จริงๆแล้วโรคพิษสุนัขบ้าไม่ได้เป็นโรคที่เกิดขึ้นใหม่ แต่ที่ต้องนำมาเล่าซ้ำเนื่องจากยังพบผู้ป่วยที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าและส่วนใหญ่จะเสียชีวิตเพราะปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษา ที่ได้ผลดี โรคพิษสุนัขบ้าเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ที่สามารถก่อโรคได้ทั้งในคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ที่เป็นรังของโรคได้แก่ สุนัข แมว ค้าวคาว และลิง ผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้าจะได้รับเชื้อโรคจากการสัมผัสหรือถูกสัตว์ที่ป่วยเป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัด โดยโอกาสของการติดเชื้อโรคขึ้นอยู่กับความรุนแรงของบาดแผล ตำแหน่ง ความ ลึก(ยิ่งบาดแผลที่ลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อ จะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้สูง) และจำนวนไวรัสในน้ำลายของสัตว์ นอกจากนี้ยังพบการติดเชื้อได้จากการสัมผัสน้ำลายของสัตว์ที่เป็นโรค ถ้าผิวหนังมีบาดแผล แผลถลอก หรือแม้แต่เยื้อบุตา เยื่อบุช่องปากก็สามารถเป็นทางเข้าของเชื้อโรคได้เช่นกัน โรคพิษสุนัขบ้ามีระยะฟักตัวเฉลี่ย 1-3 เดือน สั้นที่สุดประมาน 7 วัน ผู้ที่ป่วยจะเริ่มด้วยอาการปวดแสบปวดร้อน เจ็บแปลบ ชา คัน บริเวณที่ถูกสัตว์กันและบริเวณใกล้เคียง อาจ มีอาการไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ กระวนกระวาย หรือซึม ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลงขึ้นๆลงๆ มีอาการกลัวน้ำ กลัวการกลืน เนื่องจากมีการหดตัวของกล้ามเนื้อการกลืน อย่างรุนแรง หลังจากนั้นจะค่อยๆซึมลง ไม่รู้สึกตัว และเสียชีวิตในที่สุด
ถึงแม้ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ แต่เรายังมีวิธีการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าด้วยวิธีดังต่อไปนี้ ![]() ล้างบาดแผลด้วยน้ำและสบู่โดยเร็ว ควรล้างนาน 15-20 นาทีแล้วรีบไปสถานพยาบาล ![]() - ชนิดของสัตว์ที่กัดหรือสัมผัส เพื่อประเมินว่าสัตว์ดังกล่าวจะเป็นพาหะนำโรคพิษสุนัขบ้าได้หรือไม่ - ลักษณะเหตุการณ์ที่ถูกสัตว์ทำร้าย โดยดูว่าเกิดขึ้นเนื่องจากมีเหตุจูงใจหรือไม่เช่น เป็นสัตว์แม่ลูกอ่อน เกิดจากการเหยียบ แหย่ หรือแกล้งสัตว์ก่อนหรือไม่ เพราะถ้าไม่เหตุ จูงใจอาจตั้งข้อสังเกตไว้ก่อนว่าสัตว์ดังกล่าวอาจเป็นโรคพิษสุนัขบ้า - ชนิดของการสัมผัสเช่น การกัด ข่วน หรือการสัมผัสน้ำลาย เป็นการประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ โดยดูจากตำแหน่งของบาดแผล จำนวนบาดแผล ความลึก และผิวหนัง ที่ถูกน้ำลายมีบาดแผลอยู่เดิมหรือไม่ - ประวัติการได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของสัตว์ ถ้าสัตว์ที่กัดอายุมากกว่า 1 ปีและได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าอย่างน้อย 2 ครั้ง หรือสัตว์ที่ได้รับวัคซีนอย่าง สม่ำเสมอในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาโอกาสที่จะเป็นโรคพิษสุนัขบ้าจะน้อย - ประวัติการได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของผู้ที่ถูกสัตว์กัด ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เนื่องจากบางรายที่เคยได้รับการฉีดมาบ้างแล้วในช่วง 6 เดือนถึง 1 ปีที่ผ่านมา อาจไม่จำเป็นต้องได้รับวัคซีนครบ 5 เข็ม (โดยปกติ คนที่ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามาก่อน เมื่อจำเป็นต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าภายหลังการสัมผัสโรคจะ ต้องฉีดทั้งหมด 5 ครั้งสำหรับการฉีดแบบเข้ากล้าม และ 4-5 ครั้งสำหรับการฉีดเข้าชั้นผิวหนัง) ![]() การฉีดสารภูมิต้านโรคพิษสุนัขบ้าจะพิจารณาให้เฉพาะในรายที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากสารภูมิต้านโรคพิษสุนัขบ้า ราคาค่อนข้างแพงและมีโอกาสเกิดอาการแพ้ได้ ![]() เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ![]() ![]() 10 วันแล้วสัตว์ยังปกติ ไม่ตาย สามารถหยุดฉีดวัคซีนเข็มที่เหลือได้
จะเห็นได้ว่าการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าทำได้ไม่ยาก ดังนั้นเราจึงควรให้ความสำคัญกับการป้องกันโรคด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้แก่สัตว์เลี้ยงเพื่อไม่ให้เป็นแหล่ง ของโรค และการรีบเข้ารับการรักษาเมื่อถูกสัตว์กัดโดยเร็ว เพียงเท่านี้เราและคนที่เรารักก็จะห่างไกลจากโรคพิษสุนัขบ้า
|