พิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ
การป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
(พิพิธภัณฑ์ต้านโกงแห่งแรกของประเทศไทย)
โดย...อาจารย์ปรีดี
ปลื้มสำราญกิจ
อาจารย์ประจำสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ต.นครสวรรค์ตก อ.เมือง จ.นครสวรรค์
อีเมล์ : preedee@nsru.ac.th
(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)
|
พิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ
การป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติหรือพิพิธภัณฑ์ต้านโกง (Anti Corruption
Museum-ACM) เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านคุณธรรมเพื่อต่อต้าน
การทุจริตทุกรูปแบบแห่งแรกของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคคลภายนอกร่วมเรียนรู้
เป็นการปลุกจิตสำนึกความสำคัญของการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตให้เป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพ และเพื่อสร้างสังคมแห่งความโปร่งใส เป้าหมายที่สำคัญของพิพิธภัณฑ์
คือ การเป็นพิพิธภัณฑ์ศูนย์กลางที่สมบูรณ์แบบ มีรูปแบบพื้นที่ใช้งานที่ครบครันทันสมัย
เข้าถึงง่ายและ
เป็นต้นแบบของการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
พิพิธภัณฑ์ต้านโกงมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่
25 พฤศจิกายน 2558 โดยได้รับเกียรติจาก พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ
เป็นประธานในพิธีเปิด
ภายในงานยังมีการลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมระหว่างสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
(ป.ป.ช.) และพิพิธภัณฑ์เครือข่าย เช่น กรมศิลปากร สถาบันพิพิธภัณฑ์
การเรียนรู้แห่งชาติ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นต้นเพื่อความร่วมมือในการป้องกันการทุจริต
นิทรรศการ
พิพิธภัณฑ์ต้านโกงเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งการเรียนรู้ที่จัดแสดงเรื่องราวทั้งในอดีต
ปัจจุบัน และเชื่อมโยงสู่อนาคตของการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตและการให้บริการ
การจัด
กระบวนการเรียนรู้ เผยแพร่ความสุจริตและโปร่งใส มีธรรมาภิบาลต่อองค์กรภาครัฐ
เอกชน ประชาสังคม และคนไทยทั่วไป โดยมีแนวคิดหลักของนิทรรศการ คือ การทุจริต
เริ่มที่เราและจบ
ที่เราในฐานะพลเมืองที่ตื่นรู้ จากระดับบุคคลผสานความร่วมมือ สร้างเครือข่ายที่เข้มแข็ง
ไม่ก้มหัวให้กับการทุจริตคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ สังคมก็จะไม่มีความโปร่งใส
และพัฒนาได้อย่างไม่มีขีด
จำกัด ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์แบ่งการจัดแสดงนิทรรศการออกเป็น 10 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 ลานสนุกคิด
ผู้เข้าชมคิดวิเคราะห์พฤติกรรมที่เคยทำในชีวิตประจำวันว่าเสี่ยงต่อ
"การทุจริต หรือ "โกง หรือไม่ เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจในการค้นหาความหมายของการ
"ทุจริต โดยสื่อสารผ่าน
สถานการณ์จำลอง
ส่วนที่ 2 เลือกทางเดิน
วีดิทัศน์แสดงภาพรวมปัญหาการทุจริตของประเทศไทยเพื่อสะท้อนให้ผู้เข้าชมทราบถึงที่มาของปัญหาการทุจริตที่มักเกิดขึ้นจากความเคยชินแม้จะเป็นการโกงเล็กน้อยในชีวิตประจำวัน
ส่วนที่ 3 เมืองแห่งมนต์ดำ
การสร้างความตระหนักรู้ให้ผู้เข้าชมทราบถึงมูลค่าความสูญเสียเงินภาษีของประชาชนจำนวนมหาศาลอันเกิดจาก
"การทุจริต เพื่อปรับทัศนคติให้ผู้เข้าชมเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแล
ผลประโยชน์ส่วนรวมของคนไทย
ข้อมูลภาพ ณ วันที่
16-5-59
|
|
ส่วนที่ 4 ตีแผ่กลโกง
ผู้เข้าชมได้เรียนรู้รูปแบบกลโกงในการทุจริต
6 ประเภท เพื่อให้สามารถรู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมและชั้นเชิงการทุจริตที่มีความซับซ้อน
ส่วนที่ 5 กำจัดกลโกง
ผู้เข้าชมรับรู้ถึงภารกิจ
บทบาท และพัฒนาการของสำนักงาน ป.ป.ช. นับจากเริ่มก่อตั้ง ให้ผู้เข้าชมเข้าใจวิธีการทำงานของสำนักงาน
ป.ป.ช. รวมถึงรายละเอียดคดีสำคัญที่เป็นผลงาน
ของสำนักงาน ป.ป.ช. เพื่อตอกย้ำให้เห็นถึงผลเสียของการ "โกง
ส่วนที่ 6 วันพิพากษา
บทสรุปของคน
"โกง ผ่านคดีการทุจริตที่คลองด่านซึ่งเกิดจากการเข้ามามีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมและสื่อมวลชนในการร่วมตรวจสอบการทุจริต
"คนโกงต้องได้รับการลงโทษ
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
16-5-59
|
|
ส่วนที่ 7 พลังแห่งคุณธรรม
การสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เข้าชมให้เห็นแบบอย่างของการทำดี
มีความซื่อสัตย์ จากสถาบันหลักของชาติ ประกอบด้วย สถาบันพระมหากษัตริย์ อดีตผู้นำประเทศ
ผู้นำทางศาสนา และ
ภาคประชาสังคม
ส่วนที่ 8 เมืองแห่งแสงสว่าง
กิจกรรมการเรียนรู้การดำเนินชีวิตที่ยึดหลักคุณธรรม
ความซื่อสัตย์ ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน ภาคธุรกิจ ภาคการเมือง และภาครัฐ
ส่วนที่ 9 พลเมืองข่าว ป.ป.ช.
กิจกรรมการรายงานข่าวทางสถานีโทรทัศน์จำลอง
ACM NEWS เพื่อเปิดโปงการโกง การแจ้งเบาะแสทุจริต และการมีส่วนร่วมในการป้องกันการทุจริต
ส่วนที่ 10 รวมพลังสร้างสังคมใสสะอาด
ภารกิจและเครือข่ายต้านโกงทั่วประเทศ
เปิดโอกาสให้ผู้ชมร่วมสมัครเป็นเครือข่าย ป.ป.ช. เพื่อรับข้อมูลข่าวสารและร่วมกิจกรรมกับเครือข่ายในการต่อต้านการทุจริต
ข้อมูลภาพ ณ วันที่
16-5-59
|
|
พิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ตั้งอยู่บริเวณสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ถนนพิษณุโลก
กรุงเทพฯ เปิดบริการวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.30-16.30 น. ปิดวันเสาร์-วันอาทิตย์
และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ผู้เข้าชม ได้แก่ เด็ก เยาวชน นิสิต นักศึกษา เจ้าหน้าที่องค์กระภาครัฐและเอกชน
ตลอดจน
ประชาชนทั่วไป โดยไม่เสียค่าใช้บริการ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทรศัพท์
02-282-3161 ต่อ 119, 138 โทรสาร 02-280- 2806 ในวันและเวลาราชการ เว็บไซต์
https://www.nacc.go.th/acmmuseum หรือเฟซบุ๊ค www.facebook.com/anticorruptionmuseum
เอกสารอ้างอิง
...........................................................................................................................
กลุ่มงานพิพิธภัณฑ์การป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.
พิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุการป้องกัน
และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สถาบันการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
สัญญา ธรรมศักดิ์, [ม.ป.ป.]. (แผ่นพับ).
ป.ป.ช. เปิดพิพิธภัณฑ์ต้านโกง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dailynews.co.th/politics/363071
2558.
สืบค้น 14 พฤษภาคม 2559.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. พิพิธภัณฑ์ต้านโกง:
Anit Corruption Museum
แหล่งเรียนรู้เรื่องการป้องกันและปราบปราม การทุจริต หวังร่วมสร้างสังคมไทยโปร่งในและปลอด
ทุจริต. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nacc.go.th/ewt_news.php?nid=11609
2558.
สืบค้น 14 พฤษภาคม 2559.
|