ไหมอีรี่...แมลงเศรษฐกิจที่น่าจับตามอง
โดย...รองศาสตราจารย์ ดร.ศิวิลัย สิริมังครารัตน์
อาจารย์ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร
สาขาวิชาคีตวิทยา คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง
ปี 2556) |
ไหมเป็นตัวอ่อนเรียกตัวไหมหรือว่าหนอนไหม
มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ สามารถให้เส้นใยเป็นเส้นไหมที่มีความมันแวววาว โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนเส้นใย
ธรรมชาติอื่นๆ ปัจจุบันไหมป่าอยู่ชนิดหนึ่งที่มนุษย์เราสามารถมาเลี้ยงได้อย่างสมบูรณ์ครบวงจรชีวิต
เพื่อเราจะได้นำเส้นใยมาใช้ทอเป็นผืนผ้า และนำไปใช้ในครอบครัวในชุมชน
หรือส่งเข้าโรงงานอุตสาหกรรมไหมภายในประเทศจนกลายเป็นแมลงเศรษฐกิจที่สำคัญ

ภาพจาก
Web Site
http://www.rdi.ku.ac.th/kasetresearch53/group06/silk_center/2%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%
81%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%AD%
E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%882.jpg
http://www.weekendhobby.com/camp/webboard/picture2010%5C41255410533.JPG
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่ 18-6-58 |
|
ความเป็นมาของไหมอีรี่
การเพาะเลี้ยงไหมอีรี่เริ่มต้นจริงๆ
จากนักวิชาการมีการศึกษามานาน แต่มีอุปสรรคบางประการ และความต่อเนื่องไม่เกิด
ศาสตราจารย์ ดร. สุธรรม อารีกุล เป็นอดีต
อธิการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้เริ่มต้นต่อเนื่องมา จนกลายเป็นความร่วมมือทางวิชาการ
ประกอบกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็น
มหาวิทยาลัยของภาคอีสานและเป็นแหล่งเลี้ยงไหมสำคัญแหล่งใหญ่ของประเทศ มีพืชอาหารของไหมอีรี่
คือมันสำปะหลังเพราะเป็นแหล่งปลูกแหล่งใหญ่ของประเทศ เช่น
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมศึกษา ลักษณะครบวงจรเริ่มศึกษาตั้งแต่ปี 2534
ประมาณ 20 กว่าปี และได้ผลเป็นที่พอใจ
วิธีการเพาะเลี้ยงไหมอีรี่
วิธีการเพาะเลี้ยงไหมอีรี่เลี้ยงง่ายกว่าไหมบ้าน
ไหมบ้านคือไหมหม่อน เป็นที่รู้จักดีของกลุ่มเพาะเลี้ยงไหมได้เป็นทั้งอาชีพเสริมและอาชีพหลัก
เกษตรกรหรือคนในพื้นที่
เลี้ยงไหมเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นอยู่แล้วถือว่าเก่ง ถ้าหันมาเลี้ยงไหมอีรี่การเลี้ยงลักษณะการคล้ายกันแต่ง่ายกว่า
1. เหมาะสำหรับคนที่มีพื้นฐานทางเลี้ยงไหมบ้านมาแล้ว
การใช้อุปกรณ์วิธีการเหมือนกันเช่น กรณีไหมหม่อนหรือไหมบ้านมีเพียงใบหม่อนเป็นพืชที่ใช้เป็นอาหารชนิด
เดียวที่เลี้ยงได้ แต่ไหมอีรี่มีพืชที่เป็นอาหารหลากหลายชนิด และที่สำคัญคือ
มันสำปะหลัง และละหุ่งเป็นพืชใช้เป็นอาหารหลักที่ดี นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาเป็นครั้งแรกของโลก
พืชที่ใช้เป็นอาหารเพิ่มขึ้น ได้แก่ มันต้น มันลาย และลีลาวดี
2. จากศึกษาวิจัย
ผู้ทำการวิจัยทดสอบการเพาะเลี้ยงให้อาหารกินต่อวัน แบ่งวันละหนึ่งมื้อ สองมื้อ
สามมื้อ หรือสี่มื้อต่อวันมีอัตราการเติบโตไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่ถ้า
ไหมหม่อนจะให้อาหารเลี้ยงวันละสามมื้อ เช้าประมาณสิบเอ็ดโมงถึงเที่ยง และตอนเย็นสี่โมงห้าโมง
ข้อสังเกตุของไหมอีรี่สามารถเลี้ยงวันละหนึ่งมื้อได้ แต่ในทางปฏิบัติหนึ่งมื้อ
ไม่แนะนำ เพราะเกษตรกรมักจะเลี้ยงแล้วปล่อยปละละเลยหนอนไหมเป็นโรคเพราะว่าไม่มีการดูแลให้อาหาร
การให้ใบพืชเหมือนอย่าให้มากไปจะเกิดการหมักหมม แนะนำว่า
ดีที่สุดให้เลี้ยงวันละ 2 มื้อ ตอนเช้าและตอนเย็น การให้อาหารจะแบ่งเป็นให้เช้าและเย็นอย่าให้มากนัก
จะทำให้ใบตัวหนอนเป็นอันตราย การให้ ใบโปร่งไม่หนาแน่นจะทำให้เกิด
การระบายอากาศดี

ภาพจาก
Web Site
http://www.bloggang.com/data/met/picture/1263208206.jpg
http://www.dnp.go.th/FOREMIC/NForemic/Caterpillars%20Food/Philips%20pet%
20Caterpillar/Group%20Worm%201/Mos/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%
E0%B8%B7%E0%B8%99/%E0%B8%9C%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%89%
E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%
B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C.JPG
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่ 18-6-58 |
|
3.
การให้อาหารไหมหม่อนมีความพิถีพิถันต้องเก็บใบอ่อนจากหยอดเรียงตามลำดับ แต่สำหรับไหมอีรี่
เวลาเก็บใบมันสำปะหลังเราให้ใช้ใบล่างขึ้นมาเลยเลี้ยงใบอ่อนก็ไม่
ต้องหั่นอะไรไม่ต้องพิถีพิถันอย่างนั้น สบายๆเลี้ยงเป็นแบบอาชีพหลักอาชีพเสริม
การพัฒนาคุณภาพของไหมอีรี่
ปัญหาภาวะโลกร้อนส่งผลในการเลี้ยงไหมบ้านและไหมอีรี่มีปัญหา
แต่ไหมอี่รี่ทนร้อนดีกว่าไหมบ้านก็จริง แต่พอถึงหน้าร้อนก็จะเลี้ยงกันไม่ได้
จากผลงานวิจัยที่มีรายงาน
ในต่างประเทศไหมอี่รี่จะทนอุณหภูมิมันสูงเกินไม่เกิน 35 องศา ถ้าอุณหภูมิสูงเกินจะมีปัญหาไม่สร้างรังหรือตาย
ในปัจจุบันการเลี้ยงไหมในหน้าร้อน ไหมอีรี่เลี้ยงได้ ตอนนี้เรา
พัฒนาให้เป็นไหมทนทำให้เขาทนร้อนตอนนี้ระดับ 40 องศา และตอนนี้เราพัฒนาต่อเพื่อปรับปรุงพันธุ์ให้ดีกว่า
วิธีการพัฒนาสายพันธุ์จะต้องทดลองจนเขานิ่ง เรียกว่าหลายรุ่น
อย่างน้อยๆ ตามหลักการต้อง 8 รุ่น ตั้งแต่ 6-8 รุ่น ขึ้นไป หลักการในการปรับปรุงต้องลองหลากหลายอุณหภูมิ
หลากหลายสายพันธุ์ของไหมอีรี่ แล้วถึงจะคัดอันดับแรกคัดสายพันธุ์
ก่อน ที่มีคุณสมบัติที่ดี ผลผลิตสูง ลักษณะที่ดีแล้วเรามาทดลองกับอุณหภูมิต่างๆ
กัน หลังจากได้อุณหภูมิต่างๆ ที่ดีแล้วก็มาทดสอบกับความชื้นที่ต่างกันด้วย
ให้ใกล้สภาพแวดล้อม
ของประเทศไทยมากที่สุด
จุดเด่นของไหมอีรี่
1. มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิม
เรียกว่าจัมโบ้รังไหมขนาดของรังใหญ่ ขณะเดียวกันเป็นรังขนาดใหญ่บ่งบอกว่าจะได้ดักแด้ที่ใหญ่ขึ้นมีน้ำหนักที่ดีขึ้นโปรตีนสูงขึ้น
2. ทำให้สามารถทนความร้อนได้ดีมากขึ้น
แล้วก็ขณะเดียวกันก็เป็นขนาดรังขนาดใหญ่ ซึ่งรังของได้ดักแด้ที่ใหญ่ขึ้นมีน้ำหนักที่ดีขึ้นโปรตีนก็สูงขึ้น
รังใหญ่ก็ได้เส้นไหม
เยอะก็ได้โปรตีนจากเส้นไหมมากขึ้น
3. โปรตีนจากเส้นใยมีโปรตีนสองชนิด
ชนิดที่หนึ่งโปรตีนที่เรียกว่าเซริซิน ที่เวลาสาวเส้นไหมออกมาน้ำกาวไหมที่ได้เรียกว่าน้ำกาวจากโปรตีนเซริซิน
ส่วนโปรตีนที่อยู่ใน
เส้นไหมเรียกว่าไฟโบรอิน สองชนิดนี้มาทำผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เป็นอาหารเสริมสุขภาพจะเป็นสร้างมูลค่า
4. เพาะเลี้ยงได้ง่ายเพราะสามารถกินพืชอาหารได้หลากหลายชนิด
ทำให้มีพืชอาหารให้ตลอดเวลา มีพืชอาหารชดเชยทดแทนได้ไม่ขาดเหมือนไหมหม่อนที่กินเฉพาะใบ
อ่อนเท่านั้น
5. มีคุณสมบัติที่เรียกว่า
Thermal Properties หมายความว่าไหมอี่รี่มีคุณสมบัติในการปรับเกี่ยวกับอุณหภูมิ
เนื่องจากว่าเส้นใยเส้นไหมมีรูในเส้นไหมทำให้เส้นไหมเก็บ
กักอากาศไว้ได้ในรู เพราะฉะนั้นเมื่ออยู่ในห้องแอร์เขาจะทำให้เราอุ่น แต่ถ้าเกิดอยู่ในที่ร้อนกลับกลายเป็นรูนั้นทำให้มีการระบายอากาศได้ดี
ทำให้มีคุณสมบัติเหมือนฝ้ายแกม
ไหม คือ วาวเล็กๆเหมือนไหมแต่เส้นเขาเหมือนฝ้าย
6. ตัวดักแดให้โปรตีนที่สูงติดอันดับหนึ่งในห้าของแมลงที่มีในโลก
โปรตีนที่สูงอย่างกรณีของไหมอีรี่ มีโปรตีน 66-67% แต่ว่าไหมบ้านมีประมาณ
54-55% ที่เป็นแหล่ง
อาหารของคนและโปรตีนจากแมลงเป็นที่ยอมรับนำมาทดแทนโปรตีนจากสัตว์ในอนาคต

ภาพจาก
Web Site
http://www.komchadluek.net/media/img/size_photo_slide/2013/01/14/aci98gj59iab8c5ab6997.jpg
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่ 18-6-58 |
|
ข้อแนะนำในการเลี้ยงไหมอี่รี่
1. คนที่มีพื้นทางเลี้ยงไหมอยู่แล้วอยากแนะนำให้ตระหนักก็คือว่าอย่าเลี้ยงปนกัน
เพราะในโรงเรือนหรือเลี้ยงใกล้กันจะมีปัญหาตามมา เพราะว่าไหมหม่อนโดยภาพรวม
เป็นไหมที่ไม่แข็งแรง ยกเว้นไหมพันธุ์ไทยพื้นเมืองแต่เขาได้ผลผลิตต่ำ ถ้าเลี้ยงปนกัน
ไหมบ้านเป็นโรคก็จะมาติดไหมอีรี่ แต่ถ้าเกิดเป็นไหมพันธุ์ไทยลูกผสมหรือพันธุ์ต่างอันนั้น
ยิ่งอ่อนแอ มีผลผลิตสูงเปลือกรังหนาแต่เขาจะไม่แข็งแรงมีโอกาสติดเชื้อไปสู่ไหมอีรี่อย่างง่าย
2. การหาไข่ของไหมอี่รี่
เพื่อนำมาเลี้ยงถ้าเกิดเขาสนใจสามารถติดต่อไปทางกรมหม่อนไหมของศูนย์ไหม เช่นศูนย์ไหมอุดร
ศูนย์ไหมร้อยเอ็ด ศูนย์ไหมหนองคาย แนวทาง
อยากจะเสริมถ้าจะเลี้ยงรวมกันหลายๆ คนและสนใจข้อมูลเพิ่มเติมก็สอบถามได้จากกรมหม่อนไหมหรือ
ศูนย์ไหม ในปัจจุบันตลาดในต่างประเทศยังมีไม่เพียงพอรวมทั้งรังไหม
ไม่พอ ดักแด้ก็ไม่พอ เป็นที่นิยมเพราะโปรตีนสูงและรสชาติอร่อย
นางอุษณีย์ จูฑะศิลป์
ผู้เรียบเรียง
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2556)
|