นวัตกรรมพาราโวลากักเก็บน้ำมัน
โดย...ผศ. ดร. สุวดี ก้องพารากุล วิทยากร
อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2559) |
ภาพจาก
Web Site
http://www.thaiquote.org/wp-content/uploads/2017/01/1135-5269.png
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
9-10-60
|
|
คำว่าพาราโวลาเป็นคำใหม่ที่เรา
ๆ ท่าน ๆ ทั้งหลายอาจจะยังไม่รู้จัก ไม่คุ้นหูกันสักเท่าไหร่ แต่ถ้าพูดถึงยางพารา
เราก็คงจะพยักหน้ารู้จักกันเป็นอย่างดีมาแล้ว ซึ่งพาราโวลาหมายถึงเป็น
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับยางพารา พาราจึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่มาจากน้ำยางพารา และโวลาเป็นเหมือนกับเป็นอะไรที่ใหม่
ๆ เกี่ยวกับยางพารา ฉะนั้นพาราโวลาหมายถึงเป็นผลิตภัณฑ์ตัวใหม่จาก
ยางพารา มีลักษณะพิเศษที่เฉพาะในการใช้เป็นโฟมหรือซับน้ำมัน เกิดมาจากโครงการวิจัย
โครงการวิจัยงานนี้เริ่มจากตัวนักวิจัยได้มองถึงปัญหาในด้านสิ่งแวดล้อม
ด้านความเชี่ยวชาญที่มีอยู่ในการศึกษาเกี่ยวกับยางพารา ด้วยใช้องค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์
มาผนวกเพื่อ
ให้ได้ผลิตภัณฑ์ยางพาราที่เป็นรูปแบบใหม่ ๆ มากขึ้น ยางพาราในเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์จะมีลักษณะเฉพาะของเขาอยู่แล้ว
แต่ยางพาราสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นตัวดูดซับน้ำมันได้ ก็เลย
มีการวิจัยและพัฒนาเกิดขึ้น มีเป้าหมายพยายามที่จะใช้วัตถุดิบภายในประเทศให้มากที่สุด
โดยพยายามทำคุณสมบัติให้เทียบเคียงกับวัสดุดูดซับที่นำเข้าจากต่างประเทศ
จากภาพข่าวเราจะ
เห็นเป็นแผ่นแล้วใช้ดูดซับ ซึ่งตอนที่นักวิจัยได้ทำการศึกษาตัวยางพาราและมองเห็นคุณสมบัติที่สามารถซับน้ำมันได้เหมือนกัน
และยังอยากได้คุณสมบัติที่เด่น ๆ กว่าของเดิมที่ใช้กันอยู่ จากที่
เขาใช้แผ่นซับแล้วก็เก็บ แล้วนำไปเผาเป็นเชื้อเพลิง เพราะฉะนั้นตัวน้ำมัน
ตัววัสดุดูดซับเองถูกเผาไปโดยที่ใช้เป็นพลังงานเพียงอย่างเดียว ทำให้เสียน้ำมันไป
พอทำการวิจัยมาระดับหนึ่งก็ทำ
มาเป็นตัววัสดุดูดซับจากยางพารา จะทำให้สามารถกู้น้ำมันกลับมาได้ด้วยวิธีง่าย
ๆ โดยการรีดออกอย่างเดียว และจะสามารถเก็บกู้น้ำมันจากผิวน้ำได้ไว จึงเป็นที่มาในการผนวกปัญหาด้าน
การสิ่งแวดล้อมบวกกับการทำให้เพิ่มมูลค่าของยางพาราเข้าด้วยกัน จึงได้เป็นพาราโวลา
จากคุณสมบัติตามตลาดทั่วไปไม่จำเป็นต้องเป็นยางพาราก็ได้ เป็นตัววัสดุที่เป็นโพลิเมอร์สังเคราะห์
ก็ได้ ในตัวยางพาราถือเป็นนโยบายที่อยากที่จะทำให้เกิดตลาดใหม่ขึ้นมา และก็พยายามเอาวัสดุภายในประเทศนำไปใช้ให้ได้ประสิทธิภาพที่เทียบเคียงกับวัสดุที่ต้องสังเคราะห์ขึ้นมาด้วย
อุตสาหกรรมปริโตเคมี
ภาพจาก
Web Site
http://thaitribune.org//images/2016/5%20May/9-15/Ed_Product_set.JPG
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
9-10-60
|
|
ขั้นตอนวิธีการผลิตพาราโวลากักเก็บน้ำมัน
จะมาจากตัววัตถุดิบที่ใช้จะเป็นตัวน้ำยางพาราที่เป็นเกรดน้ำยางพาราข้น 60
% จะมีการปรับปรุงและใส่สารบางตัวที่ทำให้มีลักษณะในการ
เลือกที่จะดูดซับน้ำมัน หลังจากนั้นมีการระดมความคิดกับทีมวิศวกรที่ไปสำรวจในพื้นที่
ว่าในกลุ่มผู้ใช้งานมีความต้องการใช้งานรูปแบบลักษณะไหน ซึ่งในตัวพาราโวลาจะประกอบด้วยตัว
โฟม
ดูดซับน้ำมันที่ใช้องค์รู้ความทางด้านวิทยาศาสตร์ ผนวกกับทางด้าน Engineering
ที่ผลิตเป็นพาราโวลาซิป จะสามารถต่อได้ในลักษณะไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใช้เป็นวงล้อมใหญ่หรือจะสามารถ
ต่อเป็นแผ่นกว้าง เรียกว่าใช้งานได้อเนกประสงค์ จากการคิดของนักวิจัยใช้ความรู้ทางด้านวิจัยและ
Engineering เข้าด้วยกัน บวกกับดู Feedback ของผู้ใช้งานว่ามีความต้องการที่จะให้
ลักษณะการใช้งานในรูปแบบไหน เหมือนกับ Jigsaw เป็นแผ่น เป็นชิ้น ๆ แล้วนำไปต่อกันตามความกว้างของปัญหาการรั่วของน้ำมัน
ยิ่งเราสามารถต่อให้กว้างได้มาก ในลักษณะตัวใช้งาน
ของพาราโวลาซิป จะเป็นรูปแบบอเนกประสงค์ และในส่วนงานวิจัยเอง ก็จะมีการต่อยอดร่วมกับทีมวิศวกรที่ออกแบบเครื่องรีดด้วย
จะเป็นอีก Part หนึ่งของทีมวิศวกรที่จะไปดูแลตรงนั้น ทำให้
ตัวพาราโวลาใช้งานได้ครบวงจรมากขึ้น มีการใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ดูดจับน้ำมัน
ก็จะสามารถรีดเก็บน้ำมันได้ในเวลาเดียวกัน ทำให้การใช้งานครบวงจร
ถ้าเกิดมีการรั่วของน้ำมัน
แล้วจะต้องไปกักเก็บหรือไปดูดซับน้ำมัน ขนาดของพาราโวลาที่จะใช้ ผลิตภัณฑ์พาราโวลาหนึ่งซิปในขนาดความยาวประมาณ
1.40 เมตร และความกว้าง
ประมาณ 40 เซนติเมตร ในขณะที่ตัวหนึ่งสวิทจะสามารถดูดซับน้ำมันได้ประมาณ
4 ลิตร ซึ่งจะมีการคำนวณเบื้องต้นว่า ถ้าสมมุติเราใช้งานพาราโวลาซิปในพื้นที่เท่าไหร่ในการล้อมเวลา
น้ำมันรั่ว ขั้นแรกต้องล้อมอาณาบริเวณที่มีน้ำมันรั่ว ป้องกันไม่ให้น้ำมันกระจาย
หรือซัดเข้าสู่ชายฝั่ง และจะทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมาได้ จึงต้องดูว่าสถานการณ์รั่วอยู่ในระดับไหน
มีการเริ่มที่จะกระจายตัว ก็ต้องเริ่มตีวงล้อมเอาไว้ก่อน ข้อดีของพาราโวลาก็คือ
เมื่อสัมผัสกับแหล่งที่มีน้ำปนเปื้อนกับน้ำมัน ก็จะเริ่มดูดจับน้ำมันทันที
โดยน้ำมันที่ถูกดูดซับจะรีดออกได้ง่าย
โดยที่จะมีเครื่องรีดพร้อมอยู่ด้วย หรือจะใช้แรงคนรีดก็ได้เหมือนกัน
ภาพจาก
Web Site
https://s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/elasticbeanstalk-ap-southeast-1-112582903017/contents/articles/ogs/510.jpg
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
9-10-60
|
|
การดูดซับน้ำมันจะมีวิธีการกระตุ้น
เพื่อให้ขยายตัวก่อน และหลังจากนั้นจะใช้น้ำยาเร่ง แล้วจึงรีดน้ำยาเร่งออก
โดยที่ตัวพาราโวลาซิปจะพร้อมใช้งาน หลังจากนั้นเมื่อลงไปสู่แหล่งที่มีการ
ปนเปื้อนน้ำกับน้ำมัน ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันเครื่อง น้ำมันดิบ หรือว่าน้ำมันหลาย
ๆ ประเภทที่ได้จากอุตสาหกรรมปริโตเคมี ที่ได้จากการทดสอบ พาราโวลาจะดูดซับทันที
โดยในช่วงการดูดซับ
เมื่อดูดซับเต็มประสิทธิภาพแล้วภายใน 1 คลิป เวลารีดออกจะเหมือนกับยกตัวพาราโวลาซิปขึ้นมา
ตัวที่ไหลออกจากแผ่นพาราโวลาซิปจะเป็นแค่น้ำ และหลังจากเอาพาราโวลาซิปไปรีดออก
เพื่อที่จะเก็บน้ำมัน แล้วก็นำซิปกลับไปใช้ซ้ำได้อีก โดยที่ไม่ต้องทำความสะอาด
สามารถใช้ได้ทั้งน้ำทะเล และในแม่น้ำทั่ว ๆ ไป
ข้อจำกัดการใช้พาราโวลา
เมื่อใช้ครั้งแรกแล้วมีการเก็บในถังบรรจุที่ให้ไป ขั้นตอนการเก็บรักษาต้องรีดน้ำมันออกให้มากที่สุด
และถ้าเก็บในภาชนะปิดโดยที่อายุการเก็บรักษาระยะ
เวลา 3 เดือน ยังมีประสิทธิภาพที่เหมือนเดิม สามารถนำไปใช้ได้เลย โดยในขั้นตอนงานกระตุ้น
จะกระตุ้นได้ครั้งเดียว แล้วหลังจากนั้นตัวพาราโวลาซิปจะสามารถใช้งานได้ต่อเนื่อง
โดยถ้า
มีการใช้ซ้ำอย่างต่อเนื่องจะสามารถใช้ซ้ำได้มากกว่า 100 ครั้ง โดยที่ประสิทธิภาพยังคงเดิม
และมีข้อห้ามใช้กับของมีคม อาจจะทำให้ตัวพาราโวลาเกิดการชำรุดได้
เมื่อเปรียบเทียบกับตัวน้ำมันที่เรากู้ได้
ในกรณีสมมุติว่าน้ำมันรั่วไหล เราก็แค่เก็บซับแล้วเผาทุกอย่างก็คือจบ เสร็จแล้วก็อาจจะมีตามมาในเรื่องของสิ่งแวดล้อม
แต่เนื่องจากเราเก็บ
แต่เราไม่เผาน้ำมัน เราเอาน้ำมันกลับ ถ้าน้ำมันรั่ว ๆ มาก เราก็แยกให้ดี
ๆ น้ำมันจะสามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ที่ต้องมาบำบัดสิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่งด้วย
รวมทั้งเป็นการช่วยลดการนำเข้า
จากตัววัสดุดูดซับจากต่างประเทศได้ดีมาก ราคาถูกกว่าวัสดุดูดซับจากต่างประเทศ
โดยมีประสิทธิภาพการใช้ซ้ำได้มากกว่า 100 ครั้ง เมื่อหมดอายุการใช้งานแล้ว
วิธีการทำลายสามารถเอา
ไปเผาเป็นเชื้อเพลิงได้ ซึ่งจะเป็นในลักษณะของตัวดูดซับปกติทั่ว ๆ ไป หรือมีการวิจัยพัฒนาต่อยอดที่จะเอาตัวโฟมที่ใช้แล้ว
ไปเป็นผลิตภัณฑ์ตัวอื่น ซึ่งซิปอาจไม่ใช่ตัวดูดซับแล้ว แต่ก็ยังเป็น
โครงการวิจัยในอนาคตอยู่จะใช้งบประมาณค่อนข้างน้อย วัตถุดิบส่วนใหญ่มาจากในประเทศจึงไม่ต้องกังวล
งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงานก็จะมี ค่าแรงบวกกับในส่วนของ Logistics
ที่มาเกี่ยวข้องจากขั้นแรก ทางบริษัทเอ็นจิเนียจะดูในเรื่องการจำหน่าย ราคาที่
set มาจะรวมไปถึงการนำพาราโวลาที่ใช้แล้ว นำรับกลับมาด้วย แต่รายละเอียดจะต้องถามจากผู้จัดจำหน่าย
โดยตรง
ภาพจาก
Web Site
https://cdn.voicetv.co.th/media/640/330/storage0/1105686.jpg
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
9-10-60
|
|
ระยะเวลาของโครงการวิจัย
จนมาเป็นผลงานวิจัยทั้งหมดใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ปีครึ่ง ถึง 2 ปี แล้วหลังจากนั้น
นำเสนอผลงานโดยการสนับสนุนของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไป
ประกวดสิ่งประดิษฐ์นานาชาติที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ กรุงเจนีวา และได้รับรางวัลจากสภาวิจัยแห่งชาติด้วย
หลังจากวิจัยเสร็จแล้วยังมีโอกาสนำตัวงานออกเผยแพร่สู่สาธารณะชน ต่อมา
บริษัทเอกชนเข้ามาต่อยอดของงานวิจัยจากโฟมชิ้นเล็ก ๆ ให้เป็นตัวพาราโวลา
หลังจากการ Start up กับบริษัทเอกชนแล้วโครงการนี้สำเร็จได้ในเชิงของการผลักดันงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์
ภายในระยะเวลาประมาณ 4 เดือน ไม่นับระยะวิจัย หลังจากพาราโวลาได้มีการนำไปให้กลุ่มผู้ใช้งานได้ทดลองใช้งาน
ก็ได้รับข้อเสนอแนะนำมาพัฒนาต่อ จากที่ตัวพาราโวลาอาจจะไม่ได้
จบแค่ตัววัสดุดูดซับน้ำมัน แต่จะมีคุณสมบัติอื่น ๆ พิเศษเพิ่มเติม จากที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์ยางพาราตอบโจทย์ของกลุ่มผู้ใช้งานให้มากที่สุด
และจะเน้นไปทางด้านสิ่งแวดล้อม อีกทั้งในส่วนของ
การบำบัดของเสีย น้ำเสียหรือว่าน้ำเสียที่มีลักษณะการปนเปื้อนน้ำมัน ถ้ามีการบำบัดเบื้องต้นได้ดี
จะสามารถลด Cost ปลายทางที่จะนำไปบำบัดน้ำเสียของโรงงาน แทนที่จะปล่อยของผสม
ระหว่างน้ำ น้ำมันทุกอย่างไหลลงไป ด้วยการกั้นไว้ก่อนหนึ่งด่าน ด้วยการใช้พาราโวลาซิปในการช่วยบำบัดเบื้องต้น
ฉะนั้นจะเป็นการลดต้นทุนในการบำบัดน้ำเสียได้มาก
ภาพจาก
Web Site
http://www.marinerthai.net/pic-news3/2017-05-22_006.jpg
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
9-10-60
|
|
แนวคิดในการ
Start up สำหรับนักวิจัย ในการผลักดันงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ในส่วนของพาราโวลา
เริ่มต้นจากงานวิจัยชิ้นเล็ก ๆ แล้วจับคู่กับธุรกิจที่เขาสนใจเป็น Partner
กัน
มีการศึกษารอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการตลาด เพื่อที่จะดูในความเป็นไปได้ในการต่อยอด
ซึ่งบริษัทเอกชนและนักวิจัยได้ทำงานร่วมกันในส่วนของพาราโวลาสำเร็จได้ภายในระยะเวลา
ประมาณ 4 เดือน จะทำให้เห็นว่าจริง ๆ แล้วการ Start up อาจจะไม่ต้องรอทุนก้อนโต
แต่อาจจะเป็นในเชิงที่ว่า เราลงแรงกับความเชี่ยวชาญของแต่ละคน โครงการก็จะประสบความสำเร็จ
ได้ภายในระยะเวลาอันสั้น โครงการนี้จึงอาจจะเป็นโครงการที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับนักวิจัยไทยที่จะ
Start up งานดี ๆ ออกมาสู่การใช้งาน สู่เชิงพาณิชย์ได้.
นางสาวเยาวลักษณ์
ศิริสุวรรณ เรียบเรียง
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2559)
กลุ่มที่ 2 วิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี/นวัตกรรม
กลุ่มรายการที่ 2/28-59
CD-A2(3/3)-59
|