CPR กับการรอดชีวิตที่มีโอกาสกลับมาได้อย่างปาฏิหาริย์ !
โดย...นายวรวุฒิ   ตั้งวุฒิกร
แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ
อีเมล์ : worawut_th@hotmail.com

(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)


            การ CPR คือ การช่วยให้ฟื้นคืนชีพ (Cardiopulmonary resuscitation : CPR) อันหมายถึง การกู้ชีวิต  การกู้ชีพ การปฏิบัติการเพื่อช่วยฟื้นการทำงานของระบบไหลเวียนเลือด
ที่หยุดทำงานอย่างกระทันหันให้หัวใจกลับมาเต้นได้เองตามปกติ โดยไม่เกิดความพิการของสมอง อันเป็นสาเหตุหนึ่งของการตาย

            หลายคนนักรอดชีวิตจากการตายกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปาฏิหาริย์ ถ้าสามารถทำได้ทันต่อเวลาและถูกต้อง การที่บุคคลถึงแก่ความตายย่อมผูกพันกับหลายสิ่งหลายอย่าง ไม่ว่าจะ
เป็นทรัพย์มรดก หนี้สินการดำเนินธุรกิจที่จะต้องต่อเนื่อง จึงจะต้องมีบุคคลที่วางตัวเป็นกลางมีมาตรฐานมีเกณฑ์ในการบ่งชี้ความตาย เกณฑ์ที่มานำเสนอเกณฑ์หนึ่งนี้คือการใช้เกณฑ์
ของภาวะสมองตาย


ข้อมูลภาพ ณ วันที่
24-8-59

            โดยการประชุมหนึ่งเรื่องการตายทางการแพทย์และการตายทางกฎหมาย ณ ห้องประชุมสารนิเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แพทย์และนักกฎหมายจาก สถาบันต่าง ๆ ที่เข้าร่วม
ประชุมได้เห็นพ้องต้องกัน ดังมีสาระสำคัญต่อไปนี้
      (1). การชี้ขาดการตายเป็นปัญหาข้อเท็จจริงทางการแพทย์
      (2). บุคคลผู้ซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าสมองตาย ถือว่าบุคคลนั้นถึงแก่ความตาย
      (3). สมองตาย หมายถึง การที่แกนสมองถูกทำลายจนสิ้นสุดการทำงานโดยสิ้นเชิงตลอดไป
      (4). แพทย์เป็นผู้มีหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยและตัดสินการตายของสมองตามเกณฑ์ทางวิชาชีพ
      (5). แพทยสภาควรมีหน้าที่ในการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการในการวินิจฉัยสมองตาย


ข้อมูลภาพ ณ วันที่
24-8-59

การวินิจฉัยสมองตายจะทำได้ในสภาวะและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
           1. ผู้ป่วยต้องไม่รู้สึกตัว (deeply comatose) โดยจะต้องแน่ใจว่าเหตุของการไม่รู้สึกตัวนี้ไม่ได้เกิดจาก
                1.1 พิษยา (Drug intoxication) เช่น ยาเสพติด ยานอนหลับ หรือยากล่อมประสาท ฯลฯ
                1.2 สภาวะอุณหภูมิในร่างกายต่ำ (Primary hypothermia)
                1.3 สภาวะผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ และเมตาโบลิก (Metabolic and endocrine disturbances)
                1.4 สภาวะ Shock
           2. ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวนั้นอยู่ในเครื่องช่วยหายใจ (Comatose patient on ventilator) เนื่องจากไม่หายใจ โดยจะต้องแน่ใจว่าเหตุของการไม่หายใจ ไม่ได้เกิดจากยาคลายกล้าม
เนื้อ (Muscle relaxants)หรือยาอื่น ๆ
           3. จะต้องมีข้อวินิจฉัยถึงสาเหตุของการไม่รู้สึกตัวและไม่หายใจในผู้ป่วยนั้นโดยที่ให้รู้แน่ชัดโดยปราศจากข้อสงสัยเลยว่าสภาวะของผู้ป่วยนี้เกิดขึ้นจากการที่สมองเสียหายโดยไม่มี
หนทางเยียวยาได้อีกแล้ว (irremediable and irreversible structural brain damage)
           4. ถ้าผู้ป่วยอยู่ในสภาวะครบตามเงื่อนไขที่กำหนดแล้ว จะต้องทำการตรวจสอบเพื่อยืนยันสมองตายคือ
                4.1 ต้องไม่มีการเคลื่อนไหวใด ๆ ได้เอง (No spontaneous movement) ไม่มีอาการชัก (No epileptic jerking) ไม่มี decorticate หรือ decerebrate rigidity
                4.2 ต้องไม่มีรีเฟลกซ์ของแกนสมอง (absence of brain stem reflexes)

            ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินอันนำมาซึ่งเหตุของความตายเราจะช่วยผู้ที่ประสบเหตุนั้นให้กลับมามีชีวิตที่ใกล้เคียงกับที่เป็นอยู่เดิมได้โดย

วัตถุประสงค์ของการช่วยฟื้นคืนชีพ
          1. เพิ่มออกซิเจนให้กับร่างกายและเนื้อเยื่อ เพิ่มออกซิเจนให้กับร่างกายและเนื้อเยื่อ
          2. ป้องกันสมองตายโดยการทำให้โลหิตไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ ป้องกันสมองตายโดยการทำให้โลหิตไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ
          3. คงไว้ซึ่งการไหลเวียนของโลหิตในขณะหัวใจหยุดเต้น เพื่อนำออกซิเจนไปสู่สมอง หัวใจและเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย คงไว้ซึ่งการไหลเวียนของโลหิตในขณะหัวใจหยุดเต้น
เพื่อนำออกซิเจนไปสู่สมองหัวใจและเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
          4. ดูแลผู้ป่วยให้กลับสู่สภาวะปกติ หลังจากที่หัวใจกลับเต้นใหม่แล้ว ดูแลผู้ป่วยให้กลับสู่สภาวะปกติ หลังจากที่หัวใจกลับเต้นใหม่แล้ว

หยุดทำ CPR เมื่อไหร่ ? DNR ( Do not resuscitation )
          - ผู้ป่วยบางรายไม่ควรทำการกู้ชีพ ถือว่าเป็นเรื่องที่ยอมรับได้และอาจจะเหมาะสมกว่า ได้แก่ ประสงค์ทำพินัยกรรมชีวิต(Life will) คณะผู้รักษาควรปรึกษากับญาติ เพื่อหาข้อตกลง
ร่วมกันเพื่อลดปัญหาที่จะตามมาจากการสื่อสารที่เข้าใจไม่ตรง กัน
          - กรณีผู้ป่วยระยะสุดท้าย คุณภาพชีวิตโดยทั่วไปไม่ดี เช่น มะเร็งระยะสุดท้าย อาจยืดชีวิตได้บ้างแต่ทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมาน ควรหาข้อตกลงระหว่างทีมผู้รักษา ผู้ป่วยและญาติ
          - คำสั่งการรักษาเพื่อจะจำกัดการรักษาบางอย่างหรือทุกชนิดเพื่อยืดชีวิต ควรเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างทีมผู้รักษา ผู้ป่วยและญาติ




เอกสารอ้างอิง
...........................................................................................................................

* บุศริน เอี่ยวสีหยก. การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (Basic Life Support).
*http://pe-64-02-03-15-24.blogspot.com/2012/01/blog-post.html

*https://sites.google.com/site/neurosun/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0
%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A2