาผูกปมร้อย ผูกปมแล้วก็ร้อยผ่านรูเอาสายยางใส่หรือว่าผ้าใส่แล้วก็ร้อยมาอีกรูนึงแล้วก็ผูกปมไว้เสร็จทำก้านตาล
          2. ใส่ปุ่มเข้าไปกดหนึ่งปุ่ม ก็เจาะตรงกลางที่ตรงสันวัดจากที่เดิมมาหรือว่าวัดจากตรงโคนมา 10-15 เซ็นติเมตร เจาะเรียบร้อยแล้วนำวัสดุกลมไปฝังให้แน่นใช้กาวร้อนติด
อันนี้ก็คือใช้หนึ่งจุด ในกรณีใช้สองจุด คือากเดิมฝังตรงกลางขยับออกด้านข้าง จากตรงกลางไปข้างละหนึ่งเซ็นต์ ใช้วัสดุมาใส่กลมๆ ใส่สองจุดเสร็จเป็นก้านตาล รุ่นหนึ่งไม่มีปุ่ม
รุ่นสองหนึ่งปุ่ม รุ่นสามสองปุ่ม

วิธีการใช้งาน
          รุ่นที่หนึ่งก็ใช้กดปลายเท้ากดเท้า กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดที่ปลายเท้าเพราะว่า เบาหวานจะมีอาการชาตึงที่เท้าแล้วก็เป็นเหน็บบ แล้วก็ปวดที่น่องพวกนี้ เราก็ใช้รุ่นที่
หนึ่ง ในรุ่นที่สองนี่ใช้ชัดเจนคือกดจุดที่ชา จุดที่สำคัญๆ ที่เท้านอกจากนั้นใช้กระตุ้นเส้นประสาทที่อยู่ตรงเท้าเพราะว่า เท้าเป็นศูนย์รวมเส้นประสาทต่างๆ ถ้าวางไว้พื้นแล้วก็
เหยียบ นั่งเหยียบอันนี้ก็ได้ แต่ในกรณีนวดท่านั่ง นั่งเหยียดเท้าหลังตรง ใช้บ่วงคล้องที่ส้นเท้าแล้วก็ก้านตาลกดที่ปลายเท้า ค่อยๆ กดอย่างนิ่มนวล นับประมาณสิบครั้ง คือสิบวินาที
นับหนึ่งถึงสิบแล้วก็ผ่อนคลายเลื่อนไปจุดใหม่ นั่งที่พื้นครับ เพราะว่านั่งที่พื้นนี่เท้าจะได้เหยียดตรง เหยียดตรงหลังตึงจะได้ส่วนที่หลังกล้ามเนื้อที่หลังด้วย ในส่วนกรณีคนอ้วนมี
ปัญหา คือจะต้องทำก้านตาลยาวเป็นพิเศษแล้วก็ออกกำลังกายในท่านอน ใช้ท่านอนคนอ้วนนอนกด ผู้ป่วยหรือว่าผู้ช่วยจะต้องรู้จุดที่สำคัญที่จะต้องกด จุดในเบาหวานที่ส่วนมาก
ที่ด้านชาส่วนมากก็คือที่หัวแม่เท้า แล้วก็ถัดลงมาก็บริเวณอุ้งเท้าเป็นจุดที่สำคัญ นอกจากนั้นเราจะใช้กดทั่วๆไปก็ได้เพราะว่าเส้นประสาทจุดต่างๆในร่างกายจะอยู่ที่เท้าเป็น
ศาสตร์การนวดเท้า วันหนึ่งก็ใช้ข้างแต่ละข้างก็ประมาณ 30 นาที ทำติดต่อกันอย่างน้อย 10นาที แล้วพักก็ได้ อายุการใช้งานก้านตาลทนไม่มีการสลายแล้วก็ไม่หักบเพราะว่า
ทดสอบวัสดุตัวอื่น ๆ จะไม่แข็งไม่ทนอย่างที่ใช้ก้านมะพร้าวพวกนี้นะครับมาทดสอบ ก้านมะพร้าวจะไม่เหนียวไม่ทนจะหัก


          ข้อจำกัดของการใช้ ก้านตาลไม่เหมาะสำหรับคนที่มีแผลเปิดที่เท้า เพราะว่าจะไประคายเคืองมากขึ้นแล้วก็คนที่มีเท้าหงิกงอ เท้าหงิกงอบางคนนี่จะงอแบบผิดรูปมาก
ก็ไม่เหมาะที่จะมากดปลายเท้ากดนิ้วเท้า แล้วก็การกดก็ไม่กดรุนแรงกดอย่างนิ่มนวลข้อจำกัด กดอย่างนิ่มนวล อันนี้คือสามข้อคร่าวๆนะครับในข้อจำกัดข้อควรระวังในการใช้
ก้านตาลนวดเท้า นอกจากใช้เพื่อเบาหวานแล้วเป็นการกระตุ้นพวกที่อัมพาตอัมพฤกษ์ก็ใช้ได้ บางทีเขาก็ใช้ในการกระตุ้นอัมพฤกษ์ที่เท้าที่ขา ที่แน่ๆ พวกเหน็บชาเป็นเหน็บ
เป็นชาพวกนี้ พวกเป็นตะคริวก็ใช้ได้ สิ่งสำคัญก็คือการรักษาระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงคนปกติ อาการความเสี่ยงเรื่องอื่นก็จะลดลง การใช้ก้านตาลนวดเท้าลดภาวะแทรกซ้อน
แค่เป็นส่วนหนึ่งในกระตุ้นเพื่อให้ผู้ป่วยได้สนใจดูแลเท้ามากขึ้น การดูแลสุขภาพถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นตัวช่วยให้อาการต่างๆ เข้าสู่ภาวะปกติต่อไป

 

 

   นางอุษณีย์  จูฑะศิลป์    ผู้เรียบเรียง
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2557)
กลุ่มพัฒนาคุณภาพชีวิต
กลุ่มรายการที่ 1/3-57