ทางสายกลางกับการทำงาน
โดย...พระมหาศักดา กนกอริยะศิลป์ วิทยากร
เจ้าอาวาสวัดป่าวิสุทธิคุณ ตำบลชะอำ
อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2559)

          ประเทศไทยเราหลักทางพระพุทธศาสนาได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตที่มีหลากหลายรูปแบบ มีความแตกต่างกันของการทำงาน ด้วยการนำทางสายกลางมาประยุกต์ใช้กับการ
ทำงาน ความหมายทางสายกลางในหลักทางพุทธศาสนาหมายถึง ทางที่ไม่สุดโต่งไป 2 ทาง ศัพท์ทางพระซึ่งพระพุทธเจ้าทรงตรัสเรียกทางสายกลางว่า มัชฌิมาปฏิปทา เกิดขึ้นจากเมื่อพระองค์
ทรงแสดงธรรมเทศนาโปรดแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ในวันอาสาฬหบูชาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ธรรมเทศนากัณฑ์นั้นชื่อ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ทรงแสดงที่สุดโต่ง 2 ทางก่อนว่า ผู้ที่ต้องการศึกษา
และปฏิบัติธรรมไม่ควรที่จะเข้าไปข้องแวะ คือ
          1. กามสุขัลลิกานุโยค การประพฤติปฏิบัติตนหมกมุ่นอยู่ในเรื่องของกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย ไม่ควรที่จะเข้าไปข้องแวะ
          2. อัตตกิลมถานุโยค การทรมานตนให้ได้รับความลำบาก ไม่ควรเข้าไปข้องแวะ
          ผู้ที่ศึกษาและปฏิบัติตามทางสายกลางโอกาสที่จะบรรลุไปสู่ความสันติสุขร่มเย็น ในทางพระจะบรรลุมรรคผลนิพพาน แต่ถ้าเป็นทางโลกก็จะประสบผลสำเร็จในการดำเนินชีวิตโดยชอบ
กิจการงานก็เป็นไปได้ผลดีมีประสิทธิภาพสูง


ภาพจาก Web Site
http://www.teamgroup.co.th/newsletter/1302/TH/images/happy/happy2.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 9-10-60

          ทางสายกลางอีกคำศัพท์หนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรียก ทางสายกลางก็คือ อริยมรรคมีองค์ 8 คือข้อปฏิบัติ 8 ข้อ คือ
          1. สัมมาทิฎฐิ ความเห็นชอบ คือ เห็นอริยะสัจ 4 อริยะสัจ 4 คือความจริงอย่างประเสริฐ หรือความจริงที่พระอริยบุคคลท่านเห็นมี ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค หรือเห็นไตรลักษณ์ คำว่า
ไตรลักษณ์คือ ลักษณะ 3 อย่างของสังขาร ได้แก่ อนิจจังไม่เที่ยง ทุกข์ขังเป็นทุกข์ อนัตตตามิใช่ตัวตนของใครทั้งสิ้น หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท คือทางที่อาศัยการเกิดขึ้น
          2. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ กุศลวิตก 3 ได้แก่
              2.1 ดำริในการออกจากกาม กามคือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย ดำริ
              2.2 ดำริในการไม่พยาบาทกัน
              2.3 ดำริในการไม่เบียดเบียนกัน
          3. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ วจีสุจริต 4 ได้แก่ 1. ไม่พูดโกหก 2. ไม่พูดส่อเสียด 3. ไม่พูดคำหยาบ 4. ไม่พูดเพ้อเจ้อ แต่ในปัจจุบันนี้ความเจริญทางเทคโนโลยีเข้ามาทางด้านโซเชียล
ทำให้การสื่อสารมีการโพสต์เขียนเป็นตัวอักษร สามารถประยุกต์เป็นคำพูดได้ เช่นในเฟส ในไลน์ ถ้าการโพสต์หรือการเขียนเป็นตัวอักษร เป็นคำ เป็นข้อ ที่ส่อเสียด ทำให้เขาแตกแยกกัน หรือ
เป็นการโพสต์ตัวอักษรด้วยคำหยาบ หรือเพ้อเจ้อ ถือว่าเป็นวจีทุจริต แต่ถ้าเป็นวจีสุจริต ต้องไม่โกหก ไม่ส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ รวมถึงการโพสต์ในโซลเชียลด้วย
          4. สัมมากันมัตตะ การงานชอบ ได้แก่ กายสุจริต 3 คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ และไม่ประพฤติผิดในกาม
          5. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพชอบ คือการประกอบอาชีพที่สุจริต ไม่คดโกงเขา ไม่หลอกลวงเขา
          6. สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ คือ สัมมะปทา 4 ได้แก่
              6.1 เพียรระวังไม่ให้บาปอกุศลเกิดขึ้นในใจ
              6.2 เพียรละบาปอกุศลที่อยู่ในใจออกไป
              6.3 เพียรยังคุณความดี บุญกุศลที่เกิดในใจ
              6.4 เพียรรักษาบุญกุศลนั้นให้คงเอาไว้ หรือละความไม่ดีออกจากใจ ระวังไม่ให้มันเกิดในใจ แล้วทำความดีให้เกิดในใจ และรักษาความดีนั้นไว้


ภาพจาก Web Site
http://www.dhammathai.org/day/pic/asanhabucha-1.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 9-10-60

          7. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ การเจริญสติปทาน 4 ได้แก่ การมีสติพิจารณาเห็นกาย เวทนาจิตธรรม สัมมาสมาธิ คือการตั้งใจมั่นชอบ คือการเจริญภาวนาในขั้นสมถะ จนมีจิตผ่องใสปราศ
จากนิวรณ์ ซึ่งนิวรณ์เป็นสิ่งสำคัญมากมี 5 ข้อ ถ้าเกิดขึ้นในใจแล้วใจคนนั้นจะขุ่น ได้แก่
              7.1 ธินะมิธะ ความง่วง ความที่จิตใจหดหู่ เบื่อหน่าย ถ้อแท้
              7.2 วิจิตรติสา ความลังเล สงสัย เป็นคนขี้สงสัยทำอะไรจับจด ไม่มั่นใจในตนเอง
              7.3 ความหงุดหงิดโกรธพยาบาท คนขี้โกรธ ขี้หงุดหงิด
              7.4 อุทะจะกุจะ ความฟุ้งส่านวิตกกังวล
              7.5 กามะฉันทะ ความยินดีพอใจ ยึดติดอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย คือคิดมากจนไม่สามารถที่จะทำกิจกรรมงานอื่นได้ เรียกว่าหมกมุ่น
          8.สัมมาสมาธิ คือ การตั้งใจมั่นถูกต้อง ได้แก่สมาธิ เป็นของจำเป็นในกิจการทุกอย่าง สำหรับในที่นี้เป็นอาการของใจที่รวมกำลังเป็นจุดเดียว กล้าแข็งพอทีจะให้เกิดปัญญา ทำการแทง
ตลอดอวิชชาได้ และยังเป็นการพักผ่อนของใจ ซึ่งเป็นเหมือนการลับให้ แหลมคมอยู่เสมอด้วย ฯลฯ

          เหล่านี้เรียกว่า ถ้าเรากำจัดนิวรณ์ได้ใจก็จะผ่องใส ทำให้ใจตั้งมั่นเป็นสมาธิแนบแน่นจนเกิดองค์คุณ เรียกว่าองค์แห่งฌาน ได้แก่ วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข เอกทัตตา เมื่อเกิดองค์คุณได้แล้ว
ก็สามารถกำจัดนิวรณ์ได้ ใจก็จะผ่องใส ใจที่ผ่องใสเปรียบเทียบเหมือนน้ำในตุ่ม ถ้าน้ำในตุ่มใส นั้นคือใจผ่องใส วัตถุที่อยู่ก้นตุ่มจะเป็นกรวดก้อนเล็ก ๆ เข็มเล่มเล็ก ๆ เราก็จะเห็น แต่ถ้าใจขุ่น
คือมีนิวรณ์ น้ำก็ขุ่นจะขุ่นมาก ขุ่นน้อยก็อยู่ที่นิวรณ์มากหรือน้อย วัสดุที่อยู่ในตุ่ม จะเป็นหินก้อนใหญ่ประมาณเท่าครึ่งตุ่ม เราก็มองไม่ชัด ไม่แน่ใจว่ามันคืออะไร เพราะฉะนั้นถ้ามีนิวรณ์อยู่ในใจ
ใจไม่ผ่องใส เมื่อใจไม่ผ่องใส ปัญญาไม่เกิด แต่ถ้าเรากำจัดนิวรณ์ได้ ทำใจผ่องใสและรักษาใจให้ตั้งมั่นเป็นอารมณ์เดียว ใจใสแล้วปัญญาจะเกิด จะมองเห็นอะไรได้ชัดเจน เพราะฉะนั้นทาง
สายกลาง ก็คือมรรค 8 ข้อนี้
          เราสามารถนำทางสายกลางมาใช้ในชีวิตการทำงานเบื้องต้นตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัส คือ
          1. สัมมาทิฎฐิ เห็นชอบ ก็คือประยุกต์ เราต้องมีแนวความคิดที่ดี ถูกต้องก่อน เพราะเมื่อเราคิดดี ถูกต้องก่อน เมื่อเราคิดดี คิดถูกต้อง การลงมือปฏิบัติทางกาย วาจา ก็จะถูกต้องด้วย
          2. มิจฉาทิฎฐิ เห็นผิด เมื่อเห็นผิดแล้วแนวความคิดเสียแล้ว ก็ทำให้การปฏิบัติเสียไปด้วย ฉะนั้นการพูด การทำก็เสียไปด้วย
          เพราะฉะนั้นการทำใจให้ผ่องใสสำคัญมาก เพราะใจนั้นสำคัญ พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่ามโน ปุพพังคมา ธัมมา มโนเสฎฐา มโนมยา ธรรมทั้งหลายคือ กิจการงานทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น
ทางกาย วาจา ใจ โดยมีใจเป็นใหญ่ สำเร็จด้วยใจ มีใจเป็นหัวหน้า ถ้าใจดี การพูดทางวาจา การทำทางกายก็ดี ถ้าใจเสียด้วยอำนาจกิเลสมี ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ จะทำให้การพูดทางวาจา
การทำทางกายก็เสียไปด้วย ฉะนั้นถ้าเราอบรมใจให้ดี ให้ตั้งมั่นให้ปราศจากนิวรณ์ และให้ตั้งมั่นเป็นสมาธิแนบแน่น มั่นคง แล้วเจริญปัญญาให้รู้บาปบุญ คุณ โทษ รู้จักสภาวะธรรม ราชธรรม
ตามที่เป็นจริง โดยการสัมมาสติ คือ เจริญสติ ปฏิปฐาน 4 ก็จะทำให้เรามีจิตใจและปัญญาที่ดี เมื่อจิตใจปัญญาที่ดี การลงมือกระทำทางกาย การพูดทางวาจา ในกิจการงานหรือการดำเนินชีวิต
ก็จะดีไปด้วย


ภาพจาก Web Site
https://i.ytimg.com/vi/oJKkCVfEdzA/maxresdefault.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 9-10-60

          การนำทางสายกลางมาใช้กับการทำงานร่วมกับคนหลาย ๆ คน บางครั้งก็อาจจะเกิดปัญหาได้ เพราะแต่ละคนมีความคิด มีการกระทำ มีคำพูดที่แตกต่างกันออกไป เราจึงต้องใช้หลักใน
การพิจารณา โดยเอาใจเขามาใส่ใจเรา คือมีหลักพรหมวิหารธรรมเสริมเข้าไปด้วย พรหมวิหารธรรม คือ มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
          เมตตา โดยเราต้องนึกถึงตัวเราเองก่อนว่า เราต้องการความสุข ต้องการพ้นทุกข์ ซึ่งความสุขนั้นคือเมตตา ปรารถนาให้ตัวเองและผู้อื่นมีความสุข ก่อนหน้านั้นคือต้องการให้ตัวเองและ
ผู้อื่นพ้นทุกข์ ตัวเราเองต้องการความสุข ต้องการพ้นทุกข์มั้ย คนอื่นเขาก็ต้องการเหมือนกับเรา ดังนั้นการพูดเริ่มตั้งแต่ความคิดก่อน ความคิดและการพูด การทำเราต้องมีเมตตา
          กรุณา การพูดเริ่มตั้งแต่ความคิดก่อน ความคิดและการพูด การกระทำเราต้องมีเมตตากรุณาต่อคนอื่น เพราะคนอื่นเขาก็ต้องการความสุข ความพ้นทุกข์เหมือนกัน
          มุทิตา พลอยยินดีต่อกัน ทุกคนมีความยินดีต่อกัน มีความเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ โอบอ้อมอารีย์ต่อกัน
          อุเบกขา การวางเฉย หมายความว่า เมื่อเรามี เมตตา กรุณา มุทิตาต่อเขาแล้ว บางคนนั้นคือเขาไม่เอาอะไรทั้งนั้นเลย จะไปตามแนวทางของเขาไปในทางเสีย เราก็ต้องอุเบกขาวางเฉย
เพราะเมื่อเราช่วยเขาเต็มที่แล้ว เขายังไม่ปรารถนาความสุข ความเจริญแก่ตัวเขาเอง เราก็ต้องอุเบกขา
          ถ้าเราทำอย่างนี้ได้ก็จะช่วยให้เอาใจเขามาใส่ใจเรา และถ้าทุกคนทำอย่างนี้ ก็จะทำให้การทำงานในองค์กรดี และจะช่วยลดทอนปัญหาความกระทบ กระทั่งกันไปได้
          และถ้าเรานำทางสายกลางมาปฏิบัติกับชีวิตประจำวัน จะทำให้เราประสบกับความสำเร็จได้ เพราะคนเราทุกคนล้วนแต่ต้องการความสุข ความเจริญ และความสันติสุข ความสำเร็จในชีวิต
เราจึงต้องทำ กาย วาจา ใจ ของเราให้บริสุทธิ์ เราก็จะดำเนินชีวิตไปสู่ครรลองที่ถูกต้อง แต่ถ้า กาย วาจา ใจของเราไม่บริสุทธิ์ เช่น ใจเราเสียด้วยอำนาจของกิเลส มีความโลภจัด โกรธจัด
หลงจัด ทำให้ใจเราขุ่น พอใจเราขุ่นก็ทำให้คิดผิด เห็นผิด พูดผิด ทำผิด การดำเนินชีวิตของเราก็ไม่ดี แต่ถ้าเราเอาหลักทางสายกลางมาใช้ ตั้งแต่ สัมมาทิฐิ จนถึงสัมมาสมาธิ จะทำให้เรามี
ความคิดเห็นถูกต้อง เรียกว่าคิดถูก เห็นถูก รู้ถูก เมื่อคิดถูก เห็นถูก รู้ถูก ก็ทำให้พูดถูก ทำถูก ชีวิตก็จะเจริญ เพราะทางสายกลางช่วยให้เราดำเนินชีวิตเจริญรุ่งเรือง สันติสุข ประสพความ
สำเร็จอย่างมั่นคง.




นางสาวเยาวลักษณ์  ศิริสุวรรณ เรียบเรียง
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2559)
กลุ่มที่ 1 พัฒนาคุณภาพชีวิต
กลุ่มรายการที่ 1/31-59
CD-A1(4/4)-59