จาก Social media สู่ Road map ที่ยั่งยืน
โดย...นายเกียรติศักดิ์  หงษ์คำ
นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ทำเนียบรัฐบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ
อีเมล์ :  tomkhk@hotmail.com

(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)


ภาพจากเว็บไซต์
http://www.systemiclabs.org/wp-content/uploads/2016/03/June-2008-206.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่
3-6-59

          ก่อนการประชุมจะเริ่มขึ้น ผมนั่งอ่าน Twitter ไปพลาง เพื่อดูว่าอะไรคือประเด็นที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในเช้าวันนี้ ซึ่งก็เป็นไปตามคาดหมายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมตลอดระยะ
หลายวันที่ผ่านมานี้ล้วนส่อไปในทิศทางที่น่ากังวลยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมของกลุ่มวัยรุ่น การปล้น ฆ่า ทำร้ายร่างกายกันอย่างป่าเถื่อน การไม่เคารพกฎหมายและระเบียบของบ้านเมือง
การประพฤติผิดของกลุ่มคนในสาขาอาชีพต่างๆ ตลอดจนเหตุความไม่เข้าใจกันของคนในสังคม ยิ่งข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ได้พัฒนาการกลายเป็นกระแส พื้นที่บนกระดานสนทนาใน social
media ก็ยิ่งเต็มไปด้วยการพูดคุย การแสดงทรรศนะและการถกเถียงกันอย่างประเจิดประเจ้อ ทั้งนี้เมื่อได้วิเคราะห์ถึงการถกเถียงกันใน Social media พบความน่าสะเทือนใจอยู่
2 ประเด็น คือ
          1. การไม่เปิดเผยตัวตนใน Social media ทำให้การแสดงความคิดเห็นเต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึกที่มีความสด และมีแสดงออกมาอย่างพรั่งพรูโดยปราศจากวิจารณญาณและ
การไตร่ตรอง หลักเหตุผลก็เป็นเรื่องที่ไม่จำเป็น หลายครั้งมักส่อไปในทิศทางที่ทำให้เกิดความแตกแยก ผู้ที่แสดงความคิดเห็นจะมองแต่ในมุมของตนเอง ใครที่มีความเห็นต่างไปจากตน
ก็จะถูกเกลียดชังถือว่าเป็นผู้ที่ประพฤติชั่ว และโง่เขลา ซึ่งพฤติกรรมในลักษณะนี้มิได้ปรากฏเฉพาะใน Social media หากแต่ได้ลุกลามบานปลายไปถึงในระดับสังคมของเราในปัจจุบัน
เรียบร้อยแล้ว
          2. ความสนใจใน Social media จะเป็นเพียงกระแสชั่วขณะ หากมีเหตุการณ์ใหม่เข้ามาเรื่องที่เรากำลังถกเถียงกันอย่างประเจิดประเจ้อกันอยู่นี้จะถูกลืมและไม่ได้รับการพูดถึง
อีกเลยว่าท้ายที่สุดแล้วข้อสรุปของเหตุการณ์เป็นอย่างไร บทลงโทษมีความคืบหน้ามากน้อยประการใด และเรื่องราวจะไปสิ้นสุดที่ตรงไหน เทียบกันแล้วเมื่อมองในบริบทขององค์กร น่า
เสียดายว่าหลายภารกิจก็กลับกลายเป็นเพียงกระแสเช่นกัน ในแต่ละองค์กรมีการประชุมพูดคุยกันบ่อยครั้ง มีการตกผลึกทางความคิดมากมาย มีแผนยุทธศาสตร์ และแผนการดำเนินงาน
หลากหลายรูปแบบ แต่กลับไม่เคยนำไปสู่ในระดับการปฏิบัติอย่างแท้จริง คือได้แต่ก้าวเดินไปเบื้องหน้า แต่ไม่เคยหวนกลับมาดูสิ่งที่คิดหรือเคยทำกันมาแล้วว่ามันสำเร็จหรือล้มเหลว บริบท
ดังกล่าวจึงเหมือนเป็นการเชื้อเชิญให้เหตุการณ์เดิมๆ กลับมาวนเวียนเหยียบย่ำองค์กรซ้ำแล้วซ้ำเล่า
           หากมองในมุมสร้างสรรค์ Social media กลับมีภาพลักษณ์ที่เป็นลบ และเบียดบังด้านดีจนทำให้ประโยชน์ของมันไม่มีโอกาสได้แหวกว่าย หลายวันก่อนผมได้เข้าร่วมการประชุม
เชิงปฏิบัติการ “รู้ คิด ดู ทำ” ของสำนักงาน ก.พ. เพื่อระดมความเห็นจากผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานทั้งจากส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค แล้วสกัดออกมาเป็นแนวทางการดำเนินงานเพื่อจัดทำ
เป็น Road map ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปพิจารณาและแปลงไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งการประชุมในครั้งมีความพิเศษตรงที่กระบวนการระดมความเห็น โดยทั่วไปเราจะพบว่า การประชุม
ระดมความเห็นจะมีเพียงคนไม่กี่คนที่พูดแสดงความเห็นซึ่งเป็นส่วนน้อยและก็จะทำหน้าที่พูดอยู่อย่างนั้นตลอด ส่วนคนที่ไม่พูดก็จะนั่งเงียบ ทั้งที่บางคนมีความเห็นดีๆ มากมาย แต่ก็ไม่
กล้าที่จะนำเสนอออกมา ทว่าการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ได้ฉีกกฎการระดมความเห็นจากแบบเดิมที่เคยทำกันมา เป็นการระดมความเห็นผ่านหลักการที่เรียกว่า Systemic
thinking ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อการตอบโจทย์ประเด็นปัญหาที่มีความซับซ้อน ดังเช่นประเด็นต่างๆ ในบริบทของภาครัฐซึ่งมีความสัมพันธ์ที่โยงใย และอยู่ในสภาพที่เกิดการเปลี่ยนแปลง
อยู่เสมอ ทำให้การแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการทั่วไปไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน หากแต่ต้องหามุมมองในทุกมิติที่ออกมาจากพลวัตรทางความคิด (Patterns of Emerging Idea)
ซึ่งการจะทำเช่นนั้นได้จะต้องอาศัยการระดมความคิดภายใต้มุมมองที่หลากหลาย ซึ่งสุดท้ายแล้ว ทางออกของประเด็นปัญหาที่มีความซับซ้อนมักไม่มีทางออกที่ตายตัว และต้นตอของ
ปัญหาอาจฝังรากหยั่งลึกยากต่อการแก้ไข การแก้ไขปัญหาแบบ Systemic thinking จึงกลายเป็นวิธีที่ตอบโจทย์ ซึ่งประกอบด้วย 5 กิจกรรม ได้แก่

ภาพจากเว็บไซต์
http://fixourfood.info/wp-content/uploads/2015/06/MapC.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่
12-5-59

          กิจกรรมที่ 1 Conversation map โดยกำหนดให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมดระดมสมองเพื่อค้นหาประเด็นที่เกิดขึ้นในบริบทของประเทศไทยในปัจจุบัน ซึ่งในครั้งนี้ สำนักงาน
ก.พ. ได้กำหนดหัวข้อประเด็นปัญหาไว้จำนวน 5 ประเด็น และในแต่ละประเด็นนี้ก็แบ่งเป็นกลุ่มย่อย ประเด็นละ 4 กลุ่ม (มีจำนวนทั้งหมด 20 กลุ่ม) สำหรับผมแล้วเลือกที่จะเข้ากลุ่มที่
สอดคล้องกับการดำเนินงานในวงกว้างของส่วนราชการ นั่นคือประเด็นที่ 5 ว่าด้วยเรื่อง “การทำให้เชื่อมข้อมูลระหว่างหน่วยงานราชการต่างๆ และสามารถใช้ข้อมูลเพื่อการวางแผนและ
การบริหารของหน่วยงานราชการได้อย่างสอดคล้องกับสถานการณ์และเต็มประสิทธิภาพ” กิจกรรมเริ่มโดยให้ทุกคนยืนรอบโต๊ะกลม ตรงกลางโต๊ะกลมจะมีประเด็นปัญหาดังกล่าวแปะไว้
จากนั้นให้ทุกคนวิเคราะห์ประเด็นร่วมกันโดยการแตกกระทู้ ใครคิดว่าอะไรคือสิ่งที่จะตอบโจทย์ ก็ให้ลากโยงประเด็นออกไปด้วยการเขียน กิจกรรมนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กระดานสนทนา
โดยห้ามให้สมาชิกกลุ่มพูดคุยกันเด็ดขาดในระหว่างที่เขียนข้อความแสดงความเห็น เมื่อเขียนเสร็จก็ให้เดินหมุนไปรอบๆ โต๊ะ จะเห็นข้อความที่คนอื่นๆ ในกลุ่มเขียน ใครเห็นด้วยหรือไม่
เห็นด้วยหรืออยากจะเขียนความเห็นเพิ่มเติมก็เขียนต่อลงไปได้ พอเสร็จจากโต๊ะนี้ก็ให้ทั้งกลุ่มเปลี่ยนไปยังโต๊ะของอีกกลุ่มที่อยู่ติดกัน และแสดงความเห็นเพิ่มเติม หมุนเวียนอย่างนี้ไป
เรื่อยๆ พอครบทุกโต๊ะในทุกประเด็นปัญหาแล้ว ก็ให้สมาชิกกลุ่มกระจายตัว และเลือกเข้ากลุ่มในประเด็นหัวข้ออื่นๆ ตามความสนใจ ส่วนผมขอวิ่งกลับมาดูที่โต๊ะเดิมที่ผมได้แตกกระทู้
ไว้ตั้งแต่แรก คือ “การลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล บทบาท และภารกิจ” เนื่องจากหลายหน่วยงานมีการจัดเก็บข้อมูลในลักษณะคล้ายกันทำให้เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูลและทำให้สิ้นเปลือง
งบประมาณโดยไม่จำเป็น ซึ่งก็ปรากฏมีผู้มาเขียนสนับสนุนความเห็น และเขียนเชื่อมโยงกลไก/วิธีการ อีกเป็นจำนวนมาก มองโดยภาพรวมแล้วกิจกรรมในขั้นตอนนี้มีกระบวนการคล้ายกับ
การนำระบบ Social media มาเป็นกรอบในการดำเนินกิจกรรมโดยการตั้งกระทู้ แตกกระทู้ และแสดงความคิดเห็นผ่านการเขียนข้อความ ทั้งนี้การเขียนข้อความต้องเป็นสิ่งสร้างสรรค์
ไม่เสียดสี หรือสร้างความแตกแยก
          กิจกรรมที่ 2 Transformation Idea Statement ให้สมาชิกกลุ่มกลับมานั่งโต๊ะเดิมเพื่อบูรณาการความเห็น และจัดลำดับความสำคัญเพื่อคัดกรองความคิดที่เป็นไปได้
และดีที่สุดจากการระดมความเห็นในกิจกรรมที่ 1
          กิจกรรมที่ 3 3 - Horizons นำความคิดที่เป็นไปได้และดีที่สุดจากกิจกรรมที่ 2 มาวางแผนในกรอบการดำเนินงาน 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 (0 -1 ปี) เป็นเรื่องที่หน่วยงานสามารถ
ทำได้เองและทำได้ทันที ระยะที่ 2 (1 - 2 ปี) เป็นเรื่องที่หน่วยงานสามารถต้องประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ ระยะที่ 3 (2 - 4 ปี) เป็นเรื่องที่ต้องทำการศึกษาและวิจัย
          กิจกรรมที่ 4 Strategic Pathway นำแผนที่ได้วางไว้จากกิจกรรมที่ 3 มากำหนดเป้าหมาย และผลลัพธ์ให้อยู่ในรูปของ road map
          กิจกรรมที่ 5 Coherence Map นำ road map ที่ได้จากกิจกรรมที่ 5 มาร่วมกันพิจาณาหาแนวทางในการทำงานร่วมกันว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้ road map ที่ได้ประสบความ
สำเร็จอย่างยั่งยืน ในส่วนของข้อคิดเห็นที่ผมได้แตกกระทู้ย่อยคือ ความซ้ำซ้อนของข้อมูล ก็ได้ฟันฝ่าประเด็นอื่นๆ กระทั่งได้เข้ารอบของการจัดทำ road map ซึ่งทางออกที่เราได้กำหนด
ร่วมกันสำหรับประเด็นนี้ คือ การจัดตั้งหน่วยงานกลางเพียงหน่วยงานเดียวที่ทำหน้าที่รวบรวม หรือเชื่อมโยงข้อมูลทุกอย่างจากทุกหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ และหน่วยงานทุกภาคส่วน
รวมทั้งต่างประเทศ สามารถเข้าดูข้อมูลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ทุกที่ ทุกเวลา รวมทั้งการพัฒนาช่องทางการนำส่งข้อมูลให้มีความสะดวก รวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์ เช่น application
หรือ ทาง social media เป็นต้น เมื่อได้ road map ที่สมบูรณ์แล้ว ประโยชน์จะเกิดขึ้นมากน้อยประการใดก็ขึ้นอยู่กับการแปลงไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจังของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

ภาพจากเว็บไซต์
http://eatingdisorderspecialists.com/how-social-media-can-support-recovery/
ข้อมูลภาพ ณ วันที่
27-2-59

          จากการร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ สิ่งที่ได้เรียนรู้ คือ สมาชิกในแต่ละกลุ่มประกอบด้วย บุคลากรทุกระดับซึ่งมีทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน ทุกคนมี 1 เสียงเท่ากัน และสามารถเขียน
แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระเต็มที่ ทุกความคิดจึงมีความสดใหม่ หากเปิดเวทีให้มีการพูดคุยกันในกลุ่มแน่นอนว่าคนที่พูดก็คงมีอยู่ไม่กี่คน ซึ่งวิธีการนี้ถือว่าเป็นการตีความคำว่าการ
ระดมความเห็นในบริบทใหม่โดยใช้กระบวนวิธีของ social media มาประยุกต์ใช้ได้อย่างไม่เคอะเขิน การหยิบจับสิ่งใกล้ตัวหรือสิ่งที่คิดว่าไม่น่าจะเป็นประโยชน์มาพิจารณาทบทวนและ
นำไปประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือหรือแนวทางในการดำเนินงานจึงกลายเป็นคำถามที่น่าสนใจ

 


เอกสารอ้างอิง
...........................................................................................................................

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2557). คู่มือประกอบการเข้าร่วมกิจกรรมการประชุมเชิง      ปฏิบัติการแบบบูรณาการภูมิปัญญาและร่วมเชื่อมโยงเพื่อสร้างเส้นทางขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศ.
กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2557). เอกสารประกอบคำบรรยายการฝึกอบรมกระบวนการวางแผน การติดตาม  และประเมินผล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
จากเว็บไซต์
            https://twitter.com