การถ่ายทอดแนวคิดอย่างอัศจรรย์ด้วย Infographics
โดย...นายวรวุฒิ  ตั้งวุฒิกร
แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ
อีเมล์ : worawut_th@hotmail.com

(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)



           Infographics คือ ภาพหรือกราฟิกซึ่งบ่งชี้ถึงข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นสถิติ ความรู้ ตัวเลข ฯลฯ เรียกว่าเป็นการย่นย่อข้อมูลเพื่อให้ประมวลผลได้ง่ายเพียงแค่กวาดตามอง ซึ่งเหมาะสำหรับ
ผู้คนในยุคไอทีที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลซับซ้อนมหาศาลในเวลาอันจำกัด
           เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นก็คือ เพราะมนุษย์ชอบและจดจำภาพสวยๆ ได้มากกว่าการอ่าน นั่นเอง ตัวอย่างเป็นภาพปกหนังสือเพื่อจะสื่อทำความเข้าใจอย่างย่อกับผู้เรียนให้ทราบถึงว่าระบบ
นิเวศมีการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตต่างๆอย่างไร ผ่านรูปภาพกราฟิกที่สร้างจากคอมพิวเตอร์สมัยใหม่


ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 24-8-59

            ส่วนประกอบหลักของ Infographics คือ  เนื้อหาที่เป็น ข้อมูล สารสนเทศ หรือ ความรู้ ที่ถูกนำมาแสดงผลในลักษณะของงานกราฟิก โดยถูกนำมาจัดเรียงในลักษณะของ เส้น กล่อง
ลูกศร สัญลักษณ์ หรือฮิตโตแกรม เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ นอกจากข้อมูลหลักที่แสดงผลออกมาทางกราฟิกแล้ว ข้อมูลเสริมเช่น คำอธิบายเพิ่มเติม สัดส่วนสเกลในแผนที่ รวมถึงป้ายกำกับ
ยังคงเป็นอินโฟกราฟิกที่เสริมเข้ามาในชิ้นงาน

หลักการออกแบบอินโฟกราฟิกส์ (Infographics Design) แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
          1. ด้านข้อมูล ข้อมูลที่จะนำเสนอ ต้องมีความหมาย มีความน่าสนใจ เรื่องราวเปิดเผยเป็นจริง มีความถูกต้อง
          2. ด้านการออกแบบ การออกแบบต้องมีรูปแบบ แบบแผน โครงสร้าง หน้าที่การทำงาน และความสวยงาม โดยออกแบบให้เข้าใจง่าย ใช้งานง่าย และใช้ได้จริง

เคล็ดลับสำหรับสุดยอดอินโฟกราฟิก
          1. เรียบง่ายเข้าไว้ : จำไว้ว่าอินโฟกราฟิกที่ดูวุ่นวายยุ่งเหยิงนั้นไม่เคยใช้ได้ผล
          2. ตรวจสอบข้อเท็จจริง : ข้อมูลที่ผิดพลาดจะเป็นตัวบั่นทอนเครดิตของนักออกแบบมากที่สุด ฉะนั้นต้องตรวจสอบข้อมูลรวมถึงพิสูจน์อักษรให้ถูกต้องเสมอ
          3. ใช้สีให้เป็น : เลือกใช้สีเพื่อการสื่อสารที่ทรงพลัง ชัดเจน เข้าใจง่าย และต้องรู้จักอารมณ์ของสีให้ดี
          4. ใส่เฉพาะตัวเลขที่จำเป็น : ตัวเลขเยอะๆ ไม่ได้หมายถึงการให้ข้อมูลที่ดีเสมอไป หลายครั้งตัวเลขที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดความสับสนหรือสื่อสารผิดพลาดได้
          5. ทำคำบรรยายให้น่าอ่าน : ลองสังเกตคำบรรยายใต้ภาพในจอโทรทัศน์เป็นตัวอย่าง เรื่องราวดีๆ จะยิ่งน่าสนใจขึ้นเมื่ออยู่กับภาพที่ดูดี
          6. กระชับเนื้อหาเข้าไว้ : การนำเสนอภาพกราฟิกที่ดีที่สุดต้องการแค่สาระสำคัญที่ครบถ้วนด้วยจำนวนตัวอักษรที่จำกัด
          7. ขนาดมีผล : สร้างงานด้วยไฟล์ที่มีขนาดเล็กที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้แต่ยังคงคุณภาพของงานที่ชัดเจนไว้ (เพื่อที่เวลาคนดาวน์โหลดหรือนำไปเผยแพร่ต่อจะได้สะดวกรวดเร็ว)

ออกแบบอย่างไรให้โดนใจ
          คำถามหลักที่นักออกแบบต้องตอบให้ได้ก่อนจะเริ่มทำอินโฟกราฟิกก็คือ ทำไม? อย่างไร? ใช้งานได้ดีไหม? ซึ่งการจะสร้างอินโฟกราฟิกให้ออกมาดีนั้น นักออกแบบจำเป็นจะต้องมี
พื้นฐานความเข้าใจในตัวข้อมูลที่ซับซ้อน ต้องรู้ชัดถึงจุดมุ่งหมายของอินโฟกราฟิก ดังนั้น การสร้างอินโฟกราฟิกให้มีประสิทธิภาพ (Designing Effective Infographics) จึงควรทำดังนี้
          1. เน้นที่หัวข้อหลักหัวข้อเดียว (Focus on a single topic)
          2. ออกแบบให้เข้าใจง่าย (Keep it simple)

ภาพจากเว็บไซต์
http://learningstudio.info/wp-content/uploads/2013/08/Untitled10-1024x628.png
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 24-8-59

          3. ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ (Data is important)
          4. แน่ใจว่าข้อเท็จจริงถูกต้อง (Be sure facts are correct)
          5. ให้อินโฟกราฟิกเป็นตัวเล่าเรื่อง (Let it tell a story)


ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 24-8-59


          6. การออกแบบที่ดีทำให้มีประสิทธิภาพ (Good design is effective)
          7. ใช้สีที่ดึงดูดความสนใจ (Choose attractive colors)
          8. ใช้คำพูดที่กระชับ (Use short texts)

 



เอกสารอ้างอิง
...........................................................................................................................

  • Doug Newsom and Jim Haynes (2004). Public Relations Writing: Form and Style. p.236.
  • https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%9F%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B8%B4
    %E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B9%8C
  • http://www.hiso.or.th/hiso5/report/ThaiHealth.php?m=2
  • http://thaipublica.org/2012/09/good-infographics-1/