บทวิเคราะห์วรรณกรรมเรื่อง
ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
โดย...คุณชัยณรงค์
อกอุ่น
ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
โรงเรียนโพธิ์ไทรพิทยาคาร
อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี
อีเมล์
: makkaaot@gmail.com
(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)
|
บทความเรื่อง
ทุกข์ของชาวนาในบทกวี มีที่มาจากหนังสือรวมบทความบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง
ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๓ ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ
๓ รอบ โดยนิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ ๔๑
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 11-5-59
|
|
หนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์เรื่อง
มณีพลอยร้อยแสง แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๑๑ หมวดด้วยกัน คือ กลั่นแสงกรองกานท์ เสียงพิณเสียงเลื่อน
เสียงเอื้อนเสียงขับ เรียงร้อยถ้อยดนตรี
ชวนคิดพินิจภาษา นานาโวหาร คำขานไพรัช สมบัติภูมิปัญญา ธาราความคิด นิทิศบรรณา
สาราจากใจและมาลัยปกิณกะ
ในหมวด ชวนคิดพินิจ
เป็นพระราชนิพนธ์บทความและบทอภิปรายรวม ๔ เรื่อง คือ ภาษากับคนไทย การใช้สรรพนาม
วิจารณ์คำอธิบายในไวยากรณ์บาลี และทุกข์ของชาวนา
ในบทกวี ซึ่งเป็นบทวิจารณ์ร้อยกรองซึ่งผู้เขียนนำมานำเสนอในครั้งนี้
ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
เป็น บทความแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นบทความที่มีจุดมุ่งหมายที่จะแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นใดประเด็นหนึ่ง
ความคิดเห็นที่นำเสนอได้มาจาก
การวิเคราะห์ ซึ่งใช้วิจารณญาณของผู้เขียน โดยผ่านการสังเกตปัญหา ที่มาของเรื่อง
และข้อมูลต่าง ๆ อย่างละเอียด ความคิดเห็นที่เสนออาจจะเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาตามทัศนะของ
ผู้เขียนหรือการโต้แย้งความคิดเห็นของผู้อื่นที่มีมาก่อน
อย่างไรก็ตาม
บทความแสดงความคิดเห็นที่ดีควรเสนอทัศนะใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครคิด หรือเสนอทัศนะที่มีเหตุผลเป็นการสร้างสรรค์
ไม่ใช่การบ่อนทำลาย ความน่าเชื่อถือของ
ความคิดเห็นที่นำเสนอนั้นขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ปัญหา การใช้ปัญญาไตรตรองโดยปราศจากอคติ
และการแสดงถึงเจตนาดีของผู้เขียนที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
เนื้อเรื่องย่อนั้น
ในตอนแรกของบทความ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้ทรงยกย่องบทกวีของจิตร
ภูมิศักดิ์ ซึ่งบทประพันธ์ดังกล่าว คือ
เปิบข้าวทุกคราวคำ
เหงื่อกูที่สูกิน
ข้าวนี้น่ะมีรส
เบื้องหลังสิทุกข์ทน
จากแรงมาเป็นรวง
จากรวงเป็นเม็ดพราว
เหงื่อหยดสักกี่หยาด
ปูดโปนกี่เส้นเอ็น
น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง
สายเลือดกูทั้งสิ้น |
สูจงจำเป็นอาจิณ
จึงก่อเกิดมาเป็นคน
ใช้ชนชิมทุกชั้นชน
และขื่นขมจนขืนคาว
ระยะทางนั้นเหยียดยาว
ล้วนทุกข์ยากลำบากเข็ญ
ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น
จึงแปรวงมาเป็นกิน
และน้ำแรงอันหลั่งริน
ที่สูซดกำซาบฟัน |
ซึ่งบทประพันธ์นี้
กล่าวถึงชีวิตละความทุกข์ยากของชาวนา ในตอนต่อมาทรงแปลบทกวีจีนของหลี่เชินเป็นภาษาไทย
ทำให้มองเห็นภาพของชาวนาจีนเมื่อเปรียบเทียบกับชาวนา
ไทยว่ามิได้มีความแตกต่างกันแม้ในฤดูกาลเพาะปลูก ซึ่งภูมิอากาศเอื้อให้พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์ดี
แต่ผลผลิตไม่ได้ตกเป็นของผู้ผลิต คือชาวนาเท่าที่ควร และส่วนที่สำคัญที่สุดคือ
ทรงชี้ให้เห็นว่าแม้จิตร ภูมิศักดิ์และหลี่เชินจะมีกลวิธีการนำเสนอบทกวีที่แตกต่างกัน
แต่กวีทั้งสองท่านกลับมีแนวความคิดที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ มุ่งที่จะกล่าวถึงความทุกข์ยากของ
ชาวนา และทำให้เห็นว่าชาวนาในทุกแห่งและทุกสมัยล้วนประสบแต่ความทุกข์ยากไม่แตกต่างกัน
ภาพ
จิตร ภูมิศักดิ์
ข้อมูลภาพ ณ วันที่
11-5-59
|
|
บทวิเคราะห์
๑.
คุณค่าด้านภาษา
กลวิธีการแต่ง
ทุกข์ของชาวนาในบทกวี นับเป็นตัวอย่างอันดีของบทความที่สามารถยึดถือเป็นแบบอย่างได้
ด้วยแสดงให้เห็นความคิดชัดเจน ลำดับเรื่องราวได้เข้าใจง่าย
และมีส่วนประกอบของงานเขียนประเภทบทความอย่างครบถ้วน คือ
ส่วนนำ
กล่าวถึงบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ ที่ทรงได้ยินได้ฟังมาจากอดีตมาประกอบการเขียนบทความ
เนื้อเรื่อง
วิจารณ์เกี่ยวกับกลวิธีการนำเสนอบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ และของหลี่เชิน
โดยทรงยกเหตุผลต่าง ๆ และทรงแสดงทัศนะประกอบ เช่น
...ชวนให้คิดว่าเรื่องจริง ๆ นั้น ชาวนาจะมีโอกาสไหมที่จะ ลำเลิก กับใคร
ๆ ว่า ถ้าไม่มีคนคอยเหนื่อยยากตรากตรำอย่างพวกเขา คนอื่น ๆ จะเอาอะไรกิน...
ส่วนสรุป
สรุปความเพียงสั้น แต่ลึกซึ้ง ด้วยการตอกย้ำเรื่องความทุกข์ยากของชาวนา ไม่ว่ายุคสมัยใด
ๆ ก็เกิดปัญหาเช่นนี้ ดังความที่ว่า
...ฉะนั้นก่อนที่ทุกคนจะหันไปกินอาหารเม็ดเหมือนนักบินอวกาศ เรื่องความทุกข์ของชาวนาก็คงยังเป็นแรงสร้างความสะเทือนใจให้แก่กวียุคคอมพิวเตอร์รุ่นต่อไป...
สำหรับกลวิธีการอธิบายนั้นให้ความรู้เชิงวรรณคดีเปรียบเทียบแก่ผู้อ่าน
โดยทรงใช้การเปรียบเทียบวิธีการนำเสนอของกวีไทยและจีนว่า
เทคนิคในการเขียนของหลี่เชินและจิตรต่างกันคือ หลี่เชินบรรยายภาพที่เห็นเป็นเหมือนจิตรกรวาดภาพให้คนชม
ส่วนจิตรใช้วิธีเสมือนกับนำชาวนามาบรรยายเรื่องของตนให้ผู้อ่าน
ฟังด้วยตนเอง
บทกวีของหลี่เชินเป็นบทกวีที่เรียบง่าย
แต่แสดงความขัดแย้งอย่างชัดเจน คือแม้ว่าในฤดูเพาะปลูก ภูมิอากาศจะเอื้ออำนวยให้พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์ดี
แต่ผลผลิตมิได้เป็น
ของผู้ผลิต คือชาวนาหรือเกษตรกรเท่าที่ควร ซึ่งหลี่เชินได้บรรยายภาพที่เห็นเหมือน
จิตรกรวาดภาพให้คนชม ส่วนจิตร ภูมิศักดิ์ ใช้กลวิธีบรรยายเสมือนว่าชาวนาเป็นผู้บรรยายเรื่อง
ราวให้ผู้อ่านฟังด้วยตนเอง
อย่างไรก็ตาม
แนวคิดของกวีทั้งสองคล้ายคลึงกัน คือ ต้องการสื่อให้ผู้อ่านได้เห็นว่าสภาพชีวิตชาวนาในทุกแห่งและทุกสมัย
ประสบกับความทุกข์ยากไม่แตกต่างกัน
ข้อมูลภาพ ณ วันที่
11-5-59
|
|
คุณค่าด้านสังคม
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงเริ่มต้นด้วยการยกบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งแต่งด้วยกาพย์ยานี
๑๑ จำนวน ๕ บท มีเนื้อหาเกี่ยวกับความยากลำบาก
ของชาวนาที่ปลูกข้าวซึ่งเป็นอาหารสำคัญของคนทุกชนชั้น พระองค์ทรงเห็นด้วยกับบทกวีนี้และยังทรงกล่าวอีกว่าเนื้อหาบทกวีของจิตร
ภูมิศักดิ์ สอดคล้องกับบทกวีของหลี่เชิน กวีชาว
จีนที่แต่งไว้ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง แสดงให้เห็นว่าสภาพชีวิตของชาวนาไม่ว่าที่ใดแห่งใดในโลก
จะเป็นไทยหรือจีนจะเป็นสมัยใด ๆ ก็ตาม ล้วนแล้วแต่มีความยากแค้นลำเค็ญเช่นเดียว
กันทั้งสิ้น
ดังนั้น แนวคิดสำคัญของบทความพระราชนิพนธ์เรื่อง
ทุกข์ของชาวนาในบทกวี จึงอยู่ที่ความทุกข์ยากของชาวนา และสภาพชีวิตของชาวนาที่ถูกเอารัดเอาเปรียบอยู่เสมอ
ดังความที่ว่า
...แม้ว่าในฤดูกาลนั้นภูมิอากาศจะอำนวยให้พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์ดี
แต่ผลผลิตมิได้เป็นของผู้ผลิต คือชาวนาหรือเกษตรกรเท่าที่ควร...
แม้ว่าในบทความนี้จะไม่เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา
แต่แนวคิดของเรื่องที่แจ่มแจ้งและชัดเจนดังที่กล่าวมา ก็มีผลให้สังคมหรือหน่วยงานที่เกี่ยวของได้ประจักษ์และตระหนัก
ถึงความสำคัญของชาวนาและเล็งเห็นปัญหาต่าง ๆ อันอาจนำไปสู่การแสวงหาหนทางแก้ไขในท้ายที่สุด
พระราชนิพนธ์เรื่อง
ทุกข์ของชาวในบทกวี แสดงให้เห็นความเข้าพระทัยและเอาพระทัยใส่ในปัญหาการดำรงชีวิตของชาวนาไทย
ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงพระเมตตาอันเปี่ยมล้น
ของพระองค์ที่ทรงมีต่อชาวนาผู้มีอาชีพปลูกข้าวเป็นหลัก เริ่มชีวิตและการทำงานตั้งแต่เช้าจรดค่ำ
ทำงานแบบหลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน ตลอดทั้งปี ดังนั้นในฐานะผู้บริโภคจึงควรสำนึกใน
คุณค่าและความหมายของชาวนาที่ปลูก ข้าว อันเป็นอาหารหลักเพื่อการมีชีวิตอยู่รอดของคนไทย
เอกสารอ้างอิง
...........................................................................................................................
http://www.kasetporpeangclub.com/forumsE0
http://thainews.prd.go.th/centerweb/PRD/NewsDetail?NT01_NewsID=WNEVN5802100010003
http://123.242.165.136/blessing/
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9530000176974
|